สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปกาแฟอราบิก้า
สิทธิเดช ร้อยกรอง - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปกาแฟอราบิก้า
ชื่อเรื่อง (EN): Research for Improving Yield and Quality of Arabica Coffee Product
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สิทธิเดช ร้อยกรอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ศิริรัตนาพร หล้าบัววงศ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปกาแฟอราบิก้า โครงการย่อยที่ 1 การจัดการสวนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตกาแฟอราบิก้า แบ่งงานวิจัยออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การศึกษาวิธีการปลูกกาแฟอราบิก้าระยะชิดที่เหมาะสม โดยเปรียบเทียบการปลูกกาแฟที่ระยะปลูก 1.5x1.5, 1.5x2.0 และ 2.0x2.0 เมตร กรรมวิธีละ 1 ไร่ จากผลการดำเนินงาน พบว่า ปัจจุบันต้นกาแฟมีอายุ 2 ปี อยู่ในช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้น (การพัฒนาด้านความสูงและการแตกกิ่งใหม่) โดยความสูงเฉลี่ยของต้นกาแฟในทุกกรรมวิธีอยู่ระหว่าง 65 - 70 ซม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และการดูแลรักษาของเกษตรกร 2) การศึกษาวิธีการตัดเพื่อสร้างลำต้นใหม่ (Rejuvenation) ที่เหมาะสมต่อการปรับปรุงสวนกาแฟ อราบิก้า จะเป็นการตัดต้นกาแฟและไว้หน่อจำนวน 1 และ 2 หน่อ จากการเปรียบการเจริญเติบโตของต้นกาแฟ พบว่า หลังจากตัดต้นกาแฟเป็นระยะเวลา 2 ปี หน่อมีการพัฒนาเป็นลำต้นใหม่ที่ค่อนข้างสมบูรณ์และมีความสูงเฉลี่ย 95 ซม. นอกจากนี้ยังพบการออกดอกและพัฒนาการจากดอกเป็นผล ซึ่งในปีการผลิต 2555/56 ประมาณการณ์ผลผลิตที่ 300-350 กก./ไร่ 3) การศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดศัตรูกาแฟอราบิก้า (หนอนเจาะลำต้นกาแฟ) ได้ทำการรวบรวมผลการศึกษางานวิจัยและองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงศึกษาชนิด วงจรชีวิต และลักษณะการระบาดของหนอนเจาะลำต้น จากนั้นจึงนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาใช้ฐานข้อมูลและสังเคราะห์เป็นกรรมวิธีการทดสอบ และ เริ่มดำเนินงานทดสอบในเดือนเมษายน 2555 ซึ่งเป็นช่วงที่หนอนอยู่ในระยะตัวเต็มวัย (ด้วงหนวดยาวสีดำลายเทา ) ดังนั้น วิธีที่ให้เกษตรกรปฏิบัติจะเป็นการตัดแต่งต้นกาแฟให้มีการแตกหน่อใหม่และการบำรุงรักษาต้นกาแฟให้มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ส่วนการป้องกันการแพร่ระบาดของหนอนเจาะลำต้นกาแฟในระยะยาว ได้นำต้นมะเยาหินไปปลูกเป็นไม้บังร่มเงาถาวรให้กับต้นกาแฟ ส่วนการป้องกันการระบาดของหนอนเจาะลำต้นหลังการทดลองพ่นสารเคมีและการจัดการสวนที่เหมาะสมนั้น จะได้ทำการติดตามผลการศึกษาต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปกาแฟอราบิก้า
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2555
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การจัดการธาตุอาหารกาแฟอราบิก้า โครงการศึกษาศักยภาพการแข่งขันของกาแฟอราบิก้าที่ผลิตในระบบที่มิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตกาแฟอราบิก้า ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้า บนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่ โครงการหลวงแล โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง การตัดแต่งกิ่งกาแฟอราบิก้า การประเมินและเฝ้าระวังการระบาดของโรคและแมลงศัตรูกาแฟอราบิก้าในพื้นที่การส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดกาแฟ อราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการห ชุดโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนและการจัดการระบบนิเวศในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงขุนตื่นน้อย โครงการย่อย 2 การศึกษาศักยภาพการแข่งขันของกาแฟอราบิก้าที่ผลิตในระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยกลุ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก