สืบค้นงานวิจัย
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล) ในจังหวัดภาคกลางที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย
ศักดิ์ศิลป์ โชติสกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล) ในจังหวัดภาคกลางที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศักดิ์ศิลป์ โชติสกุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนาการเกษตรจะได้รับผลสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายเพียงใดนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบายที่รัดกุมถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับการนำนโยบายแปรเป็นวิธีการ และการปฏิบัติให้กระจายไปสู่พื้นที่หรือเกษตรกรผู้เป็นบุคคลเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้ เพื่อศึกษาถึงภูมิหลังและหน้าที่ความรับผิดชอบของเกษตรตำบล ลักษณะการปฏิบัติงานในการส่งเสริมการเกษตร แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบล ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรตำบลจำนวน 124 คน จาก 5 จังหวัด ในภาคกลาง ที่ได้ปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรมาแล้วไม่น้อยกว่า4 ปี ได้ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อหาค่ารัอยละและมัชฌิมเลขคณิต ผลการวิจัยปรากฏว่าเกษตรตำบลเกือบทั้งหมดเป็นชายอายุเฉลี่ย 30.41 ปี ส่วนมากมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในเขตภาคกลาง จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระยะเวลารับราชการในกรมส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 6.29 ปี ดำรงตำแหน่งในระดับ 3-4 เกษตรตำบลมีขอบเขตความรับผิดชอบเฉลี่ย 1.43 ตำบล 11.94 หมู่บ้าน มีครอบครัวเกษตรกร 905.93 ครอบครัว จำนวนเกษตรกรผู้นำ 84.39 คน พื้นที่ทั้งหมดเฉลี่ย 22,488.20 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 19,675.71 ไร่ มีกลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มยุวเกษตรกรกร และกลุ่มธรรมชาติอื่น ๆ อยู่ในความรับผิดชอบอย่างละ 1-2 กลุ่ม เป็นส่วนมาก พืชที่ปลูกมากได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และถั่วเขียว ตามลำดับ เกี่ยวกับลักษณะการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของเกษตรตำบลนั้นเกษตรตำบลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยี่ยมเยียนเกษตรกรที่บ้านและไร่นา และผ่านเกษตรกรผู้นำ เกษตรตำบลนำปัญหาที่แก้ไขไม่ได้เสนอในการฝึกอบรมรายปักษ์ ศึกษา และสำรวจข้อมูลจากเอกสารรายงานต่าง ๆ และสังเกตสถานการณ์ด้านการเกษตรโดยบันทึกไว้ด้วยตนเอง การประสานงานกับหน่วยงาน 4 กระทรวงหลัก โดยร่วมวางแผนปฏิบัติและประเมินผลการดำเนินงานร่วมกัน สนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือสถาบัน รายงานข่าวสารแก่เกษตรอำเภอและผู้บังคับบัญชาอื่น ๆ ให้คำแนะนำการดำเนินงานแก่คณะกรรมการสภาตำบล และกรรมการหมู่บ้าน เกษตรตำบลปลูกฝังอุดมการณ์และทัศนคติที่ถูกต้องแก่เกษตรกรให้ภูมิใจในอาชีพการเกษตรและรักถิ่นฐานบ้านช่องของตน แรงจูงใจของเกษตรตำบลเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีแรงจุงใจที่ดีในด้านความเป็นอิสระและภูมิใจในการทำงาน มีแรงจูงใจในระดับปานกลาง ด้านการได้รับการยอมรับนับถือสิ่งอำนวยความสะดวกและสวัสดิการ และความมั่นคงปลอดภัยในหน้าที่การงาน เกษตรตำบลมีแรงจุงใจต่ำในด้านโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน ปัญหาอุปสรรคของเกษตรตำบลในการปฏิบัติงาน คือ การขาดการประสานงานที่ดีทั้งในและนอกหน่วยงาน มีงานที่ต้องปฏิบัติมากเกินไป กรจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการต่าง ๆ ล่าช้าและไม่เพียงพอ และราคาผลผลิตกรรเกษตรไม่จูงใจในการส่งเสริม สำหรับข้อเสนอแนะของเกษตรตำบลในการปฏิบัติงาน คือ ควรพิจารณาจัดสรรโครงการ จัดส่งวัสดุอุปกรณ์ให้รวดเร็วและมีคุณภาพ สวัสดิการต่าง ๆ ของเกษตรตำบลควรมากกว่านี้ มีการนิเทศงานที่ดี มีการแบ่งงานและหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับต่าง ๆ ให้ชัดเจน ตลอดจนความหามาตรการด้านราคาผลผลิตด้านการเกษตร และกำหนดให้มีการประชุมร่วมมกันของหน่วยงาน 4 กระทรวงหลักเป็นประจำ สำหรับข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อกรมส่งเสริมการเกษตรดังนี้ คือ (1) ควรมีการให้ความรู้ด้านการใช้สื่อถ่ายทอดความรู้และสถิติเพื่อกรสำรวจและรวบรวมข้อมูลด้านการเกษตรแก่เกษตรตำบลมากขึ้น และควรให้ความรู้แก่เกษตรตำบลในเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลงานส่งเสริมการเกษตร (2) ควรสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลให้มากขึ้น (3) ควรปลูกฝังอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อประชาชนให้แก่เกษตรตำบลให้มากขึ้น 4) ควรแจ้งบทบาทและหน้าที่ของเกษตรตำบลให้ตัวเกษตรตำบลเองได้ทราบ และรวมไปถึงเจ้าหน้าที่หน่วยราชการอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในระดับท้องที่ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องประสานงานกับเกษตรตำบลเพื่อการพัฒนาชนบทได้ทราบและเข้าใจ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่และการประสานงานที่ดีต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2528
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2528
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคกลาง
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล (เกษตรตำบล) ในจังหวัดภาคกลางที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2528
ทัศนคติของเกษตรตำบลที่มีต่อบทบาทของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคกลาง ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายวิชาการของสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศไทย ความจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อปฏิบัติงานตามระบบพัฒนาชนบทแห่งชาติของเกษตรตำบลในภาคตะวันตกของประเทศไทย ความคิดเห็นของพนักงานส่งเสริมการเกษตรที่มีต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ของเกษตรกรตำบลอาสาสมัครในภาคกลาง ความต้องการและปัญหาในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในเขตภาคตะวันออก การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดยะลา การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดชลบุรี การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรตำบลในภาคใต้ ทัศนคติของเกษตรตำบลต่อระบบส่งเสริมการเกษตรใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก