สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาสูตรและเทคนิคการผลิตยางฟองน้ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างเครื่องต้นแบบ
พรทิพย์ ประกายมณีวงศ์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสูตรและเทคนิคการผลิตยางฟองน้ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างเครื่องต้นแบบ
ชื่อเรื่อง (EN): Development Formula and Technic for Latex Foam Rubbers Manufacture for Decreased Cost in Pilot Scale
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรทิพย์ ประกายมณีวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: "งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของปริมาณสารตัวเติมแคลเซียมคาร์บอเนต ที่มีผลต่อสมบัติทาง กายภาพของยางฟองน้ำชนิดตันที่เตรียมได้จากน้ำยางธรรมชาติเพื่อลดต้นทุน โดยใช้น้ำยางข้นชนิด แอมโมเนียสูงและสารตัวเติม 50% แคลเซียมคาร์บอเนตในปริมาณ 0 , 5 , 10 , 20 และ 30 phr สำหรับ กระบวนการเตรียมยางฟองน้ำนั้นใช้วิธีการเตรียมแบบดันลอป โดยมีลำดับการเติม CaCO3 ก่อนและ หลังการเติม K–oleate พบว่า วิธีการเติม CaCO3 ก่อนการเติม K–oleate ช่วยทำให้สมบัติโดยรวมของ ยางฟองน้ำดีขึ้นแต่ตัวอย่างยางฟองน้ำที่ได้มีผิวหน้าของตัวอย่างยางฟองน้ำไม่เรียบเนียน มีลักษณะเป็น หลุมตื้นๆ ลักษณะฟองยางไม่สม่ำเสมอและยางฟองน้ำมีการยุบตัว และเมื่อปริมาณสารตัวเติมแคลเซียม คาร์บอเนตเพิ่มขึ้นตัวอย่างยางฟองน้ำมีการยุบตัวมากขึ้นเห็นได้ชัดที่ปริมาณ CaCO3 10 , 20 และ 30 phr สำหรับวิธีการเติม CaCO3 หลังการเติม K–oleate ตัวอย่างยางฟองน้ำที่เติม CaCO3 20 phr และ 30 phr ตัวอย่างที่ได้ค่อนข้างแข็ง หยาบและมีการยุบตัว ขณะที่การเติม CaCO3 ที่ปริมาณ 5 และ 10 phr จะได้ ตัวอย่างยางฟองน้ำที่มีลักษณะทั่วไปค่อนข้างดีกล่าวคือ ผิวหน้าของตัวอย่างยางฟองน้ำเรียบเนียนและ ลักษณะฟองยางค่อนข้างสม่ำเสมอ เมื่อพิจารณาจากผลการทดสอบอื่นจะเห็นได้ว่า ตัวอย่างยางฟองน้ำ ที่เติม CaCO3 10 phr มีสมบัติความแข็งและดัชนีความแข็งเชิงกดดีกว่าตัวอย่างยางฟองน้ำที่เติม CaCO3 5 phr ขณะที่ตัวอย่างยางฟองน้ำที่เติม CaCO3 5 phr มีสมบัติความทนแรงอัดซ้ำคงที่ การยุบตัวเนื่องจาก แรงกดและการบ่มเร่งดีกว่าตัวอย่างยางฟองน้ำที่เติม CaCO3 10 phr และเมื่อนำผลการทดสอบที่ได้มา เปรียบเทียบกับมาตรฐาน มอก. 1425-2540 พบว่ายางฟองน้ำที่เติม CaCO3 5 phr จะมีสมบัติที่ผ่านตาม มาตรฐาน ดังนั้นจากงานวิจัยนี้การเลือกใช้วิธีการเติม CaCO3 หลังการเติม K–oleate จะได้ตัวอย่างยาง ฟองน้ำที่มีลักษณะทั่วไปค่อนข้างดีและเพื่อให้สามารถนำยางฟองน้ำไปใช้งานได้หลากหลาย จึงพิจารณาจากสมบัติความทนแรงอัดซ้ำคงที่ การยุบตัวเนื่องจากแรงกด และการบ่มเร่งด้วยความร้อน สรุปได้ว่าการเติม CaCO3 ปริมาณ 5 phr จึงเป็นสูตรที่เหมาะสำหรับใช้ในการเตรียมยางฟองน้ำ จากการ คำนวณต้นทุนราคาวัตถุดิบพบว่าการผลิตยางฟองน้ำ 1 กิโลกรัม ถ้าใช้สารตัวเติม 50% CaCO3 ปริมาณ 5 phr ต้นทุนราคาวัตถุดิบจะลดลงประมาณ 3.37 บาทต่อกิโลกรัม จากการทดสอบการทำงานของ เครื่องต้นแบบพบว่า เครื่องต้นแบบสามารถผลิตยางฟองน้ำได้แต่ลักษณะทั่วไปของยางฟองน้ำยังไม่ดี นักแต่เมื่อนำตัวอย่างยางฟองน้ำไปทดสอบสมบัติทางกายภาพพบว่า ตัวอย่างยางฟองน้ำที่เตรียมด้วย เครื่องต้นแบบ แล้วจึงนำยางฟองน้ำมาเติม 50% ZnO และ 12.5% SSF ภายหลังนั้นยางฟองน้ำที่ได้มี สมบัติทางกายภาพที่ค่อนข้างดีแต่อาจต้องปรับปรุงเกี่ยวกับสมบัติลักษณะทั่วไป นอกจากนี้ยังได้มีการ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ยางฟองน้ำหลายชนิดเพื่อการนำใช้ประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้นและตาม ความต้องการของตลาด รวมทั้งขยายผลวิธีการแปรรูปสู่ชุมชนและผู้ที่สนใจ"
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาสูตรและเทคนิคการผลิตยางฟองน้ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างเครื่องต้นแบบ
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ต้นทุนการผลิตน้ำยางข้น ต้นทุนการผลิตยางแท่งชั้น 20 (STR 20) ต้นทุนการผลิตยางของสวนยางขนาดเล็ก ต้นทุนการผลิตยางประเภทต่าง ๆ ในระดับโรงงาน การจัดการการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศส่งโรงงานแปรรูปในจังหวัดสกลนคร การศึกษาสมการการผลิตและต้นทุนผลตอบแทนจาก การปลูกยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยพัฒนาการผลิต ผลิตภัณฑ์ยางและอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ยางพารา โครงการวิจัยสร้างเครื่องต้นแบบอัดขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ทดลองผลิตยาง เอส พี การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก