สืบค้นงานวิจัย
ความแปรปรวนของปริมาณสารแอนติออกซิแดนซ์ในใบชาที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
ปิยวรรณ มาตราช - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ความแปรปรวนของปริมาณสารแอนติออกซิแดนซ์ในใบชาที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
ชื่อเรื่อง (EN): Variation of Antioxidant in Tea Leaves Grown in Chiang Mai and Chiang Rai
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปิยวรรณ มาตราช
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Piyawan Matarach
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความแปรปรวนของสาร Epigallocatechin gallate (EGCG) ต่อพันธุ์ชา สภาพแวดล้อม และการจัดการในสภาพการปลูกชาใน 4 พื้นที่ที่เลือกในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย พบว่าปริมาณสาร EGCG ในชา ทั้ง 4 พื้นที่และแต่ละฤดูกาลมีการตอบสนองแทบไม่แตกต่างกันระหว่างพันธุ์ โดยทั่วไปปริมาณสาร EGCG ของทุกพันธุ์จะมีมากในฤดูร้อน แล้วลดลงในฤดูฝน และเพิ่มอีกครั้งหนึ่งในฤดูหนาว สำหรับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าเป็นลบระหว่างสาร EGCG กับความชื้นในใบชา ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและพิกัดความสูง ดังนั้นเมื่อ ความชื้นในใบชาเพิ่มขึ้นในฤดูฝน ค่า EGCG ลดลง ส่วนพิกัดความสูงที่เพิ่มขึ้น ค่า EGCG จะลดลง นอกจากนี้พิกัดความสูงยังมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเป็นกรดเป็นด่าง (P<0.01) และทางบวกกับอินทรีย์วัตถุในดินและธาตุไนโตรเจน (P<0.01) ส่วนความเป็นกรดเป็นด่างมีความสัมพันธ์ทางบวกกับธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโพแทสเซียมในดิน สรุปแล้วในช่วงฤดูร้อน EGCG จะมีปริมาณสูงยังส่งผลให้คุณภาพของชาดีกว่าในช่วงฤดูฝนด้วย ดังนั้น เมื่อต้องการเก็บใบชาเพื่อให้ได้ปริมาณสาร EGCG ในใบสูง ควรเก็บชาภายใต้สภาพแวดล้อมในช่วงฤดูร้อน ตามด้วย ฤดูหนาว และฤดูฝน ตามลำดับ อีกประการหนึ่งพบว่าปริมาณของสาร EGCG แปรผกผันกับความสูง
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this experiment is to study the variation of the antioxidant, Epigallocatechin gallate ( EGCG) levels in tea leaves of different tea varieties, environment and cultivation practices in four selected sites of Chiang Mai and Chiang Rai provinces. The different responses among tea varieties were slightly found under the same season but clearly found under the different seasons. A peak of EGCG substance appeared in hot season and the substances decreased in rainy season but increased again in cool season. Negative correlations were found between EGCG and the moisture of tea leaves, relative humidity of the air and elevations. Therefore, the EGCG substance will drop down when the moisture of tea leaves increased during rainy season and when the elevations increased. In addition, the elevations showed the negative correlation with pH (P≤0.01) and the pH showed the positive correlation with phosphorus and potassium levels in soil. In conclusion, high level of EGCG substance can be found in hot season and it promote the taste and quality of the tea leaves. To pluck high level of EGCG quantity and good quality of tea leaves, tea leaves must be processed during hot season, followed with cool and rainy season. Finally, EGCG substance negatively varied with elevation levels.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246467/168544
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความแปรปรวนของปริมาณสารแอนติออกซิแดนซ์ในใบชาที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
แนวทางการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ ความสามารถในการเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ของผักอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ฤทธิ์การต้านจุลชีพของสารสกัดจากใบมะกรูด การวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าของธุรกิจกล้วยไม้ตัดดอกในจังหวัดเชียงใหม่ ข้อจำกัดของการมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อย่างเพียงพอในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เครื่องสำอางลดริ้วรอยจากสารสกัดใบชาในอนุภาคระดับไมโครเมตร การวิเคราะห์ความยั่งยืนของระบบเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่: การปลูกยางพาราเป็นพืชหนึ่งในระบบ การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์และระบบการผลิตกล้วยน้ำว้าบางสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ผลของชนิดปุ๋ยอินทรีย์ และระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ต่อปริมาณสาร ฟลาโวนอยด์ ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ และ ปริมาณแคลเซียม ในชะพลู การศึกษาปริมาณสารฟินอลลิกส์ทั้งหมด สมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและสารสำคัญในสารสกัดหยาบจากหนอนตายหยาก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก