สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพการให้ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และสหสัมพันธ์ของ องค์ประกอบผลผลิตกับผลผลิตของมันเทศ 5 พันธุ์
รัตนจิรา รัตนประเสริฐ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการให้ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และสหสัมพันธ์ของ องค์ประกอบผลผลิตกับผลผลิตของมันเทศ 5 พันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Yield potential, yield components and correlation between yield components and yield of 5 sweet potato varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนจิรา รัตนประเสริฐ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ruttanachira Ruttanaprasert
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: มันเทศเป็นพืชหัวที่ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ทั่วประเทศไทย ในแต่ละพื้นที่ใช้พันธุ์ปลูกที่แตกต่างกัน และยังไม่มีข้อมูลการทดสอบผลผลิตมันเทศในจังหวัดสุรินทร์มาก่อนดังนั้นการ ศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลผลิตองค์ประกอบผลผลิต และหาสหสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบผลผลิตและ ผลผลิตของมันเทศ 5 พันธุ์ภายใต้สภาพการเพาะปลูกในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ วางแผน การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อกจำนวน 3 ซ้ำ ทดสอบมันเทศจำนวน 5 พัน ได้แก่ พันธุ์ พจ. 65-3 พันธุ์ T101 พันธุ์ พจ. 265-1 พันธุ์ พจ. 166-5 และพันธุ์ PROC NO.65-16 และหาสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะองค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของมันเทศ พบว่า มันเทศทั้ง 5 พันธุ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของลักษณะความยาวเถา น้ำหนักหัวสด น้ำหนักหัวแห้ง และน้ำหนักแห้งรวม พันธุ์ พจ. 65-3 เป็นพันธุ์ที่มีความยาวเถาสูงสุดคือ 210 ซม.ที่อายุเก็บ เกี่ยว ขณะที่พันธุ์ PROC NO.65-16 เป็นพันธุ์ที่มีหัวกว้างที่สุดคือ 8.1 ซม. และให้ผลผลิตหัวสดสูงสุด คือ 10,027 กก./ไร มี จำนวนหัวต่อต้น 9.3 หัว ค่าดัชนีเก็บเกี่ยวสูงสุดคือ 0.76 รองลงมาคือ พันธุ์ T101 (6,869 กก./ไร่), พันธุ์ พจ. 265-1 (5,632 กก./ไร่) พันธุ์ พจ. 166-5 (3,499 กก./ไร่) ตามลำดับ ส่วนพันธุ์ พจ. 65-3 ไม่สามารถเก็บผลผลิต และพบสหสัมพันธ์เชิง ลบระหว่างความยาวของเถากับผลผลิตมันทศ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง -0.59 ถึง -0.68 พบสหสัมพันธ์ เชิงบวกระหว่างลักษณะความกว้างของหัว จำนวนหัวต่อต้น และดัชนีเก็บเกี่ยวต่อลักษณะผลผลิตทุกลักษณะ โดยมี ค่าสัมประสิทธิ์หสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.73 ถึง 0.90 จากข้อมูลนี้เป็นประโยชน์กับนักวิจัยหรือนักปรับปรุงพันธุ์พืซเพื่อใช้ ลักษณะความยาวของเถา ความกว้างของหัว จำนวนหัวต่อต้น และดัชนีเก็บเกี่ยว เป็นลักษณะที่ใช้คัดเลือกพันธุ์มันเทศที่มี ผลผลิตสูงได้ในอนาคต และพันธุ์มันเทศ PROC NO.65-16 เป็นพันธุ์แนะนำให้แก่กษตรกรจังหวัดสุรินทร์เพาะปลูกต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Sweet potato is grown successfully and profitably in the Thailand. However, sweet potato varieties may respond differently to environmental factors. The information of yield potential of sweet potato under Surin province area is still lacking. The objective of this study was to investigate yield potential, yield component and correlation between yield component and yield of five sweet potato varieties at the Agronomy Field, Department of Agronomy, Rajamangala University of Technology Isan, Surin Campus. The experimental design was randomized complete block design (RCBD) with three replications. The treatment was five sweet potato varieties including PJ 65-3, T101, PJ 265-1, PJ 166-5 and PROC NO.65-16. The result showed that vine length, tuber fresh weight, tuber dry weight and total dry weight of sweet potato was significantly affected by sweet potato varieties. The highest of vine length of 210 cm was found in PJ 65-3 at harvest date. PROC NO.65-16 variety had the widest size of tuber of 8.1 cm and gave highest tuber fresh weight (10,027 kg/rai), number of tuber per plant (9.3 tuber/plant) and harvest index (0.76). T101, PJ265-1, PJ166-5 had the lower tuber fresh weight of 6,869, 5,632 kg/rai and 3,499 kg/rai, respectively. PJ 65-3 could not produce tuber yield. In addition, vine length was negatively correlated to tuber fresh weight, tuber dry weight and total dry weight (-0.59 to -0.68). The tuber wide, number of tuber per plant and harvest index were positively correlated to all yield traits (0.73 to 0.90). Therefore, the traits of vine length, tuber wide, number of tuber per plant and harvest index could be the criteria trait for selection in sweet potato breeding program for high production. PROC NO.65-16 is the recommended varieties for Surin growing area.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P060 Agr05.pdf&id=2771&keeptrack=19
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพการให้ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และสหสัมพันธ์ของ องค์ประกอบผลผลิตกับผลผลิตของมันเทศ 5 พันธุ์
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของพริก 35 พันธุ์ ศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตแตงกวา 4 สายพันธุ์ ผลของการประหยัดน้ำต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และคุณภาพเมล็ดข้าว ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้โรงงานน้ำตาลต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตของอ้อยและสมบัติบางประการของดิน สมรรถนะในการผสมพันธุ์เพื่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตระหว่างข้าวไร่และข้าวนาสวน อิทธิพลของระยะปลูกต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว 3 พันธุ์ภายใต้ระบบการปลูกแบบประณีต ศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวเหนียว 4 พันธุ์ การศึกษาการพยากรณ์ผลผลิตลำไยโดยแบบจำลองผลผลิตในจังหวัดเชียงใหม่ ผลของชนิดปุ๋ยอินทรีย์ ต่อผลผลิต และองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ผลของการใช้ใบกระถินทดแทนอาหารข้นต่อองค์ประกอบผลผลิตโคนม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก