สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรเห็ดแครงเพื่อสร้างความเข้มแข็งของวิสาสหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
มาลัย กมลสกุลชัย, ประนอม ตั้งปรีชาพาณิชย์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรเห็ดแครงเพื่อสร้างความเข้มแข็งของวิสาสหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Increasing the potential of Production Management of Common Split Gill Producers for the strengthening of sustainable communities.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: การบริหารการผลิต
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดแครงบ้านห้วยพาน เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mix Method) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ได้แก่ แนวสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม สำหรับผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ประธานกลุ่มเกษตรกร จำนวน 20 คนในขณะที่กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน 100 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอาศัยหลักความน่าจะเป็น ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistic)ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ สถิติ t-test แบบ Independent Sampleความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) รวมถึงสถิติPaired T-test ผลการวิจัย พบว่า ด้านการบริหารการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดแครงบ้านห้วยพาน การผลิตเห็ดแครงมีความสำคัญเนื่องด้วยสภาพแวดล้อมได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ส่วนด้านเศรษฐกิจเมื่ออดีตนั้นการทำสวนยางพาราเมื่อหมดน้ำยางชาวสวนก็ต้องตัดต้นไม้เพื่อปลูกใหม่กว่าจะมีการทำลายไม้ยางพาราหมดก็ใช้เวลานาน เมื่อฝนตกหนักเห็ดแครงก็เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สามารถเก็บมาบริโภคได้ ด้านสิ่งแวดล้อมเมื่ออดีตป่าไม้มีมากเพียงพอกับชุมชนสามารถหาของป่ามาบริโภคได้ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันธรรมชาติถูกทำลาย ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารก็มีน้อยลง จึงมีการศึกษาการเพาะเห็ดแครงในถุงพลาสติกเพื่อให้มีผลผลิตไว้บริโภคและสามารถควบคุมการผลิตได้ สำหรับการจัดการกระบวนการผลิตนั้นก็มีการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐาน มีการแบ่งงานกันทำในกลุ่ม แต่ทุกกลุ่มจะใช้กระบวนการและวัตถุดิบเดียวกัน เพื่อให้ผลผลิตออกมาได้มาตรฐานเดียวกันสำหรับผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารการผลิตพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลด้านอายุ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารการผลิตต่างกันรวมถึงผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของระดับการปฏิบัติและระดับความคาดหวัง ในการบริหารการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเห็ดแครงพบว่า ในด้านการวางแผนด้านการจัดองค์กร และด้านการควบคุมมีระดับการปฏิบัติกับระดับความคาดหวังใกล้เคียงกัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มศักยภาพด้านการบริหารการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรเห็ดแครงเพื่อสร้างความเข้มแข็งของวิสาสหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
30 กันยายน 2558
การศึกษาแนวทางการบริหารการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อย่างครบวงจร ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชัง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรประมงบ้านบางพต และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรประมง การพัฒนาธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในภาคตะวันออก เพื่อสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเพื่อการส่งออกในจังหวัดราชบุรี การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเกษตกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดสุรินทร์ การสร้างเสริมความเข้มแข็งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของกลุ่มผู้ผลิตหอมแดงจังหวัดอุตรดิตถ์ การผลิตและการใช้ประโยชน์ปุ๋ยมูลไส้เดือนคุณภาพสูงในการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก