สืบค้นงานวิจัย
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปลานิลที่เลี้ยงในน้ำเค็มที่เกิดจากเกลือสินเธาว์
เกตุนภัส ศรีไพโรจน์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปลานิลที่เลี้ยงในน้ำเค็มที่เกิดจากเกลือสินเธาว์
ชื่อเรื่อง (EN): Physiology changes of Nile tilapia cultured in rock salt water
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกตุนภัส ศรีไพโรจน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เกตุนภัส Kednapat
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและการเจริญเติบโตของปลานิล ที่เลี้ยงในน้ำเค็มที่เกิดจากเกลือสินเธาว์จะทำให้ทราบถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาการเลี้ยงปลานิลในพื้นที่ดินเค็ม การทดลองทำโดยการเลี้ยงปลานิล 3 สายพันธุ์ คือจิตรลดา 3 อุตรดิตถ์ และซุปเปอร์แบล็ค ในน้ำเค็มที่เกิดจากเกลือสินเธาว์ระดับความเค็ม 0 5 15 ppt และ 25 ppt เป็นระยะเวลา 4 เดือน ผลการทดลองพบว่าปลานิลที่เลี้ยงในระดับความเค็ม 25 ppt ตายหมดหลังการเลี้ยง 12 ชั่วโมง ปลานิลสายพันธุ์ซุปเปอร์แบล็คมีอัตราการเจริญเติบโตมากสุดในทุกระดับความเค็ม (น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยต่อวัน 1.48?0.04 กรัม/วัน, การเจริญเติบโตจำเพาะ 1.48?0.04 %/วัน, P0.05) ค่าออสโมลาริตี้ของปลาที่เลี้ยงในระดับความเค็ม 15 และ 5 ppt เริ่มสูงขึ้นหลังปล่อยปลา 3 และ 12 ชั่วโมง และลดลงสู่ระดับปกติหลังเลี้ยง 3 วัน ค่าฮอร์โมนคอร์ติซอลของทุกระดับความเค็มสูงสุดที่เวลา 3 ชั่วโมงจากนั้นจึงค่อยๆปรับลดลง ยกเว้นที่ระดับความเค็ม 15 ppt ค่าฮอร์โมนคอร์ติซอลยังสูงต่อเนื่องและปรับลดลง 3 วันหลังจากลงเลี้ยงในน้ำเค็ม ปริมาณฮอร์โมนคอร์ติซอลของทั้ง 3 สายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกัน ระดับน้ำตาลในเลือดของปลาที่เลี้ยงในระดับความเค็ม 5 ppt มีค่าต่ำสุด (P<0.05) ส่วนที่ระดับความเค็ม 0 และ 15 ppt ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ต่างกัน โดยระดับน้ำตาลในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ชั่วโมงที่ 12 จนสูงสุดในวันที่ 5 และไม่ลดลงสู่ระดับปกติตลอดเวลาของการเก็บตัวอย่างเลือดมาวิเคราะห์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของปลานิลที่เลี้ยงในน้ำเค็มที่เกิดจากเกลือสินเธาว์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2559
การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิล (Oreochromis niloticus) และปลาโมง (Pongosius bocourti) ในการทดลองเลี้ยงปลาในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็ม เปรียบเทียบการเจริญเติบโต อัตรารอด และผลผลิต ระหว่าง ปลานิลเพศผู้ปลานิลแปลงเพศ และปลานิลทริพลอยด์ การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลในระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียน (ระยะที่ 1) ทดสอบการเจริญเติบโตของปลานิลลูกผสมกลับรุ่นที่ 2 ในการเลี้ยงของศูนย์วิจัยพันธุกรรมสัตว์น้ำ และฟาร์มของเกษตรกร การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลจิตรลดา การศึกษาอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายของการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในความหนาแน่นที่ต่างกันในน้ำความเค็มต่ำ ผลของเศษปลาหมักต่อการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารและสารอาหารของปลานิลแดง (Oreochromis niloticus x O. mossambicus) การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ปลานิลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ผลของการใช้สารเสริมในอาหารปลานิลที่มีต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพ การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลแดงสายพันธุ์อุตรดิตถ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก