สืบค้นงานวิจัย
การจำแนกชนิดและการใช้ประโยชน์จากแมลงในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนบน
จิตเกษม หลำสะอาด - มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่อง: การจำแนกชนิดและการใช้ประโยชน์จากแมลงในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Classification and utilization of insects in organic farming area in the 3 provinces of the Upper South of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จิตเกษม หลำสะอาด
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การตรวจสอบชนิดและการใช้ประโยชน์จากแมลงในพื้นที่เกษตร 3 จังหวัดภาคใต้ตอนบน มี วัตถุประสงค์ 1) สำรวจและรวบรวมตัวอย่างแมลงในพื้นที่เกษตรอินทรีย์และพื้นที่เกษตรเคมี จังหวัด สุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง 2) ตรวจสอบชนิดแมลงที่พบในพื้นที่ เกษตรอินทรีย์และพื้นที่เกษตรเคมี 3) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากแมลงที่มีประโยชน์ของคนในท้องถิ่น 4) ถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรและนักเรียนระดับขั้นพื้นฐานโดยมีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาชนิดของแมลงโดยการสำรวจและรวบรวมตัวอย่างแมลงในพื้นที่เกษตรอินทรีย์และพื้นที่เกษตรเคมี 3 จังหวัด โดยสุ่มเลือกพื้นที่เกษตรอินทรีย์และพื้นที่เกษตรเคมีจังหวัดละ 5 แห่ง ตรวจสอบชนิดแมลงจากกุญแจ (Key) จำแนกชนิดเมลงแต่ละอันดับ (Order) นำตัวอย่างเทียบกับตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์แมลงขอคำยืนยันชนิดจากผู้เชี่ยวชาญ และ จำแนกประเภทแมลงเป็นพวกที่มีประโยชน์และพวกที่ก่อให้เกิดปัญหา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการใช้ประโยชน์จากแมลงของคนในท้องถิ่นโดยการสัมภาษณ์และศึกษา การเลี้ยงของแมลงมีประโยชน์บางชนิดและขั้นตอนที่ 3 การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับแมลงและการใช้ประโยชน์จากแมลงที่เป็นผลจากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ให้กับบุคคล 2 กลุ่มโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกัน คือ 1) การถ่ายทอดความรู้โดยการจัดทำชุดฝึกอบรมตามความสนใจของเกษตรกร โดยจัดอบรมให้กับเกษตรกรและผู้สนใจจำนวน 33 คน และ 2) การถ่ายทอดความรู้โดยจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนระดับขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 โดยประเมินผลความเหมาะสมในการนำไปใช้ประกอบการสอนของครูจำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. แมลงในพื้นที่สำรวจมี 12 อันดับ 73 วงศ์ 138 สกุล 175 ชนิดแมลงในอันดับLepidoptera พบมากชนิดที่สุดคือ 47 ชนิดแต่แมลงอันดับ Dermaptera, Neuroptera และPhasmida พบอันดับละ 1 ชนิด แมลงทั้ง 175 ชนิดจัดเป็นแมลงที่มีประโยชน์ 140 ชนิด เป็นแมลงตัวห้ำ แมลงเบียน ที่ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช เป็นอาหารของคนและสัตว์เลี้ยง เป็นแมลงช่วยผสมเกสร บางชนิดเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม ส่วนแมลงที่ก่อปัญหามี 123 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นแมลงศัตรูพืช และแมลงที่ก่อปัญหากับสุขภาพของคนและสัตว์เลี้ยง 2. ผลการสัมภาษณ์คนในท้องถิ่นมีการใช้ประโยชน์จากแมลง 3 รูปแบบคือ 1) เลี้ยงเพื่อจำหน่ายและเป็นอาหารได้แก่ด้วงสาคู (Rhynchophorus sp.) มอดรำข้าวสาลี (Tenebrio molitor) ผึ้งพันธุ์ (Apis sp.) ชันโรง (Tetragonula pegdeni) จิ้งหรีด (Gryllus bimaculata) 2) เสาะหาในธรรมชาติเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้แก่ ด้วงงวงมะพร้าว (Rhynchophorus ferrugineus) จักจั่น (Dundubia intermerata) หนอนผีเสื้อต้นตาตุ่มทะเล (Achaea janata) และ3) เลี้ยงหรือย้ายรังมาเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตในพื้นที่เกษตรได้แก่ มดแดง (Oecophylla smaragdina) ต่อหัวเสือ (Vespa affinis) และผลสรุปจากการสัมภาษณ์ประการหนึ่งพบว่าคนในท้องถิ่นไม่รู้จักแมลงอีกหลายชนิดจะสรุปรวมเป็นแมลงที่มีโทษหรือไม่มีประโยชน์ดังนั้นจึงควรมีการอบรมให้ความรู้เรื่องแมลงในท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ให้กับเกษตรกรและคนทั่วไป 3. ผลการสนทนากลุ่ม (focus group) ของตัวแทนเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องได้นำผลมาจัดทำชุดฝึกอบรมเรื่องการใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับแมลงในท้องถิ่น 2) การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological control) 3) การกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยใช้กับดัก 4) การเลี้ยงชันโรง (Tetragonula sp.) 5) การเลี้ยงหนอนนก (Tenebrio molitor) และนำชุดฝึกอบรมที่ได้ไปใช้กับเกษตรกรและผู้สนใจจำนวน 33 คน พบว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนมีคะแนนความรู้ ความเข้าใจหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าชุดฝึกอบรมเรื่องการใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่สร้างขึ้นทำให้เกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะ เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น 4. ผลการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “แมลง” ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่สร้างขึ้นประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่องคือ 1) แมลงและอันดับของแมลง 2) รูปร่างของแมลง 3) ความสำคัญของแมลงในท้องถิ่น 4) แมลงในท้องถิ่นและ 5) การใช้ประโยชน์จากแมลงของคนในท้องถิ่น โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นได้รับการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยว ชาญและนำไปให้ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการสอนจำนวน 15 คน ผลการประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้ประกอบการสอนในภาพรวมครูมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ : การตรวจสอบชนิดแมลง การใช้ประโยชน์จากแมลงพื้นที่เกษตร ชุดฝึกอบรม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
บทคัดย่อ (EN): Identification and utilization of insects in farming area in the 3 provinces of the Upper South of Thailand was aimed to 1) survey and collect insect specimens in organic and chemical agricultural areas of Surat Thani, Chumporn and Ranong Provinces, 2) classify the collected specimens, 3) find out the local knowledges of utilizing useful insects, 4) teach these knowledges to local farmers and primary school students. The work was carried out in 3 stages. The first stage was the survey and collection of insect specimens in 5 randomly selected agricultural areas for both organic and chemical types in the 3 provinces. The specimens were classified with the use of taxonomic key to the order level. The specimens were then compared with the collections in the insect museums and the result confirmed by experts. The collected specimens were then grouped into useful and harmful types. The second stage was carried out through interviews of the local people on the utilization of useful insects together with learning the way of insect rearing by the local people. The third stage was transferring the knowledge of this study to 2 different groups of people with different objectives. For the first group, a training course for 33 farmers and interested people was arranged in accordance with their interests. An electronic book was prepared to supplement the teaching student at elementary level for 15 teachers. It was found that 1. There were 12 orders, 73 families, 138 genus and 175 species of insects in the studied areas with order Lepidoptera having the highest number of 47 species while only one species each in the order Dermaptera, Neuroptera and Phasmida were found. Of all 175 species, 140 were useful insects that have important roles in controlling other harmful insects, can be used as food for humans and animals, help in pollination, and act as a fertility index for the environment. There were 123 species of harmful insects which mostly are pest and those that caused health problems in humans and animals. 2. The interviews of local people revealed that there were 3 types of insect utilization which are1) rearing for sale and as food source such as Rhynchophorus sp., Tenebrio molitor, Apis sp., Tetragonula pegdeni, Gryllus bimaculata, 2) collecting as food from the wild such as Rhynchophorus ferrugineus, Dundubia intermerata, Achaea janata, 3) rearing or moving the insects’ hives to help increase agricultural productivity such as Oecophylla smaragdina, Vespa affinis. Since the local people did not have knowledge on many local insects whether they are useful or harmful, it became very important to educate them on the subject of local insects and their utilization. 3. A training set on utilization of local insects by local farmers in Surat Thani was prepared according to the result of discussion of a focus group consisting of representatives of farmers and those involved. The training set consists knowledge on 1) local insects, 2) pest control through biological methods, 3) pest control by using trap, 4) rearing of stingless bees (Tetragonula sp.), 5) rearing of Tenebrio molitor . This training set was used in training of 33 farmers and interested people. Comparing the knowledge test result of all trainees before and after training, it was found that all trainees had gained better understanding significantly after the training at 0.05 confident level. This was an indication that the training set was effective in help increasing the knowledge, understanding and skills on the utilization of local insects. 4. The electronic books on “Insects: Local Natural resources” contained 1) Insects and the order of insect, 2) Physiology of insects, 3) the importance of local insects, 4) Local insects, 5) Utilization of insects by local people. This book was evaluated for its appropriateness and conformity by experts. Fifteen science teachers had been asked to use this book in supplementing their teaching. In overall, the teachers evaluated this book as highly appropriate. Keywords: Insect classification, insect utilization, agricultural area, training set, electronic book
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292566
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำแนกชนิดและการใช้ประโยชน์จากแมลงในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ใน 3 จังหวัดภาคใต้ตอนบน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
ศึกษาการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนารูปแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการปลูกมังคุดทางภาคใต้ตอนบน การสำรวจและศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ภาคใต้ของประเทศไทย ศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดินในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการปลูกผักคะน้าและกวางตุ้งทางภาคใต้ตอนบน การรวบรวมและทดสอบผลผลิตของพืชสมุนไพรไล่แมลงชนิดต่าง ๆสำหรับเกษตรอินทรีย์ การปรับปรุงการผลิตข้าวหอมด้วยระบบเกษตรอินทรีย์สำหรับพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย ความรู้และทัศนคติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ปี 2548 ในภาคตะวันตก ที่มีต่อการผลิตตามระบบเกษตรอินทรีย์ การใช้วิธีวิเคราะห์การจัดกลุ่มหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาการใช้น้ำอย่างพอเพียงในระบบฟาร์มเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ปีที่ 1 ศึกษาการใช้น้ำอย่างพอเพียงในระบบฟาร์มเข้าสู่เกษตรอินทรีย์ (ปีที่ 1) ปัญหาและอุปสรรคในการทำเกษตรอินทรีย์ ของเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก