สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตชมพู่
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตชมพู่
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Rose apple
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วลัยภรณ์ ชัยฤทธิไชย
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เกษตรกรผู้ปลูกชมพู่มีความต้องการผลิตชมพู่ให้มีผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดปี มีคุณภาพสม่ำเสมอตลอดฤดูการผลิต และลดปัญหาผลเน่าเสีย ในปี 2554-2558 ได้ทำการทดลองเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี สำนักอารักขาพืช และสวนเกษตรกร กระจายการออกดอกติดผลให้ได้ตลอดปี ได้ทำการบังคับออกดอกทีละชุดห่างกัน 2-4 เดือน เพื่อให้ชมพู่ออกดอกได้ในช่วงเวลาต่างกัน และออกดอกติดผลอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ผลการทดลองพบว่าการบังคับดอกก่อนฤดูกาลทุกกรรมวิธีมีจำนวนรุ่นที่ออกดอกต่อเนื่อง 2-3 รุ่นจากรุ่นแรก ได้ผลผลิตมากกว่าการบังคับดอกหลังฤดูการออกดอกซึ่งมีการออกดอกต่อเนื่องได้ 0-1 รุ่น การพ่นสารแพคโคลบิวทราโซล 400 ppm (มก./ล.) ทั่วทรงพุ่มเพื่อบังคับดอก หรือการพ่นสารนี้ร่วมกับการพ่นปุ๋ย 0-52-34 (100 กรัม/น้ำ20ลิตร) ให้จำนวนต้นที่ออกดอก จำนวนดอก/รุ่น ผลผลิต/รุ่น สูงสุดแต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของ 2 กรรมวิธีนี้ และให้ค่ามากกว่าการพ่นปุ๋ยสูตร 0-52-34 และการไม่พ่นสารใด ส่วนการเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้มีคุณภาพดี พบว่าการใช้สารจิบเบอเรลลิกแอซิด (GA3) ความเข้มข้น 30 ppm พ่นหลังดอกบาน 3 วัน หรือพ่นสารผสมแคลเซียมและโบรอน (Ca =40%w/v, B=0.3%w/v) อัตรา 10 มล. ผสมน้ำ 20 ลิตร หลังดอกบาน 14 วัน หรือใช้สารทั้ง 2 ชนิดนี้พ่นตามระยะดังกล่าวข้างต้น ทั้ง 3 กรรมวิธีนี้ให้น้ำหนักผล ความหวาน มีค่าสูงสุดแต่ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ และมีค่ามากกว่าการไม่พ่นสารอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การเลือกไว้ผลที่มีอายุต่างกันไม่เกิน 7 วัน (1-7 วัน) ในต้นเดียวกัน ร่วมกับการพ่นสารจิบเบอเรลลิกแอซิด หรือร่วมกับสารผสมแคลเซียมและโบรอน ให้น้ำหนักผล ความหวาน และผลผลิต/ต้น/รุ่น มีค่ามากกว่าการไว้ผลที่ไม่ได้รับการพ่นสารใดๆ แต่การไว้ผลร่วมกับการพ่นสารผสมแคลเซียมและโบรอนมีแนวโน้มให้ค่าความหวาน และความแน่นเนื้อมากกว่ากรรมวิธีอื่น ส่วนวันจากดอกบานถึงวันเก็บเกี่ยวผลทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างทางสถิติ มีจำนวนวัน 52.43-55.52 วัน ส่วนการศึกษาปัญหาโรคผลเน่าของชมพู่ พบตัวอย่างชมพู่เป็นโรคผลเน่า จาก 22 สวน จำแนกได้เป็นเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Pestalotiopsis guepinii ได้ทำการทดสอบผลของสารสกัดจากพืชและสารป้องกันกำจัดโรคพืชต่อการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของชมพู่ทั้ง 2 ชนิด ในสภาพห้องปฏิบัติการ พบว่าสารสกัดข่าด้วยตัวทำละลาย acetone และ hexane และสารสกัดชะพลูด้วย acetone สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคทั้ง 2 ชนิดได้ เช่นเดียวกับการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอะซอกซีสโตรบิน, อะซอกซีสโตรบิน+ไดฟิโนโคลนาโซล, แคปแทน, แมนโคเซบ และโปรคลอราซ ตามอัตราความเข้มข้นที่แนะนำบนฉลาก ในปี 2558 ทำการทดสอบสารป้องกันกำจัดโรคพืช 4 ชนิด ที่สวนเกษตรกร คือ อะซอกซีสโตรบิน (25% W/V SC) อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, คาร์เบนดาซิม (50% W/V SC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, โปรคลอราซ (45% W/V EC) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรและแมนโคเซบ (80% WP) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยมีกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่าเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีพ่นด้วยสารอะซอกซีสโตรบิน (25% W/V SC) อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลการควบคุมโรคผลเน่าไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นด้วยโปรคลอราซ (45% W/V EC) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรและแมนโคเซบ (80% WP) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 แต่น้ำหนักรวมและจำนวนผลผลิตที่ได้มีมากกว่า ซึ่งกรรมวิธีพ่นด้วยสารทั้ง 3 ชนิดให้ผลการควบคุมโรคดีกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นด้วยคาร์เบนดาซิม (50% W/V SC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีควบคุมพ่นน้ำเปล่า
บทคัดย่อ (EN): Java apple (wax apple, roes apple) growers demand that their production is continuous all year round with uniform quality and without fruit rot disease. During 2011-2015 the experiment to find the solution for the problems has been conducted at Phetchaburi research and Development Centre, Office of Plant Protection and grower’s orchard. For a continuous production all year round, flower induction was done every 2 – 4 months to allow flowering at a different period and continue fruiting all year round. The result showed that all flower induction treatments done before normal season produced a continuous of 2-3 flushes subsequent to the first flush. The yield was also higher than the flower induction done after the normal season which produced only 0-1 flush. The spray of paclobutrazole 400 ppm (mg/L) all over the canopy or the spray together with the spray of fertilizer 0-52-34 (100g/20L) resulted in highest number of flowering trees, number of flowers per flush, yield per flush. There was no statistical difference between these two treatments but the results were better than that of the spray of 0-52-34 only. On the improvement of fruit quality the result showed that the spray of 30 ppm of gibberellic acid (GA3) three days after blooming, or the spray of mixture of calcium and boron ( Ca = 40 % w/v, B=0.3 % w/v) at the rate 10 ml in 20 liters of water fourteen days after blooming, or the spray both solutions at the time and rate as above, all these three treatments produced highest fruit weight and sweetness. There were without statistical difference between these three treatments but it was significance higher than that of none spray treatment. In addition, keeping of fruits with age different not more than 7 days (1-7 days) on the same tree together with the spray of gibberellic acid with or without the spray of calcium boron mixture produced higher fruit weight, sweetness, and yield/tree/flush than that without any spray. However fruit keeping together with the spray of calcium boron mixture produced higher value for sweetness and fruit firmness than other treatments. There was no statistical difference in all treatments regarding days from blooming to harvest with 52.43-55.52 days. For the study on fruit rot of Java apples, the specimens were found in 22 orchards. The fungi were identified as Colletotrichum gloeosporioides and Pestalotiopsis guepinii. Plant extracted solutions and plant protection agents were tested on their reactions on the growth of the pathogens in laboratories. The study found that galangal extract in acetone and hexane and chaplu extract in acetone was able to prohibit the growth of both pathogens. Plant protection agents i.e. acoxystrobin, acoxystrobin+diphenolclonazol, captan, mancozeb, and procloraz at the rate recommended on the label also prohibitedthe pathogens. In 2015 tested was conducted in grower orchard with four plant protection agents namely asoxystrobin (25 W/V SC) at 5 ml in 20 liters of water, carbendazim (50% W/V SC) at 30 ml in 20 liters of water, prochloraz (45% W/V EC) at 20 ml in 20 liters of water, mancozeb (80% WP) at 50 grams in 20 liters of water,and with water spray as control treatment. The result showed that the control of fruit rot using spray of asoxystrobin (25 W/V SC) at 5 ml in 20 liters of water was not statistical difference to the use of prochloraz (45% W/V EC) at 20 ml in 20 liters of water or mancozeb (80% WP) at 50 grams in 20 liters of water. However, total weight and fruit number were higher in the asoxystrobin spray. The pathogen control by these three agents was better than that by carbendazim (50% WV SC) at 30 ml in 20 liters of water and the water spray.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292719
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตชมพู่
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลิ้นจี่เฉพาะพื้นที่ โครงการวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตลองกองคุณภาพ การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก