สืบค้นงานวิจัย
การใช้ยีน MyD88 เป็นยีนติดตาม (gene Marker) ประสิทธิภาพสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลากะพงขาว (lates calcarifer)
กิตติชนม์ อุเทนะพันธุ์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การใช้ยีน MyD88 เป็นยีนติดตาม (gene Marker) ประสิทธิภาพสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลากะพงขาว (lates calcarifer)
ชื่อเรื่อง (EN): MyD88 gene of Asian sea bass (lates calcarifer) as a gene marker for immunostimulants effectiveness
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิตติชนม์ อุเทนะพันธุ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การใช้ยีน MyD88 เป็นยีนติดตามประสิทธิภาพสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันใน ปลากะพงขาวกิตติชนม์ อุเทนะพันธุ์1 ธีรวุฒิ เลิศสุทธิชวาล1 และนิอร จิรพงศธรกุล2บทคัดย่อในปัจจุบันมีการใช้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunostimulant) ในสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มความต้านทานโรค รวมถึงสนับสนุนให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ทำให้มีการพัฒนาสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะเจาะจง ชนิดต่างๆ โดยระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะเจาะจง (innate immunity) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังมีการรับรู้ต่อการกระตุ้นผ่านระบบ self-recognized system ของเจ้าบ้าน โดยใช้ Toll like pathway ซึ่งมี Toll like receptors (TLRs) ส่งสัญญาณทางชีวภาพผ่านโมเลกุลของ Myeloid differentiation primary response gene 88 (MyD88) ซึ่งจากการศึกษายีน MyD88 ในการทดลองครั้งนี้ โดยการสกัด total RNA จากไตส่วนหน้า (Head Kidney) ของปลากะพงขาวที่กระตุ้นด้วย ?-glucan เพื่อนำมาสังเคราะห์ cDNA และโคลนนิ่งโดยใช้ไพรเมอร์ที่ออกแบบจากยีน MyD88 ของปลาชนิดต่างๆที่มีรายงานในใน GenBank จำนวน 5 ชนิด ซึ่งจากผลการศึกษาทำให้ได้ข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ และSpecific primer ของยีน MyD88 ของปลากะพงขาว รวมถึงสภาวะที่เหมาะสมในการทำงานของ specific primer (60 องศาเซลเซียส) ในขั้นตอนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอเป้าหมายด้วยเทคนิค PCR และqPCR ในการติดตามการแสดงออกของยีน MyD88 เปรียบเทียบกับยีน ?-actin ของปลากะพงซึ่งเป็น Housekeeping gene และเป็น internal marker นอกจากนี้ ในการศึกษายังศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆอีก 3 ชนิด ประกอบด้วย ยีน g type lysozyme ยีน Cathepsin L และยีน Mx protein โดยกระตุ้นด้วยสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน 3 ชนิด คือ สาร LPS สาร peptidoglycan และสาร CpG1668 โดยเก็บตัวอย่างอวัยวะที่เวลา 0,12 ชั่วโมง 1,3,5 วัน หลังจากให้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน พบว่า ยีน MyD88 วันที่ 1 มีการแสดงออกของยีนสูงสุด และการแสดงออกของยีน MyD88 ลดลงในวันที่ 5 หลังจากให้สาร lipopolysaccharide และสาร lipopolysaccharide กระตุ้นการแสดงออกได้สูงสุด และจาการทดสอบอัตราการตายของปลากะพงขาว เมื่อได้รับเชื้อ Streptococcus iniae พบว่า ปลากะพงขาวที่ได้รับสาร lipopolysaccharide มีอัตราตายต่ำสุดซึ่งต่างจาก สาร peptidoglycan สาร CpG1668 และปลากะพงที่ไม่ได้รับการกระตุ้น (control) มีอัตราการตายสูงสุดคำสำคัญ: Myeloid differentiation primary response gene 88 (MyD88), molecular cloning, tissue specific expression, genetic marker, immunostimulants estimate
บทคัดย่อ (EN): MyD88 gene of Asian sea bass (Lates calcarifer) as a gene marker for immunostimulants effectivenessKittichon U-taynapun1 Theerawoot Lerssutthichawal1 and Nion Chirapongsatonkul2AbstractThe Present, we used to immunostimulant in aquatic animals for increase disease resistance, therefore was supported use decrease anti-biotic with the developed to nonspecific defense mechanism immunostimulants. Innate immunity of vertebrate animals response through self-recognized system by Toll like pathway that have Toll like receptors (TLRs) signaling biological molecules through Myeloid differentiation primary response gene 88 (MyD88).This study is MyD88 gene by total RNA extraction from head kidney of Asian seabass that stimulated ?-glucan for cDNA synthesis with SuperScript? III Reverse Transcriptase (Invitrogen) and cloning, were nucleotide sequence and specific oligonucleotide primer of MyD88 gene, by optimizing the annealing temperature at 60?C. Use specific oligonucleotide primer of MyD88 gene was DNA synthesis with qPCR technique for follow MyD88 gene expression related ?-actin of sea bass, that was housekeeping gene and internal marker and studies other gene 3 gene consists type lysozyme gene, Cathepsin L gene and Mx protein gene. In this study, gene was used immunostimulants of 3 well-known immunostimulants including lipopolysaccharide, peptidoglycan, and CpG 1668 by storage organ at 0, 12 hr. 1, 3, 5 day after treated immunostimulants. Founding MyD88 gene at 1 day highest expression and low expression at 5 day after treated lipopolysaccharide and lipopolysaccharide was highest expression. Tested by monitoring the mortality of Asian sea bass challenging Streptococcus iniae, Founding Asian sea bass treated lipopolysaccharide low mortality different peptidoglycan and CpG1668 and control highest mortality.Keyword: Myeloid differentiation primary response gene 88 (MyD88), molecular cloning, tissue specific expression, genetic marker, immunostimulants estimate
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ยีน MyD88 เป็นยีนติดตาม (gene Marker) ประสิทธิภาพสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลากะพงขาว (lates calcarifer)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2557
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การวิเคราะห์การทำงานของยีนที่ใช้ในการสังเคราะห์สารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชันโดย RNA interference โครงการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว การใช้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกุ้งทะเล ผลของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อการตอบสนองภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง การยอมรับเชื้อ Streptococcus agalactiae ที่แยกจากปลากะพงขาว(Lates calcarifer Bloch,1790) ในปลาเศรษฐกิจบางชนิด ผลของอัตราความหนาแน่นต่อการติดเชื้อ Streptococcus iniae ในปลากะพงขาว, Lates calcarifer (Bloch) การตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของน้ำเลือดปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) หลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส การพัฒนาโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อ cytochrome P450 1A (CYP1A) ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ที่ได้รับสารเบนโซ[เอ]ไพรีน การพัฒนาโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อ cytochrome P450 1A (CYP1A) ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ที่ได้รับสารเบนโซ[เอ]ไพรีน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก