สืบค้นงานวิจัย
การบริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กรณีศึกษา: โครงการ “หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ย” ในจังหวัดอุบลราชธานี
ทวีศักดิ์ วิยะชัย - มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ชื่อเรื่อง: การบริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กรณีศึกษา: โครงการ “หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ย” ในจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่อง (EN): Organic Fertilizer Plant Management: A case study “One District-One Fertilizer Plant” Project in Ubonratchathani Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีศักดิ์ วิยะชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 4 กลุ่มของจังหวัดอุบลราชธานี การเก็บข้อมูลประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การตรวจเอกสารและการประชุมกลุ่มย่อย ในด้านการจัดการ การผลิต การตลาด การเงิน และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น เพื่อประเมินศักยภาพในการดำเนินงานของโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์แต่ละแห่ง จากการวิจัยสรุปได้ว่ากลุ่มเกษตรกรที่บริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่มีการจัดโครงสร้างองค์กรแบบอย่างง่าย มีผู้นำกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการบริหารมาก่อน โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทุกแห่งตั้งอยู่ห่างจากชุมชนไม่เกิน 1 กิโลเมตร มีระบบสาธารณูปโภคสำหรับใช้ในการผลิตครบถ้วน ด้านการผลิตพบว่า โรงงานงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั้ง 3 แห่ง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงตามสูตรของวว. ยกเว้นโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์อำเภอม่วงสามสิบที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยสูตรของตนเอง ซึ่งปุ๋ยจากโรงงานทุกแห่ง มีคุณสมบัติต่ำกว่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน นอกจากนี้ปัญหาสำคัญในการผลิตปุ๋ยของทุกกลุ่มคือ เครื่องจักรขัดข้อง ด้านการตลาด ทุกกลุ่มมีแนวทางการตั้งราคาปุ๋ยแบบเดียวกัน คือ คำนวณจากต้นทุนการผลิตบวกกำไรที่ต้องการ ส่วนการจัดจำหน่ายมีสองรูปแบบคือ จำหน่ายโดยตรงที่หน้าโรงงานและจำหน่ายทางอ้อมโดยผ่านสมาชิก กรรมการหรือสหกรณ์ สำหรับด้านเงินทุนที่แต่ละกลุ่มนำมาใช้ในการดำเนินงานส่วนใหญ่ได้มาจากการลงหุ้นของสมาชิก โดยต้นทุนหลักในการผลิตปุ๋ย คือ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่ มูลสัตว์ และแม่ปุ๋ย จากการประเมิน ศักยภาพในภาพรวม พบว่า กลุ่มเกษตรกรทำนากุดประทาย อำเภอเดชอุดม เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพด้านการบริหารงานสูงที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองและเกษตรอินทรีย์ อำเภอตระการพืชผล และกลุ่มเกษตรปุ๋ยอินทรีย์ตำบลยางสักกะโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ ส่วนกลุ่มศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดข้าวชุมชนตำบลคำหว้า อำเภอตาลสุม มีศักยภาพด้านการบริหารต่ำที่สุด กล่าวโดยสรุปรัฐบาลจึงควรให้การสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานของโรงปุ๋ยอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ (EN): This research objects to study management of the four-fertilizer plants in Ubon Ratchathani province supported from Thailand Institute of Scientific and Technological Research in 2006. In-depth Interview, focus group meeting, observation and paper review were used as research methodologies for collecting data. The information was divided into five management functions namely management, production, marketing, finance and organization sponsors. Simply hierarchy structure has been applied to their organization managed by experienced leader. From production function, all of fertilizer plant is located near the communities so that it is very easily to get access to infrastructures. As the laboratory results, all of the fertilizer produced by each plant was rejected because it was not meet the quality as organic fertilizer standard setting which referenced by Land Development Department. Amphoe Muang Samsip is only one formulated their own formula in production. However, the manufacturers confront with out-of-order machine which is the main problem of fertilizer process. Distribution channel in marketing function consists of direct marketing and stakeholder agent while cost-plus method is applied for price setting. Furthermore, working capital is come from stockholder’s equity while organic and chemical materials are still important cost in fertilizer production. No other fertilizer plant sponsoring by Thailand Institute of Scientific and Technological Research in Ubon Ratchathani is as high performance as Amphoe Det Udom. On the other hand, Amphoe Tan Sum needed developing as soon as possible. In additional, Amphoe Trakarn Phuetphon and Amphoe Muang Sam Sip are ranked respectively. In conclusion, supporting and monitoring process by government should be continued in order to sustainable communities.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กรณีศึกษา: โครงการ “หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงปุ๋ย” ในจังหวัดอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
30 กันยายน 2551
การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การทดสอบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีผสมผสานกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในนาราษฎร์ จังหวัดอุบลราชธานี การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับพืชปุ๋ยสดในพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดินทุ่งหมาหิว จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในการผลิตข้าว กรณีศึกษา: เกษตรกรที่เข้าร่วมยุทธศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร ปี 2547 การตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์เทศบาลของข้าวเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีในดินทรายร่วน ในนาราษฎร์ท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี การปฎิบัติงานในบทบาทหน้าที่คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในอำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาแนวทางการบริหารการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อย่างครบวงจร การศึกษาการใช้ส่าเหล้าร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตข้าว ในจังหวัดอุบลราชธานี อิทธิพลของปุ๋ยพืชสดต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดในเขตจังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก