สืบค้นงานวิจัย
ผลของการให้น้ำแบบประหยัดและการให้ปุ๋ยในระบบน้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่น ระยะที่ 2
สุดชล วุ้นประเสริฐ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: ผลของการให้น้ำแบบประหยัดและการให้ปุ๋ยในระบบน้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่น ระยะที่ 2
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Micro-Irrigation and Fertigation on Yield and Quality of Grapevine phase2
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุดชล วุ้นประเสริฐ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: องุ่นเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญ ได้รับความนิยมปลูกในประเทศไทยเพราะผลองุ่นมีคุณค่าทาง โภชนาการ และสามารถแปรรูปเป็นผสิตภัณฑ์อื่นได้หลายชนิด เป็นพืชที่มีศักยภาพในการให้ผลผสิต และมีมูลค่าของผลผลิตสูง ส่งผลให้มีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันยังขาดคำแนะนำ ถึงเทศโนโลยีการปลูกที่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย โดยเฉพาะการจัดการน้ำ และปุยที่ถูกต้อง องุ่นเหมือนกับพืชชนิตอื่น ที่ต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นทั้ง 16 ชนิตในสัดส่วนที่ เหมาะสม หากด้รับธาตุอาหารไม่สมดุลจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิต อาการขาด ธาตุอาหารสามารถวินิจฉัยได้โดยการวิเคราะห์เนื้อเยื่อพืชด้วยวิธีเคมี ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการ ตรวจสอบความผิดปกติของธาตุอาหารในพืช ปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ด้วยแสง ซินโครตรอน (XRF) มาใช้ในการตรวจหาธาตุบางชนิดในวัสดุต่าง ๆ เทคนิคนี้สามารถใช้กับตัวอย่างที่ มีขนาดเล็ก และวิเราะห์ได้เร็วกว่าวิธีเคมี ดั่งนั้นเทคนิคนี้อาจนำมาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยระดับ ธาตุอาหารในพืชได้ หากผลการวิเคราะห์มีความสัมทันธ์ที่ดีกับวิธีเคมี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลของการให้น้ำ และการจัดการธาตุอาหารพืชในระบบน้ำหยดต่อการเจริญเติบโต ผลผสิต และคุณภาพขององุ่นพันธุ์มาร์รู ซีดเสส 2) ศึกษาปริมาณ และการกระจายตัวของธาตุอาหารพืช ในใบอุ่งุ่น และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคนิคกรเรื่องรังสีเอกซ์ด้วยแสงชินโครตรอนสำหรับ การวิเคราะห์ธาตุอาหารชในใบองุ่น โตยไต้ทำการทตลอง 2 การทดลองประกอบด้วย การทดลองที่ 1 ผลของการให้ปุ๋ย และน้ำในระบบน้ำหยด ต่อการเจริญเติบโตขององุ่น วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design จำนวน 7 ทรีตเมนต์ 3 ซ้ำ ประกอบด้วย T1) ชุดควบคุม (ให้น้ำทางผิวดิน และไมให้ปุ๋ย) 12 ให้น้ำทางผิวดิน และให้ปุยทางดิน สูตร 12-24-12, T3) ให้น้ำ หยด และให้ปุยทางดิน สูตร 12-24-12, T4) ให้ปุยในระบบน้ำหยด สูตร 12-24-12, T5) ให้ปุ๋ยใน บน้ำหยด สูตร 10.2-4.2-17.9 T6) ให้ปุยในระบบน้ำหยด สูตร 10.2-4.2-17.9+ธาตุอาหารรอง และ T7) ให้ปุ๋ยในระบบน้ำหยด สูตร 10.2-4.2-1 7.9+ธาตุอาหารรอง+ธาตุอาหารเสริม ทุกทรีตเมนต์ ยกเว้นในชุดควบคุมให้ปุยธาตุอาหารหลักปริมาณเท่ากันคือ 83 กรัม/ตัน ผลการทดลองพบว่าการให้ปุ๋ยทุกทรีตเมนต์มีการเจริญเติบโตมากกว่าการไม่ให้ปุย และการ ให้ปุ๋ยในระบบน้ำหยดมีแนวโน้มการเจริญเติบโตขององุ่นดีกว่าการให้ปุ้ยทางดิน ส่วนการให้ปุ๋ยใน ระบบน้ำหยด สูตร 10.2-4.2-17.9 (T5) มีแนวโน้มส่งเสริมให้องุ่นมีการเจริญเติบโตทางด้านความ ยาวกิ่ง จำนวนใบ เส้นผ่านศูนย์กลางลำตัน ปริมาณคลอโรฟิลส์ในใบกลางสูงที่สุด ส่วนของผลผลิต ให้ผลไปในทิศทางเดียวกับการเจริญเติบต แต่มีความแตกต่างระหว่างทรีตเมนต์ที่ชัดเจนกว่า โดย การไมให้ปุ๋ยมีผลผลิตต่ำที่สุด การให้ปุ๋ยสูตร 10.2-4.2-17.9 ได้ผลผลิตสูงกว่าสูตร 12-24-12 และ การให้ธาตุอาหารที่ครบทุกธาตุ (T 7) ได้ผลผสิตสูงที่สุด แต่การให้ปุ้ยในทุกทรีตเมนต์ไม่มีผลต่อความ แน่นเนื้อขององุ่น สำหรับปริมาณของแข็ทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (TSS) ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ (TA) และ SS/TA พบว่าการให้ปุ๋ยในทุกวิธีมีแนวโน้มทำให้มีปริมาณ T5S และ TSS/TA สูงกว่าการไม่ใส่ ปุ๋ย และวิธีการไมใส่ปุ๋ยมีปริมาณ TA สูงที่สุด ส่วนการทตลองที่ 2 เป็นการวินิจฉัยการสะสม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแคลเซียม ในใบองุ่น โดยเทคนิค XRF และวิธีทางเคมี โดยนำตัวอย่างใบ จากการทตลองที่ 1 มาวิเคราะห์ ธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแคลเซียมด้วยวิธีการทั้งสอง ผล การทดลองพบว่าจากการวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบด้วยวิธีเคมี ทุกทรีตเมนต์มีการสะสมธาตุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมอยู่ในความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นองุ่น แต่ธาตุ แคลเซียมส่วนใหญ่มีปริมาณต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมยกเว้นใน T6 และ T7 ซึ่งมีการใส่ธาตุแคลเซียม ร่วมด้วยจะมีธาตุแคลเซียมในใบที่พอเพียง ส่วนการเปรียบเทียบการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชด้วยวิธี เคมี กับวิธี XRF พบว่าทั้งสองวิธีการให้ผลไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (R) ระหว่าง วิธีการวิเคราะห์ ธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และธาตุแคลเซียม ที่ 0.764, 0.774 และ 0.898 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นวิธี XRF อาจนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ และต รวจวินิจฉัยสถานะของ ธาตุอาหารในใบองุ่นได้
บทคัดย่อ (EN): Grapevine is one of the important fruit crops in Thailand because of grape berries have high nutritional values and can be processed into several products. It also has high yield potential and good product prices which lead to the expansion of its growing areas. However, the suitable technologies for grape production under hot and humid conditions in Thailand are still limited, especially on nutrient and water management. Grape requires 16 essential mineral nutrients in suitable ratios for optimum growth. Its growth and yield will be limited if it receives an imbalance of mineral nutrients. Diagnosis of nutrients status in plant tissues can be achieved by chemical analysis. Currently, the Synchrotron X-ray Fluorescence technique (XRF) is successfully adopted for analyzing mineral elements in various materials. It is a fast technique and requires small amount of sample materials. It could be applied to analyze mineral nutrients in plant tissues if its analysis results are well correlated to the standard chemical method. The objectives of this research are: 1) to study the effects of water application and plant nutrient management via drip irrigation system on grape vegetative growth, yield and quality of Marroo Seedless grape, 2) to study plant nutrient content and distribution in grape leaves and 3) to study the possibility of using the synchrotron XRF technique for plant nutrient analysis in grape leaves. There were two experiments in this research. In the first experiment, the effects of drip irrigation and fertigation on vegetative growth of grape were evaluated. Seven treatments of irrigation and fertilizer application were arranged in a Randomized Complete Block Design with 3 replications. Treatments consisted of T1) control, T2) surface irrigation+soil fertilizer application of 12-24-12 (N-P2O5-K2O), T3) drip irrigation+soil fertilizer application of 12-24-12, T4) drip irrigation+fertigation of 12-24-12, T5) drip irrigation+fertigation of 10.2-4.2-17.9, T6) drip irrigation+fertigation of 10.2-4.2-17.9+ secondary nutrients, and T7) drip irrigation fertigation of 10.2-4.2-17.9+secondary and micro nutrients. Total primary nutrient fertilizer applications in all treatments except control were 83 g/plant. The results showed that all fertilizer treatments produced greater growth than control treatment. Grape growth under fertigation was greater than those under surface soil fertilizer application. The treatments of drip irrigation+fertigation of 10.2-4.2-17.9 (N-P2O5-K2O) (T5) tended to produce the highest vegetative growth. Grape yield also significantly responded to fertilizer application. Control treatment the produced lowest yield. Application of 10.2-4.2-17.9 fertilizer resulted higher yield than he application of 12-24-12 fertilizer. The fertigation of 10.2-4.2-17.9+secondary and micro nutrients tended to produce the highest yield. Firmness was not significantly different between treatments. Total soluble solids (TSS) was higher in all fertilizer application treatments than in the control treatment. Titratable acidity (TA) was highest, while the TSS/TA ratio was lowest in the control. In the second experiment, the leaf tissues in all treatments of experiment 1 were analyzed for mineral nutrients (P, K and Ca) by chemical and the synchrotron XRF techniques. The results showed that, with the chemical analysis, P and K contents in the leaves of all treatments except control were in the sufficient range. Leaf Ca content in most treatments were in the deficient range except T6 and T7. The regression and correlation analysis showed the significant positive correlation of the nutrient analysis results (P, K and Ca) between the synchrotron XRF technique and the chemical method (R2 = 0.764, 0.774 and 0.898). The results implied that the synchrotron XRF technique could be applied for nutrient analysis and the diagnosis of nutrient status in grape.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/283748
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการให้น้ำแบบประหยัดและการให้ปุ๋ยในระบบน้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่น ระยะที่ 2
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
โรคสแคปขององุ่น (Sphaceloma ampelinum de Bary) ผลผลิตและคุณภาพของต้นหญ้ากินนีสีม่วงหลังเก็บเมล็ดพันธุ์จากแปลงหญ้าที่มีระยะปลูกและแหล่งไนโตรเจนต่างๆกัน ผลของการให้น้ำแบบประหยัดและการให้ปุ๋ยในระบบน้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่น การศึกษาระยะเวลาตัดและอัตราปุ๋ยไนโตรเจนท่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดหญ้ารูซี่ ผลผลิตของพืชอาหารสัตว์ 4 ชนิดเมื่อมีการใส่ปุ๋ยในอัตราที่สูง และให้น้ำในช่วงฤดูแล้ง ผลของการใช้น้ำชลประทานเพิ่มเติมต่อการเจริญเติบโตผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูแล้ง (ปีที่ 3) ผลของระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพเล็ดพันธุ์หญ้ากินนีสีม่วงในดินชุดโคราช ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่ผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette (ชื่อเดิม : ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยอินทรีย์น้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette) ศึกษาการให้น้ำชลประทานแบบประหยัดแก่ปาล์มน้ำมันโดยใช้เทคนิค Partial Root-zone Drying อัตราปุ๋ยผสม 15-15-15 ที่มีต่อผลผลิตหญ้าปากควาย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก