สืบค้นงานวิจัย
การปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและกลุ่มจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัส (สารเร่ง พด.9) ในกลุ่มชุดดินที่ 4 ชุดดินราชบุรี
วัชระ สิงห์โตทอง - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและกลุ่มจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัส (สารเร่ง พด.9) ในกลุ่มชุดดินที่ 4 ชุดดินราชบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Paddy rice production by using Bio organic fertilizer and phosphate solubilizing microorganisms (LDD 9) in soil group no.4 (Rachaburi series)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วัชระ สิงห์โตทอง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ดานิเอล มูลอย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและกลุ่มจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัส (สารเร่ง พด.9) ในกลุ่มชุดดินที่ 4 ชุดดินราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปรับปรุงบำรุงดินในการปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ร่วมกับจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช(ฟอสฟอรัส) ในดินชุดราชบุรี ซึ่งมีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำมาก เมื่อเทียบกับไนโตรเจนและโพแทสเซี่ยม วางแผนการทดสอบแบบ Observation Trial มี 6 วิธีการใช้พันธุ์ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 เป็นพืชทดสอบ ดำเนินการที่ หมู่ที่ 3 บ.คลองสองพี่น้อง ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ ผลการทดลองพบว่า การปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ดิน ได้แก่สูตร 16 – 20 – 0 (30 ก.ก./ไร่) และสูตร 46 – 0 – 0 (16 ก.ก./ไร่) ร่วมกับปุ๋ยหมักขยายเชื้อจากสารเร่ง พด.9 อัตรา 200 ก.ก./ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าทุกวิธีการ (655.78 ก.ก./ไร่) รองลงมาเป็นวิธีการ ใส่ปุ๋ยเคมี 16 – 20 – 0 (30 ก.ก./ไร่) , 46 – 0 – 0 (16 ก.ก./ไร่) ร่วมกับปุ๋ยหมักขยายเชื้อจากสารเร่ง พด.9 100 ก.ก./ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 634.27 ก.ก./ไร่ อันดับสามเป็นวิธีการใส่ปุ๋ยเคมี 16 – 20 – 0 (30 ก.ก./ไร่) และปุ๋ย 46 – 0 – 0 (16 ก.ก./ไร่) ร่วมกับปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด.1 อัตรา 200 ก.ก./ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 579.59 ก.ก./ไร่ อันดับที่สี่วิธีการใส่ปุ๋ยเคมี 16 – 20 – 0 (30 ก.ก./ไร่) , 46 – 0 – 0 (16 ก.ก./ไร่) ร่วมกับปุ๋ยหมักจากสารเร่ง พด.9 อัตรา 100 ก.ก./ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 565.04 ก.ก./ไร่ อันดับที่ห้าวิธีการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว สูตร 16 – 20 – 0 (30 ก.ก./ไร่) , 46 – 0 – 0 (16 ก.ก./ไร่) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 551.51 ก.ก./ไร่ ทั้งห้าวิธีการที่กล่าวมาให้ผลผลิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และผลจาการใส่ปัจจัยดังกล่าว มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในปีเพาะปลูกถัดไป นอกจากนี้ยังช่วยให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินสูงขึ้นกว่าเดิม และมีอินทรีย์วัตถุของดินเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะวิธีการใส่ปุ๋ยหมักขยายเชื้อจากสารเร่ง พด.9 ส่วนวิธีการปลูกโดยไม่ใส่ปุ๋ยหมัก , ปุ๋ยหมักขยายเชื้อหรือปุ๋ยเคมีเลย ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำที่สุด (451.92 ก.ก./ไร่ ) และมีแนวโน้มให้ผลผลิตข้าวลดลงในปีถัดไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและกลุ่มจุลินทรีย์เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัส (สารเร่ง พด.9) ในกลุ่มชุดดินที่ 4 ชุดดินราชบุรี
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2554
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลการทดลองใช้จุลินทรีย์ป้องกันโรครากและโคนเน่า(สารเร่ง พด.3)ของผักชีฝรั่ง ในระบบเกษตรอินทรีย์ กลุ่มชุดดินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์ การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ศึกษาผลการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 และ พด.2 ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์เล็บนกปัตตานี ในกลุ่มชุดดินที่ 6 ชุดดินพัทลุง การใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ร่วมกับสารสกัดจากหน่อกล้วยเพื่อปลูกผักกาดหอมในกลุ่มชุดดินที่ 24 การปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ในชุดดินโคราช (กลุ่มชุดดินที่ 35) การศึกษาเปรียบเทียบการผสมผสานระบบเกษตรอินทรีย์ วัสดุคลุมดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สำหรับการปลูกไม้ผล (น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง) ในกลุ่มชุดดินชัยบาดาล ศึกษาเทคนิคการนำผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด. สกัดสารจากพืชสมุนไพร เพื่อควบคุมแมลงศัตรูของพืชผัก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก