สืบค้นงานวิจัย
ข้าวลูกผสมในประเทศไทย
สงกรานต์ จิตรากร ปรีชา ขัมพานนท์ ฝนทอง เสนะวงศ์ และ รังสิต เส็งหะพันธุ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ข้าวลูกผสมในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Hybrid Rice in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สงกรานต์ จิตรากร ปรีชา ขัมพานนท์ ฝนทอง เสนะวงศ์ และ รังสิต เส็งหะพันธุ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Songkran Chitrakon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: ข้าวลูกผสม
บทคัดย่อ: ข้าวลูกผสม คือ เมล็ดข้าวชั่วแรกที่ได้จากการผสมพันธุ์ข้าวต่างพันธุ์กัน การใช้พันธุ์ข้าวลูกผสมปลูกจึงต้องเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ปลูกทุกครึ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เริ่มศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับข้าวลูกผสม จนกระทั่งสามารถสร้างสายพันธุ์ข้าวที่ใช้ผลิตข้าวลูกผสม และปลูกข้าวลูกผสมได้ในปี พ.ศ. 2520 ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนยังเป็นประเทศเดียวของโลกที่ใช้ข้าวลูกผสมปลูกเป็นการค้าสำเร็จ พ.ศ. 2523 สถาบันวิจัยข้าวได้ร่วมโครงการผลืตข้าวลูกผสมกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการใช้ประโยชน์จากข้าวลูกผสม โดยระยะแรกระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2527 เป็นการทดสอบสายพันธุ์ที่ใช้ผลิตข้าวลูกผสม (สายพันธุ์เรณูเป็นหมัน , สายพันธุ์รักษาพันธุ์เป็นหมัน และสายพันธุ์แก้การเป็นหมัน) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน และจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ รวมจำนวน 59 สายพันธุ์ ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ปรากฎว่าส่วนมากสายพันธุ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 100 วัน สูงประมาณ 80-100 ซม. เมล็ดข้าวสั้นและเป็นท้องไข่มาก พันธุ์แก้การเป็นหมันที่มีลักษณะดี คือ IR 26, IR 36, IR 54 และ IR 64 นอกจากนี้ยังได้ทดสอบเปรียบเทียบผลผลิตข้าวลูกผสมที่นิยมปลูกในสาธารณรัฐประชาชนจีน 4 คู่ และลูกผสมจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติอีก 13 คู่ กับพันธุ์ข้าวมาตรฐานของไทย ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีและสถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ผลปรากฎว่า ข้าวลูกผสมที่นำมาเปรียบเทียบกับพันธุ์ข้าวไทยส่วนมากอายุประมาณ 100 วัน สูงประมาณ 100-110 ซม. แต่ให้ผลผลิตไม่แตกต่างไปจากพันธุ์ข้าว กข 21 และ กข. 23 และมีแนวโน้มให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์ข้าว กข 25 ซึ่งมี อายุใกล้เคียงกัน เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพเมล็ดแล้ว ลูกผสมเกือบทั้งหมดเมล็ดสั้น และเป็นท้องไข่มากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ ในขณะเดียวกัน พ.ศ. 2524 สถาบันวิจัยข้าวได้เริ่มสร้างพันธุ์ข้าวไทยให้เป็นหมันที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เพื่อค้นหาสายพันธุ์เป็นหมันที่เหมาะสมและใช้ผลิตเมล็ดข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดีตามความต้องการของตลาด พ.ศ. 2527 ได้คัดเลือกสายพันธุ์เรณูเป็นหมันที่ดีจากพันธุ์ข้าว กข 21 ไว้ คือ RD 21 A-1, RD 21 A-23 และ RD 21 A-33 พร้อมสายพันธุ์รักษาเป็นหมัน ต่อมาได้ค้นพบคู่ผสมดีเด่นจากสายพันธุ์เป็นหมันเหล่านี้ผสมกับพันธุ์ข้าวไทย จำนวน 3 คู่ คือ RD 21 A-23/RD7-4,RD21 A-23/RD7-9 และ RD 21 A-1/RD 7-8 ผลการทดสอบเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี และศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี พ.ศ. 529 พบว่า คู่ผสม RD 21 A-23/rD7-4 และ RD21 A-23/RD 7-9 มีลักษณะต่าง ๆ ดีคล้ายพันธุ์ข้าวมาตรฐานและมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่า และมีคุรภาพเมล็ดดีเท่ากับพันธุ์ข้าว กข 21 และ กข 23 ด้วย
บทคัดย่อ (EN): Hybrid rice research in Thailand ws intiated in 1980. The initial objective was to test the possibility of using the three component lines and popular hybrids from the people's Republic of china (PROC) and the International Rice Research Institute (IRRI), under Thai conditions. It was also aimed to develope lines and combinations for hybrid seed production in Thailand. Most male-sterile lines and their maintainers from PROC and IRRI had a maturity time of about 100 days and were 80 - 100 cm in height. The restoreres (IR var.) were 10 - 20 days longer maturing than the male-sterile lines. All lines from PROC and IRRI had short and chalky grain. The performance of popular hybrids from both sources was inferior to varieties already recommended in Thailand. Their yield was no better and, in some instances inferior to varieties already recommended in Thailand. Yield and maturity time of the hybrids were about the same as for RD 25; they were lower yielding and shorter maturing than either RD 21 or RD 23. Grain characteristics were also no better than for the Thai varieties. Transfer of the 'WA' cyto-sterility system into Thai varieties was commenced in 1981. Subsequently in 1984 the lines RD21A -23 and RD21A-1 were identified as Thai male-sterile lines. An evaluation of the Thai hybrid RD21A - 23/Rd7 -4 in 1987 showed promise in both the wet and dry seasons; it matured in about 120 days and was about 130 cm in height. The grain of this hybrid was long, slender and clear. It will be further tested before being considered for release to farmers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2529
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2529
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ข้าวลูกผสมในประเทศไทย
กรมวิชาการเกษตร
2529
เอกสารแนบ 1
ประเมินมูลค่าคุณลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวลูกผสมในประเทศไทย ความก้าวหน้าโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมของกรมการข้าว การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวลูกผสม การเปรียบเทียบผลผลิตและประเมินลักษณะการเกษตรของข้าวลูกผสมในศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สมรรถนะการผสมและความดีเด่นของข้าวลูกผสม โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวลูกผสม การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2) การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ด พันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์(โครงการต่อเนื่องปีที่ 3) การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2) ผลกระทบของสภาพอากาศเย็นต่อการผลิตข้าวลูกผสม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก