สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระดับความไวต่อช่วงแสงของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นในภาคกลาง ประจำปี 2548
กาญจนา กล้าแข็ง - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระดับความไวต่อช่วงแสงของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นในภาคกลาง ประจำปี 2548
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the degree of photoperiod sensitivity of rice promising lines from central region in the year 2005
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กาญจนา กล้าแข็ง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kanchana Klakhaeng
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การจำแนกข้าวสายพันธุ์ดีเด่นในภาคกลางตามลักษณะการตอบสนองต่อความไวของช่วงแสง จำนวน 43 พันธ์/สายพันธุ์ รวมทั้งพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน จำนวน 10 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ กข 7 IR8 น้ำ สะกุย 19 เหลืองประทิว 123 ขาวดอกมะลิ 105 ซิวแม่จัน หางยี 71 เหนียวสันป่าตอง และปิ่นแก้ว 56 แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ พวกที่มีระดับการตอบสนองต่อความไวของช่วงแสงเช่นเดียวกันกับพันธุ์ IR8 และ กข 7 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานแบบ essentially photoperiod insensitive มี จำนวน 23 พันธุ์/สายพันธุ์ พวกที่มีระดับการตอบสนองต่อความไวของช่วงแสงเช่นเดียวกันกับ พันธุ์น้ำสะกุย 19 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานแบบ weakly photoperiod sensitive มีจำนวน 11 พันธุ์/สายพันธุ์ พวกที่มีระดับการระดับการตอบสนองต่อความไวของช่วงแสงเช่นเดียว กันกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เหนียวสันป่าตอง เหลืองประทิว 123 ซิวแม่จันหางยี 17 ปิ่นแก้ว 56 และขาวตาแห้ง 17 ซึ่งใช้เป็นพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานแบบ strongly photoperiod sensitive มีจำนวน 8 พันธุ์/สายพันธุ์ ข้าวไม่งอก 1 พันธุ์/สายพันธุ์ เพื่อเป็นแนวทางในการแนะนำพันธุ์ข้าวที่ จะนำไปใช้ส่งเสริมให้เกษตรกรได้สอดคล้องกับสภาพของระดับช่วงแสงของท้องที่ตามฤดูกาล
บทคัดย่อ (EN): Study on the degree of photoperiod sensitivity of rice promising lines from Central Region of Thailand had been conducted. 43 varieties/lines were grown at the first day of April, May and August. Ten hours of daylength, 7.00 am.-17.00 pm., was treated for flowering date data. IR58, RD7, Nam Sa Gui 19, Leuang Pratew 123, Khao Tah, Haeng 17, Khao Dawk Mali 105, Sew Mae Jan, Hahng Yi 71, Niaw Sanpahtawng and Pin Gaew 56 were used as standard varieties for photoperiod responsiveness classification. According to their responses to daylengths, 3 groups were classified. The varieties IR58, RD7 and 23 varieties/lines were found to be essentially insensitive to photoperiod. The other 11 varieties/lines and Nam Sa Gui 19 were classified as weakly sensitive to photoperiod. And finally, 9 varieties/lines and standard varieties namely Khao Dawk Mali 105, Niaw Sanpahtawng, Leuang Pratew 123, Sew Mae Jan, Hahng Yi 71, Pin Gaew 56 and Khao Tah Haeng 17, were strongly sensitive to photoperiod. 1 variety was not germinated. These informations will be useful to recommend appropriate varieties for their responsiveness to day lengths for farmers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/155749
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1 table
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระดับความไวต่อช่วงแสงของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นในภาคกลาง ประจำปี 2548
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การศึกษาการตอบสนองต่อความไวของช่วงแสงของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นในภาคกลาง ประจำปี 2548 SPR93049-PTT-30-4-1-2 ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นของภาคกลาง การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในภาคกลาง KKN01041-23-2-1-1: ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์ดีเด่น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ PTL88114-10-1-1-17 ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นของภาคใต้ ดัชนีความไวของข้าวบางพันธุ์ที่มีต่อช่วงแสงตามธรรมชาติ การผลิตชาผสมกลีบดอกจำปี กลไกความต้านทานของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาว: เพลี้ยกระโดดหลังขาว การศึกษาการรับฟังวิทยุทางการเกษตรในระดับต่าง ๆ ในภาคกลาง การศึกษากลไกความต้านทานของข้าวสายพันธุ์ดีต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก