สืบค้นงานวิจัย
การผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพาราเป็นพลังงานทดแทน และการทดสอบสมรรถนะกับเครื่องยนต์
ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพาราเป็นพลังงานทดแทน และการทดสอบสมรรถนะกับเครื่องยนต์
ชื่อเรื่อง (EN): Production of biodiesel from para rubber seed and engine performance tests
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการและหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพารา เพื่อให้ได้น้ำมันไบโอดีเซลปริมาณมากที่สุดต่อหนึ่งรอบการผลิต โดยมีวิธีการผลิตอยู่ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการลดกรดไขมันอิสระและขั้นตอนการทำน้ำมันไบโอดีเซลด้วยกระบวนการทรานเอสเตอร์ริฟิเคชั่น โดยเริ่มจากนำน้ำมันดิบที่สกัดได้จากเมล็ดยางพารามาให้ความร้อนที่ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที เพื่อไล่ความชื้นออกจากน้ำมันดิบ จากนั้นทำการลดกรดไขมันอิสระโดยเติมกรดซัลฟิวริก 2.5% โดยมวล และเมทานอลในอัตราส่วน 6:1 โดยโมล อุณหภูมิขณะทำปฏิกิริยา 60 องศสเซลเซียส และปั่นผสมเป็นเวลา 30 นาที หลังจากนั้นนำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการทรานส์เอสเตอร์ริฟิเคชั่น โดยมีเมทานอลเป็นตัวทำปฏิกิริยาในอัตราส่วน 3:1 โดยโมล และใช้โปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิขณะทำปฏิกิริยา 60 องศาเซลเซียส จากการทดลอง พบว่าปริมาณน้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตได้มากที่สุด คือ 89% ผลการทดสอบด้านสมรรถนะกับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 1 สูบ ที่ภาระสูงสุด ความเร็วรอบ 1300-2300 รอบต่อนาที อัตราส่วนผสมระหว่างไบโอดีเซลกับดีเซล 10:90, 25:75 และไบโอดีเซล 100% โดยปริมาตร เปรียบเทียบกับน้ำมันดีเซลมาตรฐาน จากการทดลองพบว่าแรงบิดและกำลังม้าเบรกของดีเซลจะมีค่าสูงสุด และจะลดลงตามอัตราส่วนผสมไบโอดีเซลที่เพิ่มขึ้น โดยแรงบิดและกำลังม้าเบรกไบโอดีเซลจะต่ำกว่าดีเซลประมาณ 5% อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลงจำเพาะเบรกไบโอดีเซลสูงกว่าดีเซลประมาณ 10% และประสิทธิภาพเชิงความร้อนเบรกในช่วงความเร็วต่ำไบโอดีเซลมีค่าสูงสุด
บทคัดย่อ (EN): Abstract is in the attached file.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/165798/bcf4f90e8fb2de42133061c871aa3e5e?Resolve_DOI=10.14457/UBU.res.2007.16
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพาราเป็นพลังงานทดแทน และการทดสอบสมรรถนะกับเครื่องยนต์
การยางแห่งประเทศไทย
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กลุ่มวิจัยยางพารา การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดยางพารา การผลิตไบโอแก๊สจากของเสียจากขบวนการผลิตน้ำตาล การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาเพื่อผลิตสาหร่ายเป็นพลังงานทดแทน การศึกษาศักยภาพของสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อการผลิตไบโอดีเซล ไบโอดีเซลน้ำมันเมล็ดยางพาราและไบโอดีเซลน้ำมันผสม การผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดสำโรง การศึกษาศักยภาพของเมล็ดยางพาราเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงไบโอดีเซล ในเขตภาคใต้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก