สืบค้นงานวิจัย
สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเลบริเวณ ฝั่งทะเลอันดามัน
ทัศพล กระจ่างดารา, สิชล หอยมุข, พรอนันต์ คีรีรัตน์, นันทนา นาโคศิริ, ทัศพล กระจ่างดารา, สิชล หอยมุข, พรอนันต์ คีรีรัตน์, นันทนา นาโคศิริ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเลบริเวณ ฝั่งทะเลอันดามัน
ชื่อเรื่อง (EN): Status of marine resources in 10 nautical-mile inshore area, the Andaman Sea
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเลบริเวณฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 3 ระยะห่างฝั่งคือ 1.6-3.0 3.0-5.0 และ 5.0-10.0 ไมล์ทะเล และแบ่งพื้นที่ดังกล่าวตามเขตการสำรวจที่ 1-4 รวม 30 สถานี ทำการรวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2553 โดยอวนลากปลาหน้าดินมาตรฐานแบบเยอรมันในช่วงเวลากลางวัน ผลการศึกษาอัตราการจับเฉลี่ยและองค์ประกอบสัตว์น้ำในภาพรวมพบว่า มีอัตราการจับสัตว์น้ำทั้งหมดเฉลี่ยเท่ากับ 51.972 กก./ชม. ประกอบด้วยกลุ่มปลาหน้าดินมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มปลาเป็ด กลุ่มปลาผิวน้ำ กลุ่มปลาหมึก กลุ่มปู กลุ่มสัตว์น้ำอื่นๆ และกลุ่มกุ้ง คิดเป็นร้อยละ 59.33 19.75 10.91 8.62 0.55 0.53 และ 0.31 ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มปลาดีขนาดใหญ่ กลุ่มปลาดีเล็ก และกลุ่มปลาเป็ด เท่ากับร้อยละ 49.82 30.43 และ 19.75 ตามลำดับ โดยระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 ไมล์ทะเล มีอัตราการจับสัตว์น้ำทั้งหมดเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือระยะห่างฝั่ง 3.0-5.0 และ 5.0-10.0 ไมล์ทะเลเท่ากับ 64.220 47.751 และ 44.417 กก./ชม. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามเขตสำรวจพบว่า เขตที่ 3 มีอัตราการจับเฉลี่ยสัตว์น้ำทั้งหมดสูงสุด รองลงมาคือเขตสำรวจที่ 1 2 และ 4 เท่ากับ 77.315 55.951 47.886 และ 34.637 กก./ชม. ตามลำดับ โดยเขตสำรวจที่ 1 มีอัตราการจับสัตว์น้ำทั้งหมดเฉลี่ยสูงสุดที่ระยะห่างฝั่ง 3.0-5.0 ไมล์ทะเล รองลงมาคือระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 และ 5.0-10.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 68.780 51.325 และ 48.818 กก./ชม. ตามลำดับ เขตสำรวจที่ 2 มีอัตราการจับสัตว์น้ำทั้งหมดเฉลี่ยสูงสุดที่ระยะห่างฝั่ง 3.0-5.0 ไมล์ทะเล รองลงมาคือระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 และ 5.0-10.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 62.468 47.340 และ 33.849 กก./ชม. ตามลำดับ เขตสำรวจที่ 3 มีอัตราการจับสัตว์น้ำทั้งหมดเฉลี่ยสูงสุดที่ระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 ไมล์ทะเล รองลงมาคือระยะห่างฝั่ง 5.0-10.0 และ 3.0-5.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 156.681 53.356 และ 31.830 กก./ชม. ตามลำดับ เขตสำรวจที่ 4 มีอัตราการจับสัตว์น้ำทั้งหมดเฉลี่ยสูงสุดที่ระยะห่างฝั่ง 5.0-10.0 ไมล์ทะเล รองลงมาคือระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 และ 3.0-5.0 ไมล์ทะเล เท่ากับ 40.203 34.432 และ 29.277 กก./ชม. ตามลำดับ การแพร่กระจายองค์ประกอบสัตว์น้ำหลักประกอบด้วย กลุ่มปลาดีมีอัตราการจับเฉลี่ยสูงสุดที่สถานี 2 รองลงมาคือสถานี 4 ที่ระยะห่างฝั่ง 3.0-5.0 ไมล์ทะเล ต่ำสุดที่สถานี 8 ระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 ไมล์ทะเล โดยภาพรวมของกลุ่มปลาดีมีอัตราการจับเฉลี่ยสูงบริเวณสถานีที่ 2 3 และ 4 และพบมากที่ระยะห่างฝั่ง 3.5-5.0 ไมล์ทะเล กลุ่มปลาดีเล็กมีอัตราการจับเฉลี่ยสูงสุดที่สถานี 7 ระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 ไมล์ทะเล รองลงมาคือสถานีที่ 2 ระยะห่างฝั่ง 5.0-10.0 ไมล์ทะเล และต่ำสุดที่สถานี 5 ระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 ไมล์ทะเล โดยภาพรวมของปลาดีเล็กมีอัตราการจับเฉลี่ยสูงสุดที่ระยะห่างฝั่ง 1.63.0 ไมล์ทะเล รองลงมาคือระยะห่างฝั่ง 3.0-5.0 และ 5.0-10.0 ไมล์ทะเล ตามลำดับ กลุ่มปลาเป็ดมีอัตราการจับเฉลี่ยสูงสุดที่สถานี 7 รองลงมาคือสถานี 2 ที่ระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 ไมล์ทะเล และต่ำสุดที่สถานี 1 ระยะห่างฝั่ง 3.0-5.0 ไมล์ทะเล การเปรียบเทียบอัตราการจับเฉลี่ยกลุ่มสัตว์น้ำตามระยะห่างฝั่งในภาพรวมตลอดฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย พบว่าอัตราการจับเฉลี่ยสัตว์น้ำทั้งหมดในแต่ละระยะห่างฝั่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อพิจารณาตามกลุ่มสัตว์น้ำพบว่า กลุ่มปลาผิวน้ำ กลุ่มปลาหน้าดิน กลุ่มปลาหมึก กลุ่มกุ้ง กลุ่มสัตว์น้ำอื่นๆ และกลุ่มปลาเป็ด มีอัตราการจับเฉลี่ยในระยะห่างฝั่งต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ส่วนกลุ่มปูมีอัตราการจับเฉลี่ยช่วงระยะห่างฝั่ง 5.0-10.0 ไมล์ทะเล ต่ำกว่าระยะห่างฝั่งอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) เมื่อแยกพิจารณาเฉพาะกลุ่มปลาดีเล็กพบว่า กลุ่มปลาหน้าดิน กลุ่มปลาหมึก กลุ่มกุ้ง และกลุ่มสัตว์น้ำอื่นๆ มีอัตราการจับเฉลี่ยในแต่ละระยะห่างฝั่งไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มปลาผิวน้ำที่ระยะห่างฝั่ง 5.0-10.0 ไมล์ทะเลมีอัตราการจับเฉลี่ยน้อยกว่าระยะห่างฝั่งอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ และกลุ่มปูที่ระยะห่างฝั่ง 1.6-3.0 ไมล์ทะเล มีอัตราการจับเฉลี่ยสูงกว่าระยะห่างฝั่งอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) การศึกษาขนาดสัตว์น้ำเมื่อเปรียบเทียบกับความยาวแรกเริ่มสืบพันธุ์ (length at first mature, Lm) ของสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพบว่า ชนิดที่มีความยาวต่ำกว่า Lm ในสัดส่วนสูงในบริเวณใกล้ชายฝั่งที่ระยะ 1.6-3.0 ไมล์ทะเล และจะมีสัดส่วนลดลงในพื้นที่ห่างฝั่งมากขึ้นได้แก่ ปลาทรายแดงชนิด N. hexodon N. bipunctatus ปลาตาหวานชนิด P. tayenus ปลาปากคมชนิด S. elongata และหมึกกล้วยชนิด P. chinensis ส่วนชนิดสัตว์น้ำที่พบว่ามีสัดส่วนการแพร่กระจายขนาดเล็กที่ระยะห่างฝั่ง 5.0-10.0 ไมล์ทะเลสูงกว่าพื้นที่ใกล้ชายฝั่งคือ ปลาทรายแดงชนิด N. tolu และหมึกกล้วยชนิด P. duvauceli อย่างไรก็ตามในภาพรวมคงอธิบายได้ว่า บริเวณใกล้ชายฝั่งจะพบสัดส่วนสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าความยาวแรกเริ่มสืบพันธุ์สูงกว่าระยะที่ห่างฝั่งออกไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเลบริเวณ ฝั่งทะเลอันดามัน
กรมประมง
30 กันยายน 2554
กรมประมง
สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเล บริเวณอ่าวไทย ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากเรือสำรวจประมงในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การศึกษาความหนาแน่นและการแพร่กระจายสัตว์น้ำทางฝั่งทะเล อันดามันด้วยวิธีไฮโดรอะคูสติก สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สมุทรศาสตร์การประมงบริเวณแหล่งประมงปลาทูน่าในทะเลอันดามัน การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งโอคักทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือเบ็ดราวหน้าดินแนวตั้งบริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาปากคมชนิด Saurida undosquamis และ S. elongata ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก