สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ปีที่ 3
ธีรยุทธ ตู้จินดา - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ปีที่ 3
ชื่อเรื่อง (EN): Marker Assisted Development of Irrigated Rice Varieties for Submergence Tolerance and Bacterial blight and Brown planthopper resistance
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธีรยุทธ ตู้จินดา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: น้ำท่วมฉับพลัน โรคขอบใบแห้ง และ การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นปัญหาที่สำคัญของการปลูกข้าวนาชลประทาน และพันธุ์ข้าวของกรมการข้าวที่ปลูกในปัจจุบันนั้นอ่อนแอต่อสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นกรมการข้าวกับ สวทช จึงร่วมมือเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก 4 พันธุ์ ได้แก่ ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 กข47 และสุรินทร์ 1 โดยเพิ่มลักษณะความทนทานน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลผ่านขบวนการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกและติดตามลักษณะดังกล่าวร่วมกับการผสมกลับ (backcross breeding) และการรวมยีน (pyramiding) โดยมีเป้าหมายในการคัดเลือกเกี่ยวข้องกับยีนอย่างน้อย 7 ยีนหรือตำแหน่ง และใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่เป็น microsatellites ที่อยู่ใกล้ชิดกับยีน 10 เครื่องหมาย อย่างไรก็ตามแม้ว่าการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่เป็น SNP (single nucleotide polymorphism) ซึ่งจำเพาะต่อยีนนั้นจะไม่ได้อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ แต่เพื่อให้การคัดเลือกในโครงการสามารถทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมจากการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ genotyping-by-sequencing ในสายพันธุ์พ่อแม่ เมื่อสิ้นสุดโครงการได้พัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลแบบ SNP เพื่อใช้ตรวจกรองพันธุกรรมเป้าหมายแล้วเสร็จไป 10 เครื่องหมาย แยกได้เป็นเครื่องหมายที่ตรวจสอบด้วยเทคโนโลยีแบบ TaqMan จำนวน 6 เครื่องหมาย ได้แก่ ลักษณะต้านทานโรคขอบใบแห้ง (xa5 และ Xa21) ความหอม (Aroma) ปริมาณอมิโลส (Waxy) ความต้านทานต่อน้ำท่วมฉับพลัน (Sub1C) และลักษณะความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบริเวณ Bph3 บนโครโมโซมที่ 4 ยีน OsLecRK2 และเป็นเครื่องหมายที่ตรวจสอบด้วยเทคโนโลยี KASP (Kompetitive Allele Specific PCR) จำนวน 4 เครื่องหมาย ได้แก่ ลักษณะต้านทานโรคขอบใบแห้ง (xa33) อุณหภูมิแป้งสุก (SSIIa2340-41) ความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบริเวณยีน terpene synthase ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกการต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบ antixenosis (TPS) และลักษณะความต้านทานต่อแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบริเวณ Bph3 บนโครโมโซมที่ 4 ยีน OsLecRK3 และทุกเครื่องหมายสามารถนำมาใช้ในโครงการได้จริงเพื่อการคัดเลือกแบบ high-throughput ในส่วนของการพัฒนาพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 กข47 และสุรินทร์ 1 ในชุดการผสมที่ 1 (ต้านทานโรคขอบใบแห้ง) และชุดการผสมที่ 2 (ทนน้ำท่วมฉับพลันและต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล) ทุกกิจกรรมสามารถดำเนินการได้สำเร็จเกินกว่าแผนที่กำหนดไว้ในข้อเสนอโครงการ โดยสามารถพัฒนาประชากรถึงรุ่น F6 BC1F5 BC2F4 BC3F3 BC4F2 เป็นอย่างน้อย รวมถึงประเมินลักษณะทนน้ำท่วมฉับพลัน ความต้านทานโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในสายพันธุ์ที่มียีนที่ต้องการแบบโฮโมไซกัสแล้ว ในส่วนของชุดการผสมรวมยีน (ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล) ทุกกิจกรรมพัฒนามาถึงรุ่น PY-F3 คัดเลือกได้สายพันธ์ต้นแบบที่มียีนครบทุกยีนแล้ว สามารถดำเนินงานแล้วเสร็จในทุกกิจกรรมและส่งมอบผลงานตามแผนเมื่อสิ้นสุดโครงการ
บทคัดย่อ (EN): Unpredictable flooding, outbreak of brown planthopper and bacterial blight disease are major threats to rice production in irrigated areas. Rice Department (RD) and NSTDA are joining hand by hand to improve submergence tolerance, bacterial blight and brown planthopper resistance in four irrigated rice varieties including Chainat1, Pathum Thani1, RD47 and Surin1 by using marker-assisted backcrossing and pyramiding. These three desirable traits involved at least seven genes/QTLs and ten molecular markers have been used for foreground selection. Most of the markers used in this project are microsatellites (SSR), however SNP (single nucleotide polymorphism) markers have been developed for high throughput selection by genotyping-by-sequencing (GBS). At the end of project, ten SNP markers were developed. Six markers using Taqman assay technology include bacterial blight resistance (xa5 and Xa21), fragrance (Aroma), amylose content (Waxy), flash flooding tolerance (Sub1C) and brown planthopper resistance (Bph3 on chromosome 4 at OsLecRK2 gene). Four markers using KASP (Kompetitive Allele Specific PCR) technology include bacterial blight resistance (xa33) gelatinous temperature (SSIIa2340-41), brown planthopper resistance at the gene controlling terpene synthase and brown planthopper resistance (Bph3 on chromosome 4 at OsLecRK3 gene). These newly developed markers were successfully applied for high-throughput genotyping in this project. For outputs from the four breeding programs, this project has generated single crosses and backcrosses up to F6, BC1F5, BC2F4, BC3F3 and BC4F2 for bacterial blight resistance and flash flooding tolerance and brown planthopper resistance populations. Gene pyramiding of desired traits was done until PY-F3 populations were produced in every activity. Trait validation was also conducted in all four populations. Prototypes are ready to be delivered as committed.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-11-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-11-01
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ปีที่ 3
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
1 พฤศจิกายน 2559
การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่อความมืดและการทนน้ำท่วมฉับพลัน มุมมองเรื่องชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม อาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์นาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเจ้าหอมต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและทนน้ำท่วมฉับพลันโดยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกร่วมกับการคัดเลือกลักษณะฟีโนไทป์ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาชลประทานโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก อิทธิพลของขนาดเพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis cracciuora) ที่มีผลต่อขนาด ระยะเวลาการพัฒนา อัตราส่วนทางเพศของตัวเบียน และจำนวนตัวเบียน (Aphidius colemani) ที่เกิดจากเพลี้ยอ่อน ความสัมพันธ์ของพันธุ์ข้าวส่งเสริมบางพันธุ์ต่อปริมาณประชากรของ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก