สืบค้นงานวิจัย
ผลของความหนาแน่นและการใช้ที่หลบซ่อนในการอนุบาลลูกปลาหลด
วิภารัตน์ แสงจันทร์ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
ชื่อเรื่อง: ผลของความหนาแน่นและการใช้ที่หลบซ่อนในการอนุบาลลูกปลาหลด
ชื่อเรื่อง (EN): The Effect of Densities and Shelters on Nursing Peacock Eel Macrognathus siamensis (Gunther, 1861)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิภารัตน์ แสงจันทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wiparat Saengchan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของอัตราความหนาแน่นและการใช้วัสดุหลบซ่อนที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาหลด แบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1ศึกษาการอนุบาลลูกปลาหลด อายุ 15 วัน ที่อัตราความหนาแน่น 50, 100, 200 และ 400 ตัวต่อตารางเมตร ความหนาแน่นละ 4 ซ้ํา ในถังพลาสติกขนาด 1.0 x1.5x0.5 เมตร ระดับน้ําสูง 30 เซนติเมตรเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ให้ไรแดงมีชีวิตมากเกินพอเป็นอาหาร จากการศึกษา พบว่า ลูกปลาหลด มีน้ําหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 0.3904±0.0838, 0.3801±0.1293, 0.3761±0.1150 และ 0.3609±0.1272กรัม ตามลําดับ ความยาวสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 51.55±3.13, 49.46±1.66, 50.97±0.79 และ 49.88±2.54 มิลลิเมตร ตามลําดับ ซึ่งความยาวสุดท้ายและน้ําหนักสุดท้ายไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) โดยมีอัตรารอดตายเฉลี่ย 49.67±8.47, 47.50±3.63, 43.67±3.89 และ 43.75±7.68 เปอร์เซ็นต์ตามลําดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และต้นทุนการผลิต เท่ากับ 5.46, 3.06, 1.98และ 1.28 บาทต่อตัวตามลําดับ การทดลองที่ 2 ศึกษาการอนุบาล ลูกปลาหลดอายุ 15 วัน โดยใช้ที่หลบซ่อนแตกต่างกัน คือ ไม่ใช้วัสดุหลบซ่อน, ใช้วัสดุกระบะทราย, ใช้วัสดุ ท่อพีวีซีและใช้วัสดุพู่ฟาง ในถังพลาสติกขนาด 1.0 x 1.5 x 0.5 เมตร ระดับน้ําสูง 30 เซนติเมตร ที่อัตราความหนาแน่น 400 ตัวต่อตารางเมตร โดยใช้ที่หลบซ่อนละ 4 ซ้ํา เป็นระยะเวลา 8สัปดาห์พบว่าลูกปลาหลด มีน้ําหนักเฉลี่ยเท่ากับ 0.3613±0.0339, 0.3655±0.0228, 0.3417±0.0302และ 0.3568±0.0226 กรัม และความยาว เฉลี่ยเท่ากับ 49.51±4.32, 50.52±4.40, 51.98±6.66 และ 51.16±5.25 มิลลิเมตรตามลําดับ ซึ่งความยาวสุดท้าย และน้ําหนักสุดท้ายไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และมีอัตรารอดตายเฉลี่ย 50.42±0.22, 46.96±0.76,69.62±2.44 และ 55.34±0.78 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ และทุกชุดการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยชุดการทดลองที่ใช้วัสดุท่อพีวีซีมีอัตรารอดสูงสุดรองลงมาได้แก่ ชุดการทดลองที่ใช้วัสดุพู่ฟาง ไม่ใช้วัสดุหลบซ่อน และวัสดุกระบะทรายตามลําดับ ต้นทุนการผลิต เท่ากับ 1.13, 1.24,0.87 และ 1.06 บาทต่อตัว ตามลําดับ สรุปได้ว่าการอนุบาลลูกปลาหลดอายุ 15 วัน ที่ความหนาแน่น 400 ตัวต่อตารางเมตร โดยใช้วัสดุท่อพีวีซีเป็นที่หลบซ่อน เป็นระยะเวลา 8สัปดาห์ให้ผลผลิตสูงสุดและมีต้นทุนการผลิตต่ําสุด
บทคัดย่อ (EN): The effect of densities and shelters on nursing of Peacock Eel were designed into two experiments. 1st experiment, 15 days old fry were designed in nursing 4 different densities of 50,100, 200and 400fish/m2 with 4 replications. They were nursed insixteen1.0 x 1.5 x 0.5 mplastic tanks with 30 cm water depth fed with Moina spp. at satiation. The results showed that the average final weight was 0.3904±0.0838, 0.3801±0.1293, 0.3761±0.1150 and 0.3609±0.1272 g, respectively. Average final length wasof 51.55±3.13, 49.46±1.66, 50.97±0.79 and 49.88±2.54 mm, respectively. There were no significant difference in average final length and average final weight among treatments (p>0.05). The average survival rate was 49.67±8.47, 47.50±3.63, 43.67±3.89 and 43.75±7.68 percentages, respectively. There were no statistically significant difference in survival rate among treatments (p>0.05). The production costs were5.46, 3.06, 1.98 and 1.28 baht/fish,respectively. 2nd experiment, 15 days old fry were designed to nurse in 4 different shelters (non shelters, sandbox, pvc pipe and plastic rope) with 4 replications. They were nursed in 1.0 x 1.5 x 0.5 m plastic tanks with 30 cm water depth at 400 fish/m 2. Results showed the average final weight was 0.3613±0.0339, 0.3655±0.0228, 0.3417±0.0302 and 0.3568±0.0226 g, respectively. While the average final length was49.51±4.32, 50.52±4.40, 51.98±6.66 and 51.16±5.25 mm, respectively. There were no significant difference in the averagefinal length and final weight among treatments (p>0.05). The averagesurvival rate was50.42±0.22, 46.96±0.76, 69.62±2.44 and 55.34±0.78 percentages, respectively and there were significant difference (p<0.05) in among treatments. Using pvc pipe as shelter gave the highest survival rate (p<0.05). Production costs were 1.13, 1.24, 0.87 and 1.06 baht/fish, respectively. Therefore, nursing 15 days old Peacock Eel at 400 fish/m2 and using pvc pipe as shelter within 8 weeks gave the highest production and lowest production cost.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2563
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของความหนาแน่นและการใช้ที่หลบซ่อนในการอนุบาลลูกปลาหลด
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2563
เอกสารแนบ 1
ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนวัยอ่อน การอนุบาลปลาแก้มช้ำในความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลปลากระแหในบ่อดินโดยความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลลูกอ๊อดกบนาด้วยความหนาแน่นที่ต่างกัน การอนุบาลลูกอ๊อดอึ่งปากขวดที่อัตราความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลลูกอ๊อดกบจานด้วยอัตราความหนาแน่นที่แตกต่างกัน การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในอัตราความหนาแน่น 3 อัตรา การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามจากระยะ post larvae ให้ได้ขนาด 2 เซนติเมตร ที่ระดับความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลลูกปลาซิวควายพม่า การเลี้ยงลูกปลาช่อนด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก