สืบค้นงานวิจัย
การหมักต้นและเศษเหลือของข้าวโพดฝักอ่อนเสริมด้วยใบกระถิน โดยใช้ถุงหมักเพื่อใช้เป็นอาหารโคนม
สายขิม แสงโชติ - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การหมักต้นและเศษเหลือของข้าวโพดฝักอ่อนเสริมด้วยใบกระถิน โดยใช้ถุงหมักเพื่อใช้เป็นอาหารโคนม
ชื่อเรื่อง (EN): Rational Mixing Baby CornWaste and Leucaena Leaves Bag Silage as Dairy Cattle Feed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สายขิม แสงโชติ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นวลมณี กาญจนพิบูลย์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: คุณค่าทางโภชนะของต้นและเศษเหลือข้าวโพดฝักอ่อนหมัก ที่ผสมด้วยใบกระถินอัตรา 10, 20 เปอร์เซ็นต์ และใบกระถิน 20 เปอร์เซ็นต์เสริมด้วยมันเส้น 3 เปอร์เซ็นต์ (สูตรที่ 2, 3 และ 4) เปรียบเทียบกับต้นและเศษเหลือข้าวโพดฝักอ่อนอย่างเดียว (สูตรที่ 1) จากการหมักในถุงพลาสติกขนาดบรรจุประมาณ 20 –25 กิโลกรัม ทำการตรวจสอบคุณภาพ และนำไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะ หลังจากหมักได้ 30 วัน ผลปรากกว่า พืชหมักทั้ง 4 สูตร จัดอยู่ในลักษณะของพืชหมักที่ดี ทั้งสี กลิ่น ปริมาณกรดและมีส่วนของพืชหมักที่เสียบริเวณปากถุงประมาณ 2 – 5 เปอร์เซ็นต์ โดยสูตรที่ 1, 2, 3 และ 4 มีค่า pH เป็น 3.5, 3.8, 4.1 และ 4.2 กรดแลกติค เป็น 1.17, 1.08, 0.95 และ 1.07 เปอร์เซ็นต์ กรดอะซิติค เป็น 0.26, 0.32, 0.46 และ 0.50 เปอร์เซ็นต์ส่วนกรดบิวทีริคเป็น 0.09, 0.15 และ 0.11 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี พบว่า การผสมในกระถิน 20 เปอร์เซ็นต์ในสูตรที่ 3 และ 4 ให้คุณค่าทางอาหารสูงโดยสูตรที่ 3 มีค่าวัตถุแห้งโปรตีนรวม ไขมัน เยื่อใยรวม เถ้า และไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรด 36.12, 18.32,3.19, 21.41, 9.45 และ 44.35 เปอร์เซ็นต์ สูตรที่ 4 มีค่า 38.48, 17.50,2.82, 20.69, 9.18 และ 45.20 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สูตรที่ 1 มีค่าเป็น 25.55, 8.14, 1.06, 28.54, 8.79 และ 48.98 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับเช่นเดียวกับค่าพลังงานในสูตรที่ 3 และ 4 มีค่า 4.43 และ 4.37 กิโลแคลลอรี่ต่อกรัมขณะที่สูตรที่ 1 มีค่า 4.1 กิโลแคลลอรี่ต่อกรัม ส่วนค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง(% IVDMD) ทั้ง 4 สูตร มีค่าไม่แตกต่างกัน สำหรับความน่ากินเมื่อทดสอบกับโคนม ปรากฏว่า มีปริมาณการกินใกล้เคียงกัน
บทคัดย่อ (EN): Babycornstem and waste (treatment 1), baby corn stem and waste supplement with 10,20% of dry leucaena leaves (treatment 2, 3) and baby corn stem and waste supplemented with 20 % of dry leucaena leaves plus 3% of cassavea chips (treatment 4) were comparing on their nutritive value after 30days of ensiling in pkastic bags (20 – 25 kg./bag). They retained a characteristic of good quality silage in their color, favor and acidity. The spoilage portion in the bag was about 2 –5 % Treatment 1,2,3 and 4 bad a pH at 3.5, 3.8, 4.1 and 4.2; lactic acid at 1.17, 1.08, 0.95 and 1.07% ; acetic acid at 0.26, 0.32, 0.48 and 0.50 % ; hutyric acid at 0.09,0.09, 0.15 and 0.11% respectively. On the chemical composition,supplemented with leucaena leaves at 20% in treatment 3 and 4 obtained rather high nutritive value. Treatment 3 had dry matter, protein,fat, fober, ash nitrogen free axtract at 36.12, 18.32,3.19,21.41,9.45 and 44.35% as treatment 4 had 38.48,17.50,2.82, 20.69, 9.18 and 45.20% whereas trearment 1 had 25.55 , 8.14, 1.06, 28.54, 8.79 and 48.98% respectively. Gross energy in treatment 3 and 4 was 4.43 and 4.37 kg.cal./gm. Whereas tretment 1 was 4.1 kg.cal./gm. Digestibility of dry matter (% IVDMD) of these silages had no difference (P<0.05) and palatibility was also similar. On the chemical composition, supplemented with leucaena leaves at 20 % in tretment 3 and 4 obtained rather high nutritive value. Treatment 3 had dry matter, protein,fat, fober, ash and nitrogen free extract at 36.12, 18.32, 3.19, 21.41, 9.45 and 44.35 % as treatment 4 had 38.48, 17.50, 2.82, 20.69, 9.18 and 45.20 % whereas treatment 1 had 25.55, 8.14, 1.05, 28.54, 8.79 and 48.98 % respectively.Grass energy in treatment 3 and 4 was 4.43 and 4.37 kg.cal./gm. Whereas treatment 1 was 4.1 kg.cal./gm. Digestibility of dry matter (% IVDMD) of these silages had no difference (P<0.05) and palatibility was also similar.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2535
เอกสารแนบ: http://nutrition.dld.go.th/Research%20Report53-55/Research_Knowlage/LIBRARY/LIBRARY3_2535.htm
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การหมักต้นและเศษเหลือของข้าวโพดฝักอ่อนเสริมด้วยใบกระถิน โดยใช้ถุงหมักเพื่อใช้เป็นอาหารโคนม
กองอาหารสัตว์
2535
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมปศุสัตว์
ศึกษาวิธีปลูกข้าวโพดฝักสดหลังการปลูกข้าวและผลตอบแทน วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด เทคนิคการเลี้ยงโคนมทดแทน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน การจัดการอาหารโคนมเพศเมียระยะหลังคลอดถึงตั้งท้อง ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งของข้าวโพดฝักอ่อนจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก