สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเสริม Schizochytrium limacinum(D.Honda & Yokochi, 1998) 4 ระดับ ในการอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)
กอบศักดิ์ เกตุเหมือน, มีชัย แก้วศรีทอง, ภาสกร นบนอบ, ไชยพร ลู่สวัสดิกุล, กอบศักดิ์ เกตุเหมือน, มีชัย แก้วศรีทอง, ภาสกร นบนอบ, ไชยพร ลู่สวัสดิกุล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริม Schizochytrium limacinum(D.Honda & Yokochi, 1998) 4 ระดับ ในการอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)
ชื่อเรื่อง (EN): Dietary Supplemental Effect of Schizochytrium limacinum (D.Honda & Yokochi, 1998) 4 Level in Blue Swimming Crab Nursing (Portunus pelagicus Linnaeus,1758)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ การศึกษาผลการเสริม Schizochytrium limacinum ในโรติเฟอร์ และไรน้ำเค็ม ที่ความเข้มข้นต่างกัน 5 ระดับ คือ 0, 50, 100, 150 และ 200 ppm ต่อพัฒนาการ อัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และความทนทานต่อความเครียดในลูกปูม้า โดยอนุบาลลูกปูม้าระยะ Zoea 1 จนถึงระยะ Crab 2 ใน ชุดทดลองที่ 1 (T1), 2 (T2), 3 (T3), 4 (T4), 5 (T5) ตามลำดับ พบว่าลูกปูม้า T4 และ T5 มีพัฒนาการเร็วกว่า T1, T2 และ T3 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วน T2 และ T3 มีพัฒนาการเร็วกว่า T1 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ความกว้างกระดอง และน้ำหนักเฉลี่ยของลูกปูม้า T4 และ T5 มากกว่า T1, T2 และ T3 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) อัตราการรอดตาย พบว่าลูกปูม้า T4 และ T5 มีอัตราการรอดตายมากกว่า T1, T2 และ T3 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และความทนทานต่อความเครียด (Stress-test) ของลูกปูม้าทั้ง 3 ระยะ คือ Zoea 4, Megalopa และ Crab 1 โดยการลดความเค็ม พบว่า T1 ซึ่งไม่เสริม S. limacinum มีความทนทานต่อความเครียดน้อยกว่า T2, T3, T4 และ T5 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) องค์ประกอบกรดไขมัน พบว่าโรติเฟอร์ และไรน้ำเค็มที่เสริม S. limacinum มีการสะสม กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด DHA สูงกว่าชุดที่ไม่เสริม S. limacinum โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนความเข้มข้นของ S. limacinum ส่วนในลูกปูม้าพบว่ามีการสะสมกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด DHA เพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือ 0.02, 0.04, 0.04 และ 0.04 กรัม/100 กรัมน้ำหนักแห้งตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Study the effect of Schizochytrium limacinum supplementation at different concentrations (0, 50, 100, 150 and 200 mg/l) on the developmental period, growth rate, survival rate and stress resistance of blue swimming crab larvae were studied. S. limacinum was used to supplement rotifer and artemia used in crab nursing from Zoea 1 stage to Crab 2 stage at the concentrations of 0 (T1), 50 (T2), 100 (T3), 150 (T4) and 200 (T5) mg/l, respectively. The results showed that the developmental periods of T4 and T5 were better than T1, T2 and T3 (p<0.05), however, among 3 treatments (T1, T2 and T3), T2 and T3 were provided better result than T1 (p<0.05). For carapace width and mean weight of those T4 and T5 were better than those T1, T2 and T3 (p<0.05). For Survival rate of T4 and T5 were higher than those T1, T2 and T3 (p<0.05). The results of stress resistance (stress-test) of the crab was done on 3 stage of crab; Zoea 4, Megalopa and Crab 1 by decreasing the salinity, indicated that less stress resistance of for T1 was than T2, T3, T4 and T5 (p<0.05) Result of the study of fatty acid composition showed that rotifers and artemia enriched with S. limacinum provide a higher accumulation of DHA than unenriched rotifers and artemia. The concentrations of unenriched fatty acid in diets increased with increasing S. limacinum concentrations. Finally, the accumulation of DHA in young blue swimming crab increased between 0.02-0.04 g / 100 g dry weight.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเสริม Schizochytrium limacinum(D.Honda & Yokochi, 1998) 4 ระดับ ในการอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)
กรมประมง
31 ธันวาคม 2557
กรมประมง
ความหนาแน่นที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลลูกปูม้า(Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ในระบบน้ำหมุนเวียน การอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) โดยการเสริมจุลินทรีย์ ปม.1 ระดับพลังงานที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) การอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ที่เสริม Chaetoceros gracilis และ Nannochloropsis sp. ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน ผลการอนุบาลลูกปูม้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำด้วยจุลินทรีย์ ปม.1 สูตรน้ำ ผลของวิตามินซีต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและการลอกคราบของปูม้า (Portunus pelagicus, Linnaeus 1758) การศึกษาเบื้องต้นในการเพาะและอนุบาลลูกปูม้าเพื่อการอนุรักษ์ การเลี้ยงปูม้า Portunus peragicus (Linnaeus , 1758) ในบ่อดินโดยให้ที่หลบซ่อนต่างกัน การพัฒนาอาหารเม็ดสำเร็จรูปเพื่อเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus) โดยพิจารณาจากขนาดและระดับโปรตีน แนวทางการดำเนินโครงการเพิ่มประชากรปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) บริเวณหญ้าทะเล อ่าวสิเกา อ.สิเกา จ.ตรัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก