สืบค้นงานวิจัย
ระยะเวลาเก็บเกี่ยวและสารเคลือบผิวที่รับประทานได้ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเงาะนอกฤดูกาลพันธุ์โรงเรียนใน จ. นครศรีธรรมราช
สมัคร แก้วสุกแสง, พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล - มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อเรื่อง: ระยะเวลาเก็บเกี่ยวและสารเคลือบผิวที่รับประทานได้ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเงาะนอกฤดูกาลพันธุ์โรงเรียนใน จ. นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Harvesting Period and Edible Coating on Postharvest Quality and Storage Life on Off-season Rambutan cv. Ronrian in Nakhonsrithammarat , Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาระยะเวลาการเก็บเกี่ยวและสารเคลือบผิว ได้แก่ sucrose fatty acid ester และ carboxymethyl cellulose ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเงาะนอกฤดูกาลพันธุ์โรงเรียนใน จ.นครศรีธรรมราช พบว่าคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของเงาะตั้งแต่ระยะที่ 1 จนถึง ระยะที่ 7 มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการเก็บเกี่ยวได้แก่ ค่า Hue angle ความแน่นเนื้อ ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้มีค่าลดลง และ ค่า a กับปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะการเก็บเกี่ยว และเมื่อศึกษาผลของการเคลือบผิวพบว่าผลเงาะที่เคลือบด้วย sucrose fatty acid ester ที่ความเข้มข้น 1.0% และ carboxymethyl cellulose ที่ความเข้มข้น 2.0% มีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมและความเข้มข้นอื่น โดยสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวได้แก่ การสูญเสียน้ำหนัก ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรทได้ ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ความแน่นเนื้อ การเกิดสีน้ำตาลของขนและการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกเงาะได้ดีที่สุด โดยผลเงาะที่เคลือบด้วย sucrose fatty acid ester ที่ความเข้มข้น 1.0% และ carboxymethyl cellulose ที่ความเข้มข้น 2.0% มีอายุการเก็บรักษาเท่ากับ 13.11 และ 13.56 วัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง sucrose fatty acid ester ที่ความเข้มข้น 1.0% และ carboxymethyl cellulose ที่ความเข้มข้น 2.0% พบว่ามีอายุการเก็บรักษาเท่ากับ 14.59 และ 13.12 วัน ตามลำดับ คำสำคัญ : เงาะ การเคลือบผิว คุณภาพ
บทคัดย่อ (EN): Effect of harvesting period and edible coating as sucrose fatty acid ester and carboxymethyl cellulose on postharvest quality and storage life on off-season rambutan cv. Rongrian in NaKhonSriThammarat, Thailand were studied. The results showed that hua angle, firmness and total acidity decreased with a value and total soluble solid increased of postharvest quality of rambutan in stage 1 to 7. The coating by sucrose fatty acid ester at 1.0% and carboxymethyl cellulose at 2.0% and storage 13 0C could reduce the weight loss, peel and spintern browning with delay the reducing of the total soluble solid and titratable acidity compare to other. The storage life of rambutan under coating by sucrose fatty acid ester at 1.0% and carboxymethyl cellulose at 2.0% was 13.11 and 13.56 days and, respectively. The comparative of rambutan coated with sucrose fatty acid ester at 1.0% and carboxymethyl cellulose at 2.0%, the storage life of rambutan was 14.59 and 13.12 days and, respectively. Key word: rambutan, coating, quality
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ระยะเวลาเก็บเกี่ยวและสารเคลือบผิวที่รับประทานได้ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเงาะนอกฤดูกาลพันธุ์โรงเรียนใน จ. นครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยทักษิณ
30 กันยายน 2555
การเปลี่ยนแปลงสีและผลของเคลือบผิวด้วย Sucrose fatty acid ester ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาของเงาะนอกฤดูกาลพันธุ์โรงเรียน การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ผลของการใช้ Lactobacillus plantarum ร่วมกับไคโตซาน และ บรรจุภัณฑ์ชนิดกึ่งคงรูปต่อคุณภาพของผลเงาะพันธุ์โรงเรียน (ระยะที่ 2) การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ผลของการลดอุณหภูมิแบบ Cold Shock และการล้างโดยระบบ Micro-nano Bubble ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของเงาะ (ระยะที่ 2) การคาดคะเนอายุการเก็บรักษาปลานิลในช่องทางการเคลื่อนย้าย โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเงาะคุณภาพ การพัฒนาคุณภาพของผลเงาะเพื่อการส่งออกด้วยเทคโนโลยีฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดไมโคร (ระยะที่ 1) ทดสอบและขยายผลเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตเงาะคุณภาพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก