สืบค้นงานวิจัย
การผลิตสารสกัดจากมอลต์ข้าวไทยและธัญพืชงอกระดับกึ่งอุตสาหกรรม
ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล - มหาวิทยาลัยรังสิต
ชื่อเรื่อง: การผลิตสารสกัดจากมอลต์ข้าวไทยและธัญพืชงอกระดับกึ่งอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่อง (EN): Semi-industrial scale production of rice malt and germinated cereal extracts
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล
คำสำคัญ: ข้าวมอลต์
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การผลิตสารสกัดจากมอลต์ข้าวไทยและธัญพืชงอกระดับกึ่งอุตสาหกรรม” แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาโรงงานต้นแบบและกระบวนการผลิตสารสกัดมอลต์จากข้าวไทยและธัญพืช ที่ขนาดการผลิต 1,000 ลิตรต่อวัน และเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ผงมอลต์สกัด สารสกัดมอลต์และผลิตภัณฑ์พลอยได้จาก กระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้มีของเหลือทิ้งจากกระบวนการ ได้แก่ ซีเรียลมอลต์โปรตีน สารสกัดแอมิโน เปปไทด์ การศึกษาครั้งนี้ เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์เตรียมและรวบรวมวัตถุดิบ ดำเนินการเพาะมอลต์ วิเคราะห์ปริมาณโปรตีน วิตามิน สารกาบา ตรวจวัดปริมาณสารสกัดในคุณภาพน้ำเวิร์ตที่ต้มสกัดภายใต้ standard mashing programme ในธัชพืช 7 ชนิด ประกอบด้วยข้าวก่ำ ข้าวหอมนิล ข้าวหอมปทุม ข้าวหอมมะลิแดง ถั่วเหลือง ถั่วแดงและถั่วเขียว เพื่อหาวิธีสกัดที่เหมาะสม ทดลองผลิตระดับไพลอทและระดับกึ่งอุตสาหกรรม ทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี จุลิทรีย์ของผลิตภัณฑ์ 4 ชนิด ได้แก่ 1. Cereal malt extract powder 2. Cereal malt syrup 3. Cereal malt aminopeptide powder 4. Cereal malt protein powder คุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ โดยผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ชนิดที่ผลิตระดับต้นแบบและกึ่งอุตสาหกรรมพบว่ามีคุณภาพทัดเทียมข้อกำหนดทางการค้าในทุกด้าน หลังจากนั้นทดสอบผลิตภัณฑ์ผงมอลต์สกัดจากข้าวมอลต์และธัญพืชงอกในการเลี้ยงจุลินทรีย์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากผลงานวิจัย สามารถนำไปพัฒนาเป็นสินค้า เพื่อทดแทนสินค้านำเข้าที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน และพัฒนาเป็นสินค้าส่งออกได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-09-19
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-18
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยรังสิต
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP เครื่องหมายการค้า
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ ซันเฟรช ไรซ์มอลต์เปปไทด์
เลขที่คำขอ 1016535
วันที่ยื่นคำขอ 2015-12-01 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน 2017-10-20 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน 171131916
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตสารสกัดจากมอลต์ข้าวไทยและธัญพืชงอกระดับกึ่งอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยรังสิต
18 กันยายน 2557
อุตสาหกรรมอาหารไทย ปลอดภัยเชื่อถือได้ การตรวจสอบฤทธิ์กลายพันธุ์และต้านการกลายพันธุ์ของสารสกัดยาแผนโบราณไทย โครงการศึกษาสถานภาพการใช้เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชันสำหรับ ผลิตความร้อนและไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรม ชุมชน หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็กของประเทศไทย ผลของสารสกัดจากใบติ้วขาวต่อการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทเมื่อถูกกระตุ้นด้วยเบต้าอะไมลอยด์เปปไทด์ (โมเดลของโรคอัลไซเมอร์) การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการประหยัดพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรม การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การผลิตสารสกัดจากมอลต์ข้าวไทยและธัญพืชงอกระดับกึ่งอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราไทย การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร บูรณาการการผลิตข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตโดยใช้จุลินทรีย์และสารสกัดจากพืชในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก