สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า
ชีระวิทย์ รัตนพันธ์ - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า
ชื่อเรื่อง (EN): Enhancement of Green Productivity for Sustainable Supply Chain Management of Tire Industry in Thailand by Value Chain Analysis
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชีระวิทย์ รัตนพันธ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่าร่วมกับผลิตภาพสีเขียว โดยเริ่มต้นจากการทวนสอบการดำเนินการตลอดห่วงโซ่อุปทานยางล้อรถยนต์ด้วยหลักการ material flow analysis เพื่อระบุสมดุลมวลของการดำเนินงาน จากนั้นจึงคัดเลือกประเด็นทางด้านเศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และ สังคม เพื่อระบุและพัฒนาเป็นตัวชี้วัดผลิตภาพสีเขียวห่วงโซ่อุปทานสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยด้วยการทวนสอบร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วจึงกำหนดเป็นแบบสอบถามตามตัวชี้วัดผลิตภาพสีเขียวตลอดห่วงโซ่อุปทานสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยที่ได้รับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมในคน มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณที่เป็นตัวแทนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทย แล้วนำผลที่ได้จากการเก็บรวบข้อมูลไปประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมห่วงโซ่อุปทานสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยเพื่อนำไปใช้ในการร่วมในการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่าร่วมกับผลิตภาพสีเขียวเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตห่วงโซ่อุปทานสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยในระยะที่ 2 ต่อไป ผลจากการศึกษา พบว่า จากผลการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทย โดยเปรียบเทียบผลในแต่ละหน่วยของกระบวนการผลิต คือ อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ ยางก้นถ้วย น้ำยางสด และ ยางแผ่น อุตสาหกรรมกลางน้ำ ได้แก่ ยางแท่ง STR5L, ยางแท่ง STR 20 และ ยางแผ่นรมควัน และ อุตสาหกรรมปลายน้ำ ได้แก่ ยางล้อรถยนต์ ยางรีเคลม และ กระบวนการ Pyrolysis โดยประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดกรดใน การเกิดภาวะก่อตัวของฝุ่นละอองหมอกควัน(Particulate matter formation) การลดลงของน้ำอุปโภคบริโภค และ การลดลงของฟอสซิล พบว่า การผลิตยางแผ่นรมควันเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูงสุด และการผลิตยางแท่ง STR20 เกิดการลดลงของน้ำอุปโภคบริโภคสูงสุด ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อพิจารณาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วยการ normalization พบว่า การเกิดผลกระทบในการลดลงของฟอสซิลสูงสุดและรองลงมาก็การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ในส่วนของผลกระทบทางสังคมตลอดห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยางรถยยนต์ของประเทศไทย พบว่า การผลิตยางแผ่นและการทำยางแผ่นรมควันจะมีผลกระทบทางเศรษฐสังคมสูงที่สุด ดังนั้นผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิการผลิตด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่าร่วมกับผลิตภาพสีเขียวในลำดับถัดไปของการศึกษา
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research program was to enhance the efficiency of production for sustainable supply chain of tire industry by value chain analysis and green productivity. Firstly, the verification process with the operation of tire supply chain was conducted by material flow analysis for identifying the mass balance operation. Then, the economic, environmental and social aspects of tire supply chain were selected for developing the green productivity indicator of Thai tire supply chain by the expert verification. Next, the questionnaire based on the green productivity indicator was developed and approved by the ethical committee of Mahidol University. The performance of Thai tire supply chain was collected for assessing the environmental and social impact. For the next step of study, the value chain analysis with green productivity was used to enhance the production of Thai tire supply chain. The result showed that the data collection for environmental and social impact in Thai tire supply chain consisted of upstream industry including cup lump, fresh latex and fresh latex, midstream industry including Block STR5L, Block STR 20 and smoked sheet, and downstream industry including tire, retread tire and pyrolysis processes. The environmental impact assessments in this study were climate change, terrestrial acidification, particulate matter formation, water depletion and fossil depletion and were analyzed by Simapro software. The result identified that the highest climate change and water depletion were found in smoke sheet and STR 20 productions, respectively. In additional, the normalization of environmental impact presented that the first and second rage of environmental impacts were fossil depletion and climate change. For social impact assessment of Thai tire supply chain, the sheet and smoke sheet production were the high social impact. Hence, these finding were used to identify the enhancing approach of production by value chain analysis and green productivity in the next step.
ชื่อแหล่งทุน: T2560003 ทุนวิจัยมุ่งเป้า ปีงบประมาณ 2560 ยางพารา
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: RDG60T0147
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
2562
การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวระบบผลิตยางพาราขั้นต้นและขั้นกลางสำหรับอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ของประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า การเพิ่มผลิตภาพสีเขียวเพื่อกระบวนการผลิตยางล้อรถยนต์และการจัดการยางล้อรถยนต์ใช้แล้วของประเทศไทยอย่างยั่งยืนด้วยการวิเคราะห์สายธารแห่งคุณค่า สี การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการประหยัดพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรม โครงการศึกษาสถานภาพการใช้เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชันสำหรับ ผลิตความร้อนและไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรม ชุมชน หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็กของประเทศไทย อุตสาหกรรมอาหารไทย ปลอดภัยเชื่อถือได้ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เปรี้ยวแดง (Begonia alicida C. B. Clarke) อย่างยั่งยืน การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยางพาราไทย การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาข้าวโพดไร่สีม่วง เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก