สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกสายพันธุ์และการศึกษาเพื่อจำแนกเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่สำคัญ
มานะ กาญจนเมณีเสถียร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกสายพันธุ์และการศึกษาเพื่อจำแนกเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่สำคัญ
ชื่อเรื่อง (EN): Screening and identification of Antagonistic Fungi trichoderma spp. For Inhibition of Important Plant Pathogens
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มานะ กาญจนเมณีเสถียร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Mana Kanjanamaneesathian
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การจำแนกเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. จากดินป่าและดินเกษตรกรรมในภาคใต้ของประเทศไทย ได้จำนวน 183 สายพันธุ์ และทำการคัดเลือกเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ทุกสายพันธุ์ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่สำคัญในภาคใต้ 3 ชนิด คือ เชื้อรา Phytophthora palmivora, Rhizoctonia solani และ Sclerotium rolfsii จากการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพโดยเทคนิค dual culture ในห้องปฏิบัติการพบว่าเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ในดินเกษตรกรรมพบจำนวนสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าในดินป่าและพบว่าเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. 4 สายพันธุ์และเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีลักษณะคล้าย Trichoderma spp. คือเชื้อราปฏิปักษ์ Gliocladium spp. 2 สายพันธุ์ มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญชองเชื้อราสาเหตุ โรคพืชทั้ง 3 ชนิด จากการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอกของโครงสร้างสปอร์ของเชื้อราปฏิปักษ์ทั้ง 6 ชนิด โดยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด (SEM) สามารถจำแนกและบอกชนิดของเชื้อราปฏิปักษ์ได้ 4 สายพันธ์ Trichoderma harzianum (สายพันธุ์ 0123) Trichoderma viride (สายพันธุ์ 0140) และ Gliocladium virens (สายพันธุ์ 0104 และ 0138)
บทคัดย่อ (EN): Antagonistic fungi Trichoderma spp. were isolated from forest and cultivated soils in the southern region of Thailand. One hundred eighty-three isolates of Trichoderma spp. and Trichoderma-like fungi were obtained from the soil plate technique. All isolates were toested in vitro for inhibition of mycelial growth of Phytophthora palmivora, Rhizoctonia solani and Sclerotium rolfsii. Cultivated soils were a better source of potential antagonistic fungi Trichoderma spp. than forest soils because they harbored inolates of Trichoderma spp. which wee aggressive against three species of plant pathogens. four isolates of Trichoderma spp. and two isolates of gliocladium spp. had a potential as selected biological control agents. These potential fungal antagonists were identifed using Scanning Electron Microscope (SEM) as Trichoderma harzianum (isolate no. 0123), Trichoderma viride (siolates no. 0140), and Gliocaldium virens (isolates no. 0104 and 0138) were- an unidentified species (isolate no. 0015 and no. 0173).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2543
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกสายพันธุ์และการศึกษาเพื่อจำแนกเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่สำคัญ
กรมวิชาการเกษตร
2543
เอกสารแนบ 1
การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การพัฒนาเพื่อใช้กากของสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชทางชีวภาพ การใช้เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชบางชนิดในการกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืช การสำรวจ รวบรวมและประเมินประสิทธิภาพเชื้อราในดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างต่อการควบคุม การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp. การใช้ประโยชน์จากเชื้อราในการควบคุมโรคพืช การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก