สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม และการเกิดโรคไวรัสตัวแดงดวงขาว (white spot syndrome virus, WSSV) ในกุ้งกุลาดำ
มลฤดี สนธิ - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม และการเกิดโรคไวรัสตัวแดงดวงขาว (white spot syndrome virus, WSSV) ในกุ้งกุลาดำ
ชื่อเรื่อง (EN): The relationship between environmental and presence of white spot syndrome virus (WSSV) in black tiger shrimp (Penaeus monodon).
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มลฤดี สนธิ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): white spot syndrome virus
บทคัดย่อ: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง กับการเกิดโรคตัวแดงดวงขาว ในกุ้งกุลาดำโดยใช้โปรแกรม WEKA ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้เทคนิคด้าน Data mining เทคนิคนี้สามารถใช้ในการทำนาย (Prediction) การเกิดโรคโดยการพิจารณาจากปัจจัยทางคุณภาพน้ำที่ได้จากการเก็บข้อมูล ซึ่งผลที่ได้จะถูกนำเสนอในรูปแบบของกิ่งไม้ (Decision) อย่างเป็นลำดับขั้น จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพน้ำ กับการเกิดโรคไวรัสตัวแดงดวงขาวโดยมีความแตกต่างของบ่อเลี้ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง พบว่ากุ้งที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ผสมสี ให้โอกาสการเลี้ยงที่ประสบผลสำเร็จ เพราะไม่พบกุ้งที่เป็นโรคไวรัสตัวแดงดวงขาวตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ในขณะที่บ่อทดลองอื่นๆมีโอกาสเกิดโรคในกุ้งได้มากกว่า จากผลนี้แสดงให้เห็นว่า ชนิดของบ่อมีผลต่อการเลี้ยงกุ้งให้ประสบผลสำเร็จ ชนิดของบ่อที่น่าสนใจในลำดับต่อมา คือ บ่อที่ปู PE ขอบบ่อ และบ่อดินลูกรัง เพราะทั้งสองบ่อนี้ พบว่าสาเหตุของการเกิดโรค เกิดจากคุณภาพน้ำ ที่ผู้เลี้ยงอาจจะสามารถควบคุมได้ในระบบบ่อเลี้ยง จากการศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคในกุ้งกุลาดำ กับปัจจัยคุณภาพน้ำต่างๆ ในบ่อเลี้ยงกุ้งมีผลต่อการเลี้ยง โดยพบว่า ความเค็ม คือปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรคไวรัสชนิดในกุ้งมากที่สุด โดยความเค็มของน้ำที่ต่ำกว่า 26 พีพีที มีความสัมพันธ์ต่อค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำและระยะเวลาการเลี้ยง ที่อาจจะสามารถชักนำให้กุ้งเครียด และเป็นโรคได้ในขณะที่ความเค็มของน้ำสูงกว่า 26 พีพีที ระยะเวลาการเลี้ยง และปริมาณแอมโมเนีย ไนไตร่ท์ที่ต่ำ จะมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดไวรัสตัวแดงดวงขาวในกุ้งกุลาดำ อย่างไรก็ตามการทดลองในครั้งนี้ไม่พบการตายของกุ้งอันเนื่องมาจากเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำกับการเกิดโรคเท่านั้นซึ่งอาจยังไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุอย่างแน่ชัดในการเกิดโรคไวรัสตัวแดงดวงขาวได้ เพราะในสภาวะการเลี้ยงในบ่อ มีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย และมีความเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบ เช่น คุณภาพดิน แพลงก์ตอน พาหะต่างๆ ฯลฯ ที่อาจเข้ามาในช่วงเวลาการเลี้ยง ซึ่งต้องมีการศึกษากันต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
เอกสารแนบ: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/663?show=full
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม และการเกิดโรคไวรัสตัวแดงดวงขาว (white spot syndrome virus, WSSV) ในกุ้งกุลาดำ
มลฤดี สนธิ
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2552
เอกสารแนบ 1
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและการเกิดโรคไวรัสตัวแดงดวงขาว (White spot syndrome Virus, WSSV) ในกุ้งกุลาดำ การศึกษาการผลิตโปรตีน VP35, viral-IAP ของไวรัสโรคตัวแดงดวงขาว โปรตีน PPAF และ shrimp-IAP ของกุ้งโดยใช้ E.coli (ระยะที่ 1) การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของแร่ธาตุบางชนิดในพลาสมาของกุ้งขาววัยรุ่น (Litopenaeus vannamei) ในสภาวะช็อก วิธีลอยกระทงให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สถานการณ์เกษตรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (White spot syndrome virus, WSSV) กับการถ่ายทอดโรคในกุ้งกุลาดำโดยใช้เทคนิค real time PCR เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาเพื่อพัฒนาศักยภาพในการเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การศึกษายีนของไวรัสตัวแดงดวงขาวและกุ้งกุลาดำที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตายของเซลล์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก