สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Test and Development on Production Technology for Vegetable Safety in The Upper Northeast
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รพีพร ศรีสถิตย์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน แบ่งออกเป็น 5 การทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษที่เหมาะสมในสภาพการผลิตของเกษตรกร(กะหล่ำปลี หอมแบ่ง)และทดสอบเทคโนโลยีการผลิตโหระพา และขึ้นฉ่ายปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ (E. coli และ Salmonella spp.)และแมลงศัตรู ดำเนินงานในจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และนครพนม ระหว่างปี 2554-57 ไม่มีแผนการทดลอง ดำเนินการในแปลงเกษตรกรโดยเกษตรกรร่วมดำเนินการ ใช้หลักการวิจัยระบบการทำฟาร์ม (Farming Systems Research) 5 ขั้น ขั้นตอนที่ 1 การเลือกพื้นที่เป้าหมาย ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์พื้นที่ ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการวิจัย ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการทดสอบ 2 กรรมวิธี 1)กรรมวิธีทดสอบ :เป็นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานและการจัดการตามGAP 2)กรรมวิธีเกษตรกร:เป็นการจัดการตามแบบเกษตรกรเคยปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 5 การขยายผล -ขนาดแปลงทดลอง 1 ไร่/แปลง เกษตรกร 2-5ราย/การทดลอง ผลการทดลองพบว่า กะหล่ำปลี การจัดการศัตรูกะหล่ำปลี(หนอนใยผักและหนอนกระทู้ผัก)แบบผสมผสาน โดยใช้กับดักกาวเหนียวพยากรณ์การระบาด และการใช้เชื้อ BT และ NPV สลับกับการใช้สารเคมีชนิดสลายตัวเร็วไม่มีการตกค้างในผลผลิต สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิดการต้านทานสารเคมี และได้ผลผลิตที่สูงกว่าวิธีการเดิมของเกษตรกรและมีคุณภาพดีปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง หอมแบ่ง การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยปรับใช้วิธีการแบบผสมผสานเพื่อแก้ปัญหาโรคและแมลง ได้แก่ การไถตากดินก่อนปลูกร่วมกับการใช้ไตรโคเดอร์มา เพื่อแก้ปัญหาโรคหัวและรากเน่า ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii Sacc. การตัดแต่งหัวพันธุ์และแช่น้ำอุ่นก่อนปลูก เพื่อแก้ปัญหาโรคราน้ำค้าง ที่เกิดจากเชื้อรา Peronospora destructor (Berk.) Casp. การติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองร่วมกับการตรวจนับกลุ่มไข่ เพื่อพยากรณ์การระบาดของหนอนกระทู้หอม และกำจัดด้วยไวรัส NPV เมื่อพบการระบาด ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร และไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิต โหระพา กรรมวิธีทดสอบควบคุมจัดการโดยวิธีผสมผสานเช่น การใช้ไตรโคเดอร์มาราดหลังปลูกเพื่อป้องกันโรคเน่าจากเชื้อรา การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองเพื่อพยากรณ์แมลงและลดปริมาณเพลี้ยไฟ ผลผลิตปลอดภัย ไม่แตกต่างจากวิธีเกษตรกร ขึ้นฉ่าย กรรมวิธีทดสอบใช้ปุ๋ยอินทรีย์หว่านรองพื้น พ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาเมื่อต้นกล้าอายุ 10-15 วัน พ่นปิโตรเลี่ยมออยล์เพื่อควบคุมการระบาดของแมลงหวี่ขาว ส่วนกรรมวิธีเกษตรกร พ่นสารอิมิดาคลอพริด พบว่าสามารถควบคุมการระบาดของแมลงหวี่ขาวได้ดีไม่แตกต่างกัน โดยที่ต้นทุนการผลิตใกล้เคียงกัน การแช่ขึ้นฉ่ายในสารละลายกรดอะซิติก 0.25% และสารละลายแคลเซี่ยมไฮโปคลอไรท์ 0.01% นาน 30 นาที สามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella spp. และเชื้อ E.coli ได้ การแช่ขึ้นฉ่ายที่ปนเปื้อนแมลงหวี่ขาวหรือเพลี้ยอ่อนในสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต 0.1% นาน 5 นาที สามารถกำจัดแมลงหวี่ขาวและเพลี้ยอ่อนได้ 100% เทคโนโลยีที่ได้ผลนี้ได้ทำการขยายผลไปยังเกษตรกรภายในกลุ่มและใกล้เคียงเพื่อนำไปปฏิบัติ
บทคัดย่อ (EN): Testing of appropriate technology in the production of vegetables in the upper Northeast, divided into five experiments aimed at testing the technology to produce vegetables are organically grown in the production of farmers (cabbage. Multiplier onion) and tested technology thyme. And celery safe from toxins. Reduce contamination of microorganisms (E. coli and Salmonella spp.) And insect pests. Khon Kaen, Udon Thani and Nakhonphanom operations during the year 2011-14, no experiment desize. Performed by farmers in the farmers co-operation. Using the system of farming (Farming Systems Research) 5 following steps 1 to select the target step 2. Analysis of Phase 3 Research planning steps 4 to perform the test two methods: 1) process. test : An integrated pest management and managed by GAP. 2) Procedure for farmers: the management practices used by farmers to maximize Step 5 - 1 for the experimental farm / farmer 2-5 cases / trials. The results showed that the cabbage cabbage pest management (Diamond backmoth and cutworm) blended. Using sticky traps pest surveillance. And the Use of BT and NPV switch to using no chemical residues decompose faster. The outbreak is effectively prevent chemical resistance. And yields higher than conventional methods of farming and good chemical residues essential share of pesticides by deploying a combined approach to solving problems, diseases and insects, including plowing the soil before planting with. Use harzianum farm. To solve the problem of head and root rot. Which is caused by the fungus Sclerotium rolfsii Sacc., The cutting head and warm water before planting seeds. To solve the problem, mildew Caused by the fungus Peronospora destructor (Berk.) Casp. The installation yellow sticky traps with counting the eggs. To forecast the outbreak of beet armyworm. And get rid of a virus outbreak NPV. Higher yield than the farmers And no toxic residues, thyme processes such as integrated test management. Using harzianum was topped after planting to prevent rot fungus. Use yellow sticky traps to predict insect and reduce thrips. Safe yield No different from the way farmers use fertilizer spreaders, celery testing process foundation. Spray Trichoderma Norma on 10-15 day old seedling petroleum oil spray to control the spread of whitefly. The creators of farmers Whats New in chloride sprays Head. Found that the outbreak of whitefly well no different. The cost of manufacturing the same. Celery immersion in a solution of acetic acid and 0.25% solution of calcium hypochlorite, chlorite, 0.01% for 30 minutes to reduce the contamination of pathogenic Salmonella spp. And E. coli bacteria were soaked celery mixed. stained whitefly or aphids in a solution of potassium permanganate 0.1% for 5 minutes to get rid of whitefly and aphids is 100%, the technology has the effect this has been extended to farmers in the group and close .
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยทดสอบเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกและพืชผักเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผักหวานบ้านที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การใช้ประโยชน์ของดินชุดยโสธรเพื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศักยภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เทคโนโลยีการปลูกพริกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก