สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด
ภัทรานิษฐ์ ช่วยสระน้อย, นิภาพร ศรีบัณฑิต, พรทิวา คล้ายเดช - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด
ชื่อเรื่อง (EN): The growth of salt tolerant perennials later developed in Lum - Sa -Tud Bason.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ดินเค็ม
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด ดำเนินการในแปลงนาเกษตรกร ในพื้นที่ดินเค็มน้อย ดินเค็มปานกลาง และดินเค็มจัด ตำบลกุดจอก อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนกันยายน 2558 - เดือนกันยายน 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มในพื้นที่ดินเค็มน้อย เค็มปานกลาง และพื้นที่ดินเค็มจัด 2) การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 6 ตำรับทดลอง 3 ซ้ำ ได้แก่ ตำรับที่ 1) ดินเค็มน้อย+ ยูคาลิปตัส ตำรับที่ 2) ดินเค็มน้อย+ยูคาลิปตัส+ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ ตำรับที่ 3) ดินเค็มปานกลาง+กระถินออสเตรเลีย ตำรับที่ 4) ดินเค็มปานกลาง+กระถินออสเตรเลีย+ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ ตำรับที่ 5) ดินเค็มจัด+กระถินออสเตรเลีย ตำรับที่ 6) ดินเค็มจัด+กระถินออสเตรเลีย+ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมบัติทางเคมีของดินหลังการทดลอง pH ของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยทุกตำรับทดลอง ในขณะที่ค่าการนำไฟฟ้ามีค่าลดลงเล็กน้อยทุกตำรับทดลอง 2) การปลูกยูคาลิปตัสพันธุ์ H4 บนคันนาในพื้นที่ดินเค็มน้อย สามารถเจริญเติบโตทั้งทางด้านความสูงและขนาดของเส้นรอบวงได้ดีกว่าการปลูกกระถินออสเตรเลียบนคันนาในพื้นที่ดินเค็มปานกลางและดินเค็มจัด โดยตำรับที่ 2 ดินเค็มน้อย+ยูคาลิปตัส+ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ไร่ละ 10 กิโลกรัม มีความสูงต้น และขนาดของเส้นรอบวงมากที่สุดเท่ากับ 333.0 และ 7.03 เซนติเมตร ตามลำดับ 3) ความคิดเห็นและความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็มบนคันนา เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 46.6) มีความพึงพอใจการปลูกยูคาลิปตัสบนคันนาในพื้นที่ดินเค็มน้อย
บทคัดย่อ (EN): The study on the growth of salty tree perennial after the development of saline soils in Lam Sa Taed watershed. Farmers in the field in less saline soil, Salty soil and saline soil at Kudjok district Bouyai sub-district Nakhonratchasima Province during September 2015 – September 2017 in the aim 1) study the growth of salty tree perennial in in less saline soil, Salty soil and saline soil 2) study the changing of chemical properties of soil before and after experiment. plot design randomized complete block design(RCBD) 6 samples 3 times are the form 1 )less saline soil+Eucalyptus. The form 2) less saline soil+Eucalyptus+ chemical fertilizer 15-15-15 rate 10 kg/rai. The form 3) salty soil+Acacia. The form 4) salty soil+Acacia+ chemical fertilizer 15-15-15 rate 10 kg/rai. The form 5) saline soil+Acacia. The form 6) saline soil+Acacia+ chemical fertilizer 15-15-15 rate 10 kg/rai. The study found 1) Soil chemistry after soil pH experiment the organic matter in the soil useful phosphorus and potassium exchange. There was less increase in all of experiment in same time, the electrical conductivity decreased slightly. 2) Height, width of the shrub and the circumference at the aged 12 months, 15 months and 18 months were the statistically significant differences. In the less saline soil form 2) less saline soil+eucalyptus+ chemical fertilizer 15-15-15 rate 10 kg/rai. had the height, and the circumference was 333.0, and 7.03 cm, respectively. 3) Opinions and satisfaction of farmers on the planting of perennial salt tolerant trees. Most of the farmers (46.6%) were satisfied with the cultivation of eucalyptus in saline soil.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2560
การศึกษาพลวัตความเค็มของดินและน้ำกับการเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดการดินในหลุมปลูกด้วยวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ผลในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของ Kochia (Kochia indica) และการใช้ประโยชน์ Kochiaเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม ผลของการใช้จุลินทรีย์ชอบเค็มต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม การใช้ยิปซั่ม ซิลิคอน และปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกรร่วมกับผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ คัดแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ไรโซเบียมทนเค็มเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพของโสน อัฟริกันที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ดินเค็ม การประเมินความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ดินเค็ม การใช้โสนอัฟริกันร่วมกับปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตข้าวเจ้าพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีบางประการของดินและน้ำภายหลังการจัดการดินด้วยวิธีการทางวิศวกรรมในพื้นที่ดินเค็มจัด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก