สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดกำแพงเพชร
ขวัญดาว แจ่มแจ้ง - มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of Extraction Efficiency of Antioxidant Compounds from Local Plants in Kampheang phet Province.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ขวัญดาว แจ่มแจ้ง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รัชนี นิธากร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชรจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ 1) ผักอีซึก 2) ผักพาย 3) มะระขี้นก 4) ผักอีนูน 5) ผักกะทกรก 6) ยอดอ้อย 7) ใบขนุนอ่อน 8) ใบคันทรง 9) ผักปลาบ และ10) ไข่น้ำ โดยศึกษาชนิดของตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำกลั่น สุรา 40 ดีกรี เมทานอล เอทานอล 95% และปิโตรเลียมอีเทอร์ และระยะเวลาในการสกัด ได้แก่ 8 16 และ 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH assay และเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาสู่การเรียนการสอน ผลการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชทุกชนิดคือการสกัดที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง การสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากผักอีซึกใช้สุรา 40 ดีกรีเป็นตัวทำละลาย ได้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือ ร้อยละ 78.81 ผักอีนูน ผักกะทกรก ผักพาย และไข่น้ำใช้เอทานอลเข้มข้น ร้อยละ 95 เป็นตัวทำละลาย ได้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือ ร้อยละ 77.56 ร้อยละ 69.11 ร้อยละ 79.76 และ ร้อยละ 80.15 ตามลำดับ มะระขี้นก ยอดอ้อย ใบขนุนอ่อน ใบคันทรง และผักปลาบใช้เมทานอลเป็นตัวทำละลาย ได้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือ ร้อยละ 74.62 ร้อยละ 73.89 ร้อยละ 81.81 ร้อยละ 79.11 และ ร้อยละ 82.31 ตามลำดับ ผลการบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาสู่การเรียนการสอนโดย เผยแพร่บทเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดกำแพงเพชร ให้กับนักศึกษา จำนวน 27 คน ซึ่งเป็นผู้ที่เรียนรายวิชาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและทำโครงการวิจัยทางเคมี แล้วศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีระดับความพึงพอใจทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก
บทคัดย่อ (EN): The purposes of this research were to study the optimum conditions for the extraction of antioxidants from 10 local plants in Kamphaeng Phet Province namely, Albizia lebbeck (L.) Benth. (PakE-suek), Limnocharis flava Buch (Pakpai), Momordica charantia L. (Marakinok), Adenia heterophylla(Blume) Koord ( Pak E-noon), Passiflora foetida L. (Pakkatokrok), Saccharum officinarum Linn. (Yodaoy), Artocarpus heterophyllus Lam (Baikanoon), Colubrina asiatica L.ex. Brongn (Baikancong), Floscopa scandens Lour.(Pakplab) and Wolffia globosa Hartog & Plas (Kainum). Various solvents such as: water, Thai whisky containing 40 degree ethanol, methanol, ethanol 95 % and petroleum ether were studied. The time of extraction consisted of 8, 16, and 24 hours. The method used for determination of antioxidative potential was based on a DPPH assay. And the last objective was to integrate the knowledge gained from the study to the teaching and learning process. The findings were as follows: the optimum condition for the plant extraction took 24 hours. The extraction of antioxidant from Albizia lebbeck (L.) Benth, Thai whisky alcohol 40% produced the most effective antioxidant at 78.81%. The extraction of antioxidant from A. heterophylla (Blume) Koord., P. foetida L. flava Buch, and W. globosa Hartog & Plas, by using ethanol 95% produced the most effective antioxidants at 77.56 %, 69.11 %, 79.76 % and 80.15 %, respectively. The extraction of antioxidant from Momordica charantia L., Saccharum officinarum Linn., Artocarpus heterophyllus Lam., Colubrina asiatica L. ex. Brongn, and Floscopa scandens Lour, by using methanol produced the most effective antioxidants at 74.62 %, 73.89 %, 81.81 %, 79.11% and 82.31 %, respectively. Integration of knowledge gained from the study to the teaching and learning process has a science lesson about the optimal conditions for the extraction of antioxidants from local plants in Kamphaeng Phet province. Furthermore, Distribution as knowledge for students researches and to the 27 students who study the Natural Product. The results of satisfaction levels of the students towards the science lesson was at a high overall level.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดกำแพงเพชร
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
30 กันยายน 2552
เอกสารแนบ 1
สารถนอมอาหารจากขิงสกัดเพื่อเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันพืชและสารต้านแบคทีเรีย (ระยะที่ 2) การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีโนลิก ในผักบางชนิดจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเพาะเลี้ยงแคลลัสของผักเชียงดาเพื่อการผลิตสารต้านอนุมูลอิสระ การใช้คลื่นเหนือเสียงช่วยสกัดสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านจุลินทรียจ์ากชานอ้อยที่ผ่านการระเบิดด้วยไอน้ำ การใช้ประโยชน์ของแคลเซียมซิลิเกตต่อการเติบโตและสารต้านอนุมูลอิสระในยอดผักกาดกวางตุ้ง การศึกษาการสลายตัวของสารต้านอนุมูลอิสระในกระบวนการผลิตชา การพัฒนาสารต้านอนุมูลอิสระจากสารประกอบฟีนอลิคในธรรมชาติ ศึกษาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในใบหม่อนพันธุ์ต่างๆ คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากบัวกลุ่มอุบลชาติและฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งและเชื้อจุลินทรย์ก่อโรคในมนุษย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก