สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง
สำราญ พิมราช, นภาพร เวชกามา, เกศจิตต์ ขามคุลา, ธีระรัตน์ ชิณแสน - มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Growth, Yield and Seed Quality of Local Rice Varieties in Mahasarakham Province and Neighboring Provinces
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง 2) ศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมือง และ 3) เพื่อศึกษาคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ของข้าวพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้แบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และพื้นที่ใกล้เคียง 2) ศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่รวบรวมได้ และ 3) ศึกษาคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมือง เมื่อนำข้าวปลูกศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิต จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวจากแหล่งต่าง ๆ ได้ข้าวจำนวน 40 สายพันธุ์ ได้แก่ โสมมาลี มะลิดั้งเดิม ขาวใหญ่ ลืมผัว กุหลาบดำ หวิดหนี้ ปะกาอำปึล อีน้อย ก่ำกาดำ ขาวปากหม้อ เจ้าแดง รากไผ่ หอมคลองหลวง เหลืองกำแมด ดอขาว พม่า น้ำสะกุย 19 ก่ำดำเตี้ย สันป่าตอง ผาแดง หอมดง สัมพันธ์แดง ข้าวดอ แก่นดู่ นางมล หินกอง สันปลาหลาด เหลืองแก้ว เหลืองใหญ่ นางหก ก่ำเป๋ กอเดียว ข้าวม่วง หอมนางนวล ข้าวเหนียวแดง เหลืองบุญมา หอมสกล กู้เมืองหลวง กข 6 และขาวดอกมะลิ 105 ณ คณะเทคโนโลยีทางการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 และบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตด้านความสูง การแตกกอ วันออกดอกและวันเก็บเกี่ยว จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดดี และเมล็ดลีบ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด น้ำหนักเมล็ด น้ำหนักฟางแห้ง ดัชนีเก็บเกี่ยว พบว่า ข้าวพื้นเมืองสายพันธุ์ต่าง ๆ มีเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิตแตกต่างกันทั้งในลักษณะความสูง จำนวนหน่อต่อกอ วันออกดอกและวันเก็บเกี่ยว จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ผลผลิตน้ำหนักเมล็ด น้ำหนักฟางแห้ง น้ำหนักแห้งทั้งหมด และดัชนีเก็บเกี่ยว โดยข้าวพันธุ์พื้นเมืองให้ผลผลิตมากที่สุด ได้แก่ ข้าวพันธุ์สันป่าตอง กู้เมืองหลวง หอมนางนวล มะลิดั้งเดิม สันปลาหลาด และ โสมมาลี ซึ่งให้น้ำหนักเมล็ดมากที่สุด ตามลำดับ โดยข้าวพันธุ์พื้นเมืองดังกล่าวให้ผลผลิตต่ำกว่าข้าวพันธุ์ กข 6 ยกเว้นข้าวพันธุ์สันป่าตองเพียงพันธุ์เดียว แต่ข้าวพื้นเมืองพันธุ์ดังกล่าวให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวพันธุ์พันธุ์พื้นเมืองที่ให้ผลผลิตสูงเป็นพันธุ์ที่มีการสร้างมวลชีวภาพมากและมีค่าดัชนีเก็บเกี่ยวสูง เมื่อนำเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์เปรียบเทียบ จำนวน 33 สายพันธุ์ (จำนวนเมล็ดพันธุ์มีจำกัด) ได้แก่ โสมมาลี มะลิดั้งเดิม ขาวใหญ่ ลืมผัว กุหลาบดำ ปะกาอำปึล ก่ำกาดำ ขาวปากหม้อ เจ้าแดง รากไผ่ เหลืองกำแมด พม่า ก่ำดำเตี้ย สันป่าตอง ผาแดง หอมดง สัมพันธ์แดง ข้าวดอ แก่นดู่ นางมล หินกอง สันปลาหลาด เหลืองแก้ว เหลืองใหญ่ ก่ำเป๋ กอเดียว ข้าวม่วง หอมนางนวล ข้าวเหนียวแดง เหลืองบุญมา กู้เมืองหลวง กข 6 และขาวดอกมะลิ 105 มาเก็บรักษาในสภาพควบคุมอุณหภูมิ (4 - 7 องศาเซลเซียส) และสภาพอุณหภูมิห้อง (25 - 35 องศาเซลเซียส) แล้วนำมาทดสอบคุณภาพที่อายุการเก็บรักษา 2, 4, 6, 8, 10 และ 12 เดือนหลังการเก็บเกี่ยว จากการศึกษาพบว่า เมล็ดพันธุ์มีความงอก เวลาเฉลี่ยในการงอก และดัชนีความงอกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่มีความงอกสูงตลอดการเก็บรักษา ได้แก่ พันธุ์ ก่ำกาดำ สันป่าตอง แก่นดู่ ข้าวม่วง และขาวดอกมะลิ 105 เป็นต้น ขณะที่พันธุ์หอมนางนวล และกุหลาบดำมีความงอกต่ำสุด สำหรับเวลาเฉลี่ยในการงอก พันธุ์ปะกาอำปึล กอเดียว และข้าวใหญ่ ใช้เวลาเฉลี่ยในการงอกต่ำสุด ขณะที่พันธุ์ก่ำเป๋ ข้าวเหนียวแดง และข้าวดอ มีเวลาเฉลี่ยในการงอกค่อนข้างสูง และสำหรับค่าดัชนีความงอกข้าวพันธุ์ขาวใหญ่ สันป่าตอง ปะกาอำปึล และข้าวม่วง มีความแข็งแรงสูงเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นๆ ขณะที่ข้าวพันธุ์กุหลาบดำ ลืมผัว และหอมนางนวลมีค่าดัชนีความงอกต่ำที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบอายุการเก็บรักษาที่แตกต่างกับ พบว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวทุกสายพันธุ์มีแนวโน้มงอกได้เร็วและแข็งแรงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุการเก็บรักษายาวนานขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อายุการเก็บรักษา 10 เดือนหลังการเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะพันธุ์ลืมผัว กุหลาบดำ เหลืองแก้ว หอมนางนวล เหลืองบุญมา และกู้เมืองหลวง ที่ความงอกของเมล็ดพันธุ์มีค่าสูงขึ้นเมื่ออายุการเก็บรักษายาวขึ้น นอกจากนี้ พบว่า การเก็บรักษาด้วยอุณหภูมิแตกต่างกันมีผลให้คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวมีค่าแตกต่างกัน โดยการเก็บรักษาในสภาพควบคุมอุณหภูมิ (4 - 7 องศาเซลเซียส) มีแนวโน้มให้คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวบางพันธุ์มีคุณภาพสูงกว่าการเก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิห้อง เช่น พันธุ์ ปะกาอำปึล เจ้าแดง และเหลืองแก้ว เป็นต้น ขณะที่การเก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิห้องทำให้คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวบางพันธุ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บรักษาในสภาพควบคุมอุณหภูมิ เช่น พันธุ์ลืมผัว กุหลาบดำ และก่ำเป๋ เป็นต้น คำสำคัญ: ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ดัชนีเก็บเกี่ยว คุณภาพเมล็ดพันธุ์ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to 1) collection local rice varieties, 2) investigate growth, yield and yield components of indigenous rice accessions and 3) to evaluate seed quality and storability of local rice varieties. This study was divided into three parts. The first part was to collection local rice varieties in Maha Sarakham province and neighboring provinces, the second experiment was to study on growth, yield and yield components of indigenous rice accessions and the third part was to study on seed quality after storage. The collection of local rice varieties in Maha Sarakham province and neighboring provinces were collected 40 rice varieties consisting of Som Ma Lee, Mali Dung Derm, Khao Yai, Laum Phou, Ku Larb Dum, Wid Nee, Pa Ka Amphun, E-Noi, Kum Ka Dum, Khao Park Mor, Chao Deang, Rark Phai, Hom Klong Luang, Leaung Kum Mad, Dore Khoa, Pa Ma, Num Sa Kouy 19, Kun Dun Tia, San Pa Thong, Pha Daeng, Hom Dong, Sumpun Deang, Kaw Dore, Kaen Doo, Nang Mon, Hin Kong, San Pla Lard, Lueng Kaew, Lueng Yai, Nang Hok, Kum Pay, Kore Deaw, Kaw Muang, Hom Nang Nuan, Kaw Naew Deang, Lueng Boon Ma, Hom Sakon, Ku Muang Luang, RD 6 and KDML 105. The study on growth, yield and yield components of indigenous rice accessions were done at Faculty of Agricultural Technology, Rajabhat Maha Sarakham University during June to December 2015. Data were recorded for plant height, number of tillers, days to flowering, number of panicles, number of filled grains, number of un-filled grains, 1,000-grain weight, grain weight, straw weight, total dry weight, harvest index. Local rice varieties were significantly different for growth, yield, yield components, plant height, number of tillers, number of panicles, and number of grains, 1000-grain weight, grain weight, straw weight, total dry weight and harvest index. San Pa Thong, Ku Muang Luang, Hom Nang Nuan, San Pla Lard and Som Ma Lee had the highest grain weight in respective orders under well-watered condition. These accessions had lower yield than did RD6 under well-watered condition accepted San Pa Thong, but they has higher yield than did KDML 105. The high yielding indigenous rice varieties were due largely to high biomass production and high harvest index. After that the seed of local rice varieties and comparative varieties amount 33 varieties (seeds were limited) consist of Som Ma Lee, Mali Dung Derm, Khao Yai, Laum Phou, Ku Larb Dum, Pa Ka Amphun, Kum Ka Dum, Khao Park Mor, Chao Deang, Rark Phai, Leaung Kum Mad, Pa Ma, Kun Dun Tia, San Pa Thong, Pha Daeng, Hom Dong, Sumpun Deang, Kaw Dore, Kaen Doo, Nang Mon, Hin Kong, San Pla Lard, Lueng Kaew, Lueng Yai, Kum Pay, Kore Deaw, Kaw Muang, Hom Nang Nuan, Kaw Naew Deang, Lueng Boon Ma, Ku Muang Luang, RD 6 and KDML 105. Those seed were storage under control condition (4 - 7?C) or ambient condition (25 - 35?C) and carried out to evaluate the seed quality and storability for 2, 4, 6, 8, 10 or 12 month after harvesting. The results showed that percentage germination, mean germination time (MGT) and index germination (GI) were significantly different when compare among varieties, high germination percentage were present in Kum Ka Dum, San Pa Thong, Kaen Doo, Kaw Muang, and KDML 105 while Hom Nang Nuan and Ku Larb Dum were showed lowest germination percentage, for Pa Ka Amphun, Kore Deaw, and Khao Yai were low MGT while Kum Pay, Kaw Naew Deang, and Kaw Dore were showed high MGT, and high GI was presented in Khao Yai, San Pa Thong, Pa Ka Amphun, and Kaw Muang, low seed vigor was obseved in Ku Larb Dum, Laum Phou, and Hom Nang Nuan. The seed quality each rice seed varieties were significantly different when compared with different storage times, seed quality of each seed varieties tend to increased when longer storage time especially at 10 month after harvesting of Laum Phou, Ku Larb Dum, Lueng Kaew, Hom Nang Nuan, Lueng Boon Ma, and Ku Muang Luang. Moreover, at different storage conditions have an influlence in seed quality as well as seed varieties, with under control condition storage (4 - 7?C) seed quality of Pa Ka Amphun, Chao Deang, and Lueng Kaew etc. tend to increased while Laum Phou, Ku Larb Dum, and Kum Pay etc. were high seed quality under storage at ambient condition (25 - 35?C) when compared with control condition. Keywords: local rice varieties or indigenous rice varieties, harvest index, seed quality, seed germination and seed Storability
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
30 กันยายน 2558
ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและต้นทุนการเก็บรักษาข้าวด้วยสภาวะปิดความดันต่ำกับวิธีการรมด้วยสารเคมีและวิธีเก็บในสภาวะควบคุมอุณหภูมิและความชื้น การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดข้าวเหนียวในดินจังหวัดพัทลุง การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวลักษณะเมล็ดสีม่วงจากพันธุ์ข้าวพื้นเมือง การทดสอบสายพันธุ์ปลานิลจิตรลดา 3 และปลานิลจิตรลดา 4 ในกระชังของเกษตรกร การพัฒนากระบวนการผลิตต้นพันธุ์และการเก็บรักษาพันธุ์กล้วยหินในสภาพปลอดเชื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก