สืบค้นงานวิจัย
โครงการบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย
สุกัญญา มหาธีรานนท์ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Integrated Technology for Improvement of Production and Quality of Thai Hom Mali Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุกัญญา มหาธีรานนท์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพความหอมของข้าวหอมมะลิไทยโดย การบูรณาการเทคโนโลยีจากหลายด้าน ในส่วนแรกของโครงการวิจัยทำการศึกษาเพื่อทราบองค์ความรู้ทาง เคมีเกี่ยวกับชีวสังเคราะห์ของสารหอม 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) ซึ่งเป็นสารหอมสำคัญในข้าว โดยใช้ วิธีการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงที่พัฒนาขึ้น วิธีการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ของสารหอมและสารเมทาบอไลท์ที่เกี่ยวข้องที่พัฒนาขึ้นและได้นำมาประยุกต์ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ เทคนิค การวิเคราะห์สารหอมในใบข้าวโดยระบu headspace-gas chromatography-nitrogen-phosphorus detection (HS-GC-NPD) แบบอัตโนมัติ และเทคนิคการวิเคราะห์ด้วยระบบ gas chromatography- mass spectrometry (GC-MS) และ two dimensional gas chromatography-mass spectrometry (GCXGC-MS) ผลที่ได้จากการวิจัยคือวิถีใหม่ของการสังเคราะห์สารหอม 2AP ในใบข้าว ที่สามารถนำมา ประยุกต์เพื่อวางแผนการวิจัยต่อเนื่องในเรื่องอิทธิพลของปัจจัยการเพาะปลูกที่ส่งเสริมการสร้างสารหอม ของตั๋นข้าว นำไปสู่เป้าหมายของการผลิตข้าวหอมที่มีคุณภาพความหอมสูงเด่นได้ต่อไป ในส่วนที่สองของโครงการวิจัย ทำการวิเคราะห์เพื่อประเมินคุณภาพการหุงต้มและ รับประทานควบคู่กับปริมาณสารหอม 2AP และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ส่งผลต่อสุขภาพ เพื่อคัดเลือก สายพันธุ์ข้าวหอมคุณภาพสูงจากกลุ่มข้าวพันธุ์กลายจากการอาบรังสีที่ไม่ไวแสงจากพันธุ์ขาวดอกมะสิ 105 และ กข15 จำนวน 251 สายพันธุ์ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ทำการวิเคราะห์ ได้แก่ สารหอม 2AP วิตามิน อี่ (tocopherols และ tocotrienols) แกมม่าออริซานอล และวิตามินบี 6 (สารต้านปฏิกิริยาไกลเคชั่น) โดยใช้เทคนิค HS-GC-NPD และ liquid chromatography (HPLC) ที่มีตัวตรวจวัดเป็นฟลูออเรสเซนช์ และยูวีวิซิเบิลตามลำดับ พบว่าปริมาณของสารดังกล่าวมีความแปรปรวนค่อนข้างสูงในกลุ่มตัวอย่างข้าวที่ นำมาทดสอบ โดยปริมาณสารหอม 2AP ในตัวอย่างข้าวพันธุ์กลายจากการอาบรังสีจำนวน 251 สายพันธุ์ ที่เก็บเกี่ยวในฤดูนาปีอยู่ในช่วง 0.60-5.07 ppm และฤดูนาปรังอยู่ในช่วง 0.37-9.66 ppm เมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยของปริมาณสารหอม 2AP ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในฤดูนาปี (4.75 ppm) พบข้าว พันธุ์กลายจำนวน 6 สายพันธุ์ที่มีปริมาณสารหอมในระดับเทียบเคียงกันได้หรือสูงกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และในข้าวพันธุ์กลายที่มีความหอมสูงทั้ง 6 สายพันธุ์นี้ มีจำนวน 4 สายพันธุ์ที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ ด้านสุขภาพกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งข้างต้นในระดับสูงเด่นเช่นกัน เนื่องจากข้าวสายพันธุ์กลายจากการอาบรังสี ทั้งหมดที่นำมาศึกษานี้มีลักษณะไมไวแสง ดังนั้นข้าวพันธุ์กลายทั้ง 4 สายพันธุ์นี้จึงมีศักยภาพในการพัฒนา เป็นข้าวหอมมะลิใหม่คุณภาพดีได้ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): This research project had been prepared in order to improve the aroma quality of Thai Hom Mali rice which was accomplished by integrated technologies from a number of research areas. Firstly, a study that focused on the biosynthesis pathway of the rice impact aroma compound, 2-acetyl-1-pyrroline (2AP), had been investigated by utilizing a desiened set of effective analytical instrumental methods that had been developed in this research. The developed analytical methods for determination of the rice impact aroma compound and identification of its metabolites applied in this research were an automated headspace-gas chromatography-nitrogen-phosphorus detection (HS- GC-NPD) system and gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) in conjunction with two dimensional gas chromatoeraphy-mass spectrometry (GCxGC-MS), respectively. Thus, the main outcome of this research part was the newly proposed biosynthesis pathway of the rice aroma compound, 2AP, in rice leaves. This knowledge obtained can be utilized for management of agricultural system most appropriate for enhancement of the rice aroma compound in order to yield fragrant rice product with prominently high aroma quality. Secondly, the evaluation of cooking and eating quality as well as the determination of an aroma compound including those bioactive compounds that provide good benefits to human health had been performed in order to select some potentially high-quality mutants of aromatic rice from a set of 251 gamma ray and fast neutron induced mutants of Khao Dawk Mali 105 and RD 15. This selection was based on the contents of an aroma compound, 2AP, vitamin E (tocopherols and tocotrienols), gamma- oryzanols and vitamin B6 (anti-glycation agent), which were determined by the techniques employing automated HS-GC-NPD and liquid chromatography (HPLC) with fluorescene and ultraviolet-visible detectors, respectively. The rather high variations were found for the contents of these compounds among the set of irradiated mutants and also between those grown in- and off seasoned planting periods. Between these different planting periods, 2AP contents were found in the range of 0.37-4.66 and 0.60-5.07 ppm, respectively. By comparing with the average 24P content of the control Khao Dawk Mali 105 rice grown in the same area (4.75 ppm), it revealed 6 mutants with comparatively high aroma quality. Amone these highly aromatic mutants, 4 of them contained the distinctive amounts of at least one of those bioactive compounds. Together with the non-photoperiod sensitive character, therefore, these 4 potential mutants would have made the promising mutants of aromatic rice ready to be developed futher for the new high-quality fragrant rice cultivars.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-04-28
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-04-27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
27 เมษายน 2556
บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง การทดสอบผลผลิตของพันธุ์ข้าวตามระดับความเหมาะสมของดิน ในเขตจังหวัดราชบุรี ผลการรณรงค์เพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพดี ปี 2540 การใช้เทคโนโลยีในการเพาะปลูกข้าวของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการเร่งรัดการผลิตและปรับปรุงคุณภาพข้าวหอมมะลิ ปี 2541 ในจังหวัดบุรีรัมย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก