สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาปลานิลให้เป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค
ชนกันต์ จิตมนัส - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาปลานิลให้เป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค
ชื่อเรื่อง (EN): A study to set guidelines in developing Nile Tilapia (Oreochromis niloticus) as safe food
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชนกันต์ จิตมนัส
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chanagun Chitmanat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Surit Somboonchai
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในปลานิลที่เลี้ยงในระบบการเลี้ยงและฤดูกาลที่ต่างกัน เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ในการตรวจวัดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย และเป็นแนวทางในการป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรียในผลผลิตปลานิลที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยสุ่มแยกเชื้อแบคทีเรียจากเหงือก เนื้อ กะเพาะอาหาร และในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลานิล จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 80 เป็นระบบการเลี้ยงแบบผสมผสาน (เลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่หรือสุกร) พบปริมาณเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในตัวอย่างปลานิลที่เลี้ยงแบบปกติเฉลี่ย (130.92 ±1.44) x 105 โคโลนี/กรัม และแบบผสมผสานเฉลี่ย (186.67 ±4.10) x 105 โคโลนี/กรัม ซึ่งสูงกว่าระบบการเลี้ยงแบบปกติถึง 42.85% ชนิดของเชื้อแบคทีเรียในปลานิลที่พบจากการสุ่มตัวอย่างจากปาร์มแบบปกติและแบบผสมผสานสามารถจำแนกชนิดออกได้ 12 ชนิด ได้แก่ Acinetobacter sp., Aeromonas sp., Burkholderia sp., Chryseomonas sp., Edwardsiella sp., Enterbacer sp., Escherichia sp., Fasteurella sp., Plesiomonas sp., Pseudomonas sp., Micrococcus sp. และ Staphylococus sp. การศึกษาวิธีการลดการปนปเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในผลิตปลานิลก่อนจำหน่ายพบว่า ระบบน้ำหมุนเวียน (Flow water) ให้ประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้สารธรรมชาติ (กระเจี๊ยบแดง) ในการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียโดยให้ผลรวมถึงการลดปริมาณแบคทีเรียโคลิฟอร์มอีกด้วย การศึกษาความตระหนักของเกษตรผู้เลี้ยงปลานิลและผู้บริโภคถึงการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในผลผลิตปลานิลพบว่า เกษตรกรร้อยละ 68.8 มีความรู้ความเข้าใจและมีมาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียในผลผลิตปลานิล โดยพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลที่เลี้ยงแบบปกติ (เลี้ยงปลานิลเพียงอย่างเดียว) มีความตระหนักในความปลอดภัยของผลผลิตปลานิลมากกว่าเกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลแบบผสมผสาน การศึกษาความตระหนักของผู้บริโภคพบว่า ร้อยละ 33.30 มั่นใจว่าผลผลิตปลานิลสดในท้องตลาดมีความปลอดภัย ร้อยละ 59.91 ไม่แน่ใจในความปลอดภัย และร้อยละ 7.6 แน่ใจว่าผลผลิตปลานิลในท้องตลาดไม่มีความปลอดภัย ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ของผู้บริโภคจะให้ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของผลิตปลานิลสดและปลานิลแปรรูปที่มีจำหน่ายในท้องตลาด โดยพิจารณาจากป้ายรับรองสินค้าที่มีการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานที่จำหน่าย ความสะอาดของอุปกรณ์จำหน่าย และความสะอาดของผู้จำหน่าย
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this research is to determine the bacterial contamination in Tilapia raised in a variety of culture systems and in different seasons. The result will be used as possible indicators of bacterial contamination leading to set up guidelines for a food safety program. Bacteria were isolated from fish organs including gills and guts as well as flesh. Bacteria in the water were also counted by sampling. Approximately 80% of the fish farming in this area is integrated systems where fish are raised together with either chicken or swine. The average bacteria contamination in fish from intensive systems was 130.95±1.44 colony forming unit (CFU)/gram while the average bacteria contamination if fish from integrated systems was 186.67±4.10 CFU/gram. The bacteria contamination found in fish from integrated farming was 42.58% higher than the ones found in fish from the intensive farms. Twelve bacteria species found were Acinetohacter sp., Aeromonas sp., Burkholderia sp., Chryseomonas sp., Edwardsiella sp., Enterhacer sp., Escherichia sp., Pasteurella sp., Plesiomonas sp., Pseudomonas sp., Micrococcus sp. And Staphylococcus sp. Furthermore we set up the experiment to reduce the bacterial contamination. Flow through tap water achieved total bacterial and coli form bacteria reduction better than use of a roselle solution after 24-hour treatment. Referring to the farmers awareness of bacterial contamination 68.8% farmers understood the measure to prevent bacterial contamination. The farmers who raise Tilapia in an intensive system had greater awareness in bacterial contamination in Tilapia than the ones who raised Tilapia together with either chicken or pigs. In addition, 33.30% consumers had confidence that fresh Tilapia in markets was safe to eat while 59.91% of them were not sure that these fish were safe to eat. However, most consumers trust freshly processed Tilapia with food safety labeling reliable distribution site and cleanliness of apphances and sellers.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-49-006.2
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 618,700
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/207324
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาปลานิลให้เป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของอาหารผสมสารสกัดกระเทียมต่อการเหนี่ยวนำให้เป็นเพศผู้ การ เจริญเติบโต และต้นทุนการผลิตของปลานิล เพื่อเป็นอาหารปลอดภัย การเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงปลาหมอไทยด้วยการเสริมกวาวเครือขาวในสูตรอาหารเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิลเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย ผลการเสริมฝุ่นผงน้ำส้มในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกลูกผสม ผลของซิงเกิลเซลล์โปรตีนในอาหารปลานิล การวิจัยและพัฒนาระบบชีววิถีเพื่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ( Clariasmacrocephalus X Clariasgariepinus ) ร่วมกับปลานิล ( Oreochromisniloticus ) เป็นอาหารปลอดภัยและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ร การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อลักษณะทางสัณฐานบางประการและการเจริญเติบโตของปลานิล การลดปริมาณสารพิษไมโครซิสตินในปลานิลที่เลี้ยในระบบผสมผสานโดยการจัดการด้านอาหาร ผลของสารสกัดใบมังคุดต่อการผลิตปลานิลเพศผู้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก