สืบค้นงานวิจัย
การจำแนกเชื้อราสาเหตุโรคยางพาราโดยเทคนิค Polymerase Chain Reactio
พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การจำแนกเชื้อราสาเหตุโรคยางพาราโดยเทคนิค Polymerase Chain Reactio
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Polymerase Chain Reactio
บทคัดย่อ: ความแตกตางของประชากรเชื้อมีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการควบคุมโรค จึงทำการทดลองเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคยางพาราที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา Corynespora cassiicola สาเหตุโรคใบจุดก้างปลา, เชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคใบร่วง ฝักเน่า และโรคเส้นดำ และเชื้อรา Rigidoporus lignosusสาเหตุโรครากขาว เพื่อประเมินโครงสร้างของประชากรเชื้อที่ระบาดอยู่ในประเทศไทย การศึกษาความแตกต่างทางพันธุกรรมของเชื้อรา C. cassiicola ที่รวบรวมจากแหล่งปลูกยางต่างๆ จำนวน 24 สายพันธุ์ โดยใช้เทคนิค random amplified polymorphic DNA (RAPD) พบว่า เมื่อใช้ primer ชนิด 10 เบสจำนวน 15 primer สามารถเพิ่มปริมาณ DNA ได้ทั้งสิ้น 152 แถบซึ่งพบแถบที่เป็น polymorphic สูงถึง 98.68% สายพันธุ์เชื้อที่รวบรวมจากภาคตะวันออกมีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สายพันธุ์เชื้อจากภาคใต้ และจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการจัดกลุ่มด้วยวิธี UPGMA สามารถจัดแบ่งได้ 3 กลุ่ม แต่ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับเขตพื้นที่ปลูกยางทางภูมิศาสตร์ และความสามารถในการทำให้เกิดโรค สายพันธุ์เชื้อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกบางส่วนมีความสัมพันธ์กัน การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างประชากรย่อยของเชื้อ C. cassiicola พบ ประชากรเชื้อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่ม (Gst = 0.632, P0.000) สูงกว่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มประชากรเชื้อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก (Gst= 0.341, P<0.01) เมื่อวิเคราะห์ Analysis of molecular variance (AMOVA) โดยแบ่งกลุ่มสายพันธุ์เชื้อตามเขตพื้นที่ปลูกยางทางภูมิศาสตร์ พบว่า ความผันแปรทางพันธุกรรมทั้งหมดของประชากรเกิดจากความผันแปรทางพันธุกรรมระหว่างกลุ่มประชากรย่อย 43.03% และเกิดจากความผันแปรทางพันธุกรรมระหว่างสายพันธุ์ในกลุ่มประชากรย่อย 54.97% อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่ได้ศึกษาว่าสายพันธุ์ในแต่ละเขตพื้นที่ปลูกยางมีความสัมพันธ์กับเชื้อบนพืชอาศัยในแต่ละพื้นที่ปลูกหรือไม่ การเก็บตัวอย่างเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคใบร่วงยางพาราในเขตภาคใต้จำวน 23 สายพันธุ์ พบว่าเชื้อรา P botryose ทั้งหมด เมือเปรียบเทียบลักษณะการเจริญเติบโตบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA และ LBA ส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้น สายพันธุ์ Pb 22 ซึ่งมีการเจริญเติบโตช้า เชื้อ Phytophthora แต่ละสายพันธุ์สามารถทำให้เกิดโรคบนก้านใบและบนใบยางในห้องปฏิบัติการแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ทำให้เกิดโรครุนแรง ยกเว้น สายพันธุ์ Pb 3, Pb, 13 เข้าทำลายก้านใบรุนแรงแต่ทำลายใบยางเล็กน้อย สายพันธุ์ Pb 1, Pb 5, Pb 19 และ Pb 22 เข้าทำลายใบยางรุนแรง แต่เข้าทำลายก้านใบปานกลาง และสายพันธุ์ Pb 20, Pb 21, Pb 23 เป็นสายพันธุ์ที่ไม่รุนแรงทำให้เกิดโรคก้านใบและใบยางได้น้อย แม่เมื่อนำมาทดสอบความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคในสภาพเรือนทดลอง โดยวิธีการปลูกเชื้อกับพุ่มใบยางพาราพันธุ์ RRIM 600 และประเมินผลจากการวัดความยาวแผลบนก้านใบที่เป็นโรค ผลการทดสอบพบว่า ส่วนใหญ่จัดเป็นสายพันธุ์ที่รุ่นแรง ยกเว้นสายพันธุ์Pb 19, Pb 20, และ Pb 21 การศึกษาความแตกต่างของสายพันธุ์เชื้อรา R. lignosus สาเหตุโรครากขาวของยางพารา จำนวน 24 สายพันธุ์ โดยศึกษาลักษณะการเจริญเติบโต และลักษณะเส้นใยบนอาหาร PDA พบว่า เชื้อรา WSR 2, WSR 1, W4, W6, W3, W5 และ WKM 1 สามารถเจริญได้เล็กน้อยที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ในขณะที่สายพันธุ์อื่นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ แต่ไม่พบความแตกต่างทั้งการเจริญเติบโต และลักษณะเส้นใยเมื่อเลี้ยงบนอาหารที่อุณหภูมิห้อง ส่วนความแตกต่างด้านความสามารถในการทำให้เกิดโรคของเชื้อรากับต้นกล้ายางพันธุ์ BPM 24 และ PR 255 นั้น เชื้อราแต่ละสายพันธุ์สามรถทำให้เกิดโรคกับต้นกล้ายางแต่ละพันธุ์ได้ต่างกัน และไม่สามารถจัดกลุ่มเข้ากันได้ การศึกษาครั้งนี้ยังไม่ได้ศึกษาความแตกต่างในระดับพันธุกรรมของเชื้อรา Phytpohthora spp. และเชื้อรา R. lignosus เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามการศึกษาความแตกต่างของลักษณะเส้นใย การเจริญเติบโต และความสามารถในการทำให้เกิดโรค ยังไม่สามารถบ่งบอกความแตกต่างของสายพันธุ์เชื้อราที่ระบาดในพื้นที่ปลูกยางแต่ละแห่งได้ จึงควรมีการศึกษาในระดับพันธุกรรต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำแนกเชื้อราสาเหตุโรคยางพาราโดยเทคนิค Polymerase Chain Reactio
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation กลุ่มวิจัยยางพารา การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล การประเมินระดับความต้านทานของเชื้อราสาเหตุโรคในยางพาราต่อสารเคมีกำจัดเชื้อรา ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การจัดจำแนกเชื้อสาเหตุโรคที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell;Arg) ความสามารถของเชื้อราเอนโดไฟท์จากมะเขือเทศ ส้ม และยางพารา ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก