สืบค้นงานวิจัย
ผลของฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer,Bloch, 1970)
จำเริญศรี ถาวรสุวรรณ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer,Bloch, 1970)
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Fah Talai Joan (Andrographis paniculata) on Non-specific Immune Response and Bacterial Disease Resistance in Seabass; Lates calcarifer, Bloch (1790)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จำเริญศรี ถาวรสุวรรณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jumroensri Thawonsuwan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Pornratt Sookprasert
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปลากะรัง (Epinephelus sp.) เป็นปลาทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว สามารถปรับตัวอยู่ได้ทั้งในแหล่งน้ำกร่อย และน้ำเค็ม เนื้อมีรสชาติดี ราคาแพง โดยส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในกระชัง การขยายพื้นที่และจำนวนการเลี้ยงสัตว์น้ำที่มากขึ้นในปัจจุบันมีแนว โน้มก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมบริเวณแหล่งเลี้ยง อาจทำให้ปลาเกิดความเครียด (stress) ส่งผลให้ปลาอ่อนแอ ติดเชื้อก่อโรคได้ง่าย (พรเลิศ, 2537) โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Streptococcus sp. และ Vibrio sp. การแก้ปัญหาโรคติดเชื้อแบคทีเรียโดยทั่วไปผู้ประกอบการนิยมใช้สารเคมีและสารปฏิชีวนะในการรักษาและควบคุมโรค อย่างไรก็ตามปัจจุบันการใช้ยาปฏิชีวนะมีข้อจำกัดหลายประการ เช่นเชื้อบางชนิดไม่สามารถใช้ยาได้ผลเนื่องจากเชื้อมีการดื้อยา ประกอบกับชนิดยาที่อนุญาตให้ใช้มีจำกัด ยิ่งไปกว่านั้นจากการที่สหภาพยุโรปได้กำหนดมาตรการควบคุมห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะต้องห้ามเช่น ไนโตรฟูแรน คลอแรมเฟนิคอล มาลาไคล์กรีน และอื่นๆ เนื่องจากสารเหล่านี้มีมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสลายตัวได้ช้าทำให้ผู้ประกอบการต้องการแนวทางอื่นในการรักษาโรคแทนการใช้ยาปฏิชีวนะดังนั้นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะคือการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการป้องกัน รักษา และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ปลาต่อสู้กับเชื้อโรคได้มากขึ้น ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งมีสรรพคุณในการฆ่าแบคทีเรียโดยปริมาณสารสกัดฟ้าทะลายโจร 5 mg/ml สามารถฆ่าเชื้อ Streptococcus ที่เป็นเชื้อแบคทีเรียในปลาได้ (Direkbusarakom et al., 1998) และจากการศึกษาของ Rattanachaikunsopon and Phumkhachorn (2009) พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีผลต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus agalactiae ในปลานิลได้ดี นอกจากนี้ฟ้าทะลายโจรยังมีผลในการเพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันได้ด้วยเช่นกัน ดังรายงานของชฎาธารและคณะ (2550) ซึ่งพบปลาทองที่ได้รับอาหารผสมฟ้าทะลายโจรมีค่าการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น ดังนั้นการนำเอาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาประยุกต์ใช้สำหรับทดแทนสารเคมีและสารปฏิชีวนะสำหรับการเลี้ยงปลากะรังและสัตว์น้ำกร่อยอื่นๆ น่าจะเป็นแนว ทางหนึ่งของการรักษาโรคและยังเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความต้านทานโรค ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ปลากะรังที่ได้จากการเลี้ยงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และลดการตกค้างของสารต้องห้ามในแหล่งแวด ล้อมที่เลี้ยง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพผู้ประกอบการสามารถทำเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้ยั่งยืนตลอดไป
บทคัดย่อ (EN): (being processed)
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 160,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-03-31
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อการทำงานของภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer,Bloch, 1970)
กรมประมง
31 มีนาคม 2555
กรมประมง
ผลของสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อการ เจริญเติบโต การรอดตาย และระบบภูมิคุ้มกัน แบบไม่จำเพาะเจาะจงของ กุ้งขาวแวนนาไม(Litopenaeus vannamei) และความต้านทานต่อเชื้อ Vibrio spp. ผลของอาหารสำเร็จรูปผสมผงฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Nees) ต่อการแสดงออกของยีนในระบบภูมิคุ้มกันและอัตรารอดหลังได้รับเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ผลของขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อการตอบสนองภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง ผลของขมิ้นชัน (Curcumin longa L.) ที่เสริมในอาหารต่อภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะและความต้านทานเชื้อแบคทีเรียในปลากะรัง ผลของสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรต่อระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อสเตรปโตคอคคัสในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง ผลของสารสกัดหยาบขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจรต่อระบบภูมิคุ้มกัน และการเจริญเติบโตของปลาคาร์ป ศึกษาการตอบสนองภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะของปลากะรังเสือ (Epinephelus fuscoguttatus Forsskal, 1775)) ผลของเบต้ากลูแคนต่อองค์ประกอบเลือด ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานโรคสเตรปโตคอคคัสในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ผลของสารสกัดหยาบขมิ้นชันและฟ้าทะลายโจรต่อระบบภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตของปลาคาร์ป การตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของน้ำเลือดปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) หลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก