สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพครบวงจรของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด จังหวัดเชียงใหม่
ปิยะวรรณ ฝักฝ่าย - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพครบวงจรของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Farmers' opinion on the Operation of Quality Jasmine Rice Production Facilited Project of Phrao Agricultural Cooperative Limited, Chaing Mai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปิยะวรรณ ฝักฝ่าย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Piyawan Fakfai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริม ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพครบวงจรของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัดกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ กลุ่มผู้ผลิตข้าวเพื่อแปรรูป จำนวน 141 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิงเพื่อทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรส่วน ใหญ่อายุเฉลี่ย 52.26 ปี มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ประสบการณ์การปลูกข้าวนาปีเฉลี่ย 28.90 ปี เป็นสมาชิก โครงการเฉลี่ย 12.27 ปี โดยในปีการเพาะปลูก 2559/2560 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีเฉลี่ย 15.43 ไร่ รายได้จากการปลูกข้าว นาปี เฉลี่ย 5,423.05 บาท/ไร่ ภาระหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 256,622.95 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคมได้รับข่าวสาร ด้านสื่อบุคคลจากประธานกลุ่มย่อยมากที่สุดและติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมโครงการเฉลี่ย 5.27 ครั้ง/ปีและเข้าร่วม กิจกรรมของโครงการที่จัดตั้งขึ้นทั้งนี้เกษตรกรมีระดับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับปานกลางผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าประสบการณ์ปลูกข้าวนาปี ภาระหนี้สินคงค้าง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความคิดเห็น การดำเนินงานโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) การมีตำแหน่งทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการดำเนินงานโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้นโครงการควรให้ความสำคัญกับเกษตรกรที่มีประสบการณ์ ในการปลูกข้าวนาปีมากและเกษตรกรที่มีหนี้สินคงค้างมาก
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was aimed to study Farmers' opinion on the Operation of Quality Jasmine Rice Production Facilited ProjectofPhraoAgricultural Cooperative Limited. The sample of this research was 141 farmers which join the project. Research data was gathered interview schedules with farmers during June to August 2018.The data were analyzed for descriptive statistics include frequency, percentage, mean, maximum, minimum, Standard deviation and inferential statistics to test hypothesis in stepwisemultiple Regression Analysis.Most farmers an average age of 52.26 years with have a grade level education andexperienceof season rice is 28.90 years.By bea member of the project average 12.27 years. In the year of cultivation 2559/2560, The average annual rice area was15.43Rai, The average income from rice was 5,423.05 baht/rai, the average debt was 256,622.95 baht and most of them have no Social status, Get media news from chairman of most subgroups. The average number of contacts is 5.27 times/year. And most ofthe farmers participated in the activities of the established projects.The farmer's Opinion of farmers towardsthe operationPerformance of Quality Jasmine Rice Production Facilited Project was medium. From hypothesis testing, it was found that Experience of rice and Debt was statistically significant positively correlated with degree opinion of farmers towards ofthe operation at the 0.05 level. Social statuswas statistically significant negatively correlated withopinion of farmers towards ofthe operation at the 0.05 level.So thatthe project should have a technical approach to reduce production costs and increase the revenue to. farmers can reduce their debt.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=29_Ext44.pdf&id=3418&keeptrack=10
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพครบวงจรของสหกรณ์การเกษตรพร้าว จำกัด จังหวัดเชียงใหม่
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสหกรณ์การเกษตรของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงจังหวัดเชียงใหม่ บทบาทของสหกรณ์การเกษตรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ การผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิ การจัดการเพื่อรักษาคุณภาพและความหอมของข้าวหอมมะลิในห่วงโซ่การผลิต (ปีที่ 2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จด้านการผลิตและการตลาดในการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่ ความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติของเกษตรกรในการผลิตข้าวหอมมะลิที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสมจังหวัดมหาสารคาม การพัฒนาต้นแบบการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีการจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพความหอมตลอดห่วงโซ่การผลิต ลักษณะความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ของศูนย์พัฒนามูลนิธิโครงการหลวง ตามการรับรู้ของเกษตรกรผู้นำ ในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษากรรมวิธีการผลิตข้าวหอมมะลิแดงแบบหุงสุกเร็ว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก