สืบค้นงานวิจัย
ผลกระทบของความชื้นและระยะเวลาการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพการงอกของข้าว สำหรับทำเป็นข้าวกล้องงอกในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
ขนิษฐา ไชยแก้ว - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของความชื้นและระยะเวลาการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพการงอกของข้าว สำหรับทำเป็นข้าวกล้องงอกในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Moisture Content and Harvesting Period on Germination of Rice Prepared for Germinated Brown Rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ขนิษฐา ไชยแก้ว
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ชุดโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องอกให้ครอบคลุมตลอดโซ่อุปทาน โดยมีกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน คือการเชื่อมโยงและเสริมสร้างกลุ่มผู้ผลิตข้าวกล้องงอกพิษณุโลก ให้ ครอบคสุมตลอตโซ่อุปทานตั้งแต่เกษตรกรจนถึงผู้ผลิต ผู้ขาย ผ่านกิจกรรมย่อยต่ง ๆ ของโครงการ โดยมี โครงการย่อย 3 โครงการ ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงและรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิตข้าวกล้องงอกเป็นสินค้า ชุมชน 2) การพัฒนาแป้งข้าวกล้องงอกที่มีคำาตัชนีน้ำตาลต่ำและวิตามินบีสูงสำหรับนำไปใช้ในการผลิต อาหารเพื่อสุขภาพ และ 3) ผลกระทบของความชื้นและระยะเวลาการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพการงอกของ ข้าวสำหรับทำเป็นข้าวกล้องอกในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ผลการดำเนินงานใด้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ค้ำาปลีก ค้าส่ง และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดโซ่อุปทานสินค้าข้าว เข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยใช้เทคนิคการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ อุตสาหกรรม มีการจัตตั้ง "กลุ่มส่งสริมข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือเมืองสองแคว* งสมาชิกส่วนใหญ่ ดำเนินการผลิตและจำหน่ายข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ อยู่แล้ว ให้เข้ามาร่วมกับกลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรม ข้าวพิษณุโลก เพื่อพัฒนาผสิตภัณฑ์ ข้าวกล้อง และขยายไปยังผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอก เป็นการเพิ่มความ หลากหลายของผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่ม โตยผลการตำเนินกิจกรรมของกลุ่มพบว่า ปัจจัย ความสำเร็จของการรวมกลุ่ม คือความต่อเนื่องในการสนับสนุนจากที่ปรึกษา หน่วยงานภาครัฐ การ ส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมีเทคโนโลยีการผลิตที่ เหมาะสม สร้างนวัตกรรมร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสมาชิกได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ในส่วนของการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องงอก ได้พัฒนาวิธีการผสิตแป้งข้าวกล้อง งอกที่มีค่าตัชนีน้ำตาลต่ำและวิตามินบีสูง เพื่อนำไปเป็นส่วนประกอบนผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ โตย ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มธัญญาหารผงเป็นกรณีศึกษา ทำการศึกษาในข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ผลพบว่า กระบวนการผลิตข้าวกล้องงอกให้มีปริมาณวิตามินบีสูงและค่าตัชนีน้ำตาลต่ำ ทำได้โดยการปรับปรุง กระบวนการผลิตข้าวกล้องงอก จากปกติที่มักจะผลิตโตยการสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวกล้องแล้วนำมาเพาะ ให้งอก เป็นการเพาะข้าวเปลือกให้งอกก่อนแล้วจึงนำมานึ่ง ลดความชื้นห้ข้าวเปลือกงอกแท้ง ก่อนจะ นำไปสื วิธีการแบบนี้จะทำให้ข้าวกล้องงอกที่ได้มีปริมาณวิตามินบีสูงขึ้น แม้ว่าสมบัติทางกายภาพจะ เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่นข้าวมีสีคล้ำขึ้น แต่สมบัติต้านอื่น ( ส่งผลดีต่อผสิตภัณฑ์ เช่น ข้าวจะมีความนุ่ม มากขึ้น หุงสุกเร็ว และที่สำคัญคือมีคำตัชนีน้ำตาลลตต่ำลงกว่าข้าวกล้องธรรมดา ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ที่ต้องการ ควบคุมระตับน้ำตาลในเลือด นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยนี้ยังได้ทำการทตสอบวิธีการในการผลิตแป้งข้าว กล้องงอกวิตามินปีสูง เพื่อนำไปใช้ในการผลิตเครื่องดื่มผงสำเร็จรูป ซึ่งพบว่าสามารถทำการผลิตได้ทั้ง วิธีการแบบ tray drying และ drum dying โตยวิธีการแบบ drum drying จะให้ผลิตภัณฑ์ที่มี คุณลักษณะตึกว่าโดยฉพาะสมบัติต้านประสาทสัมผัส สมบัติานการละลายของผลิตภัณฑ์ สำหรับประเด็นต้านความชื้นของข้าวเปลือกที่ปลูกในพื้นที่พิษณุโลก เมื่อสุ่มตัวอย่างข้าวเปลือก ทั้งฤดูนาปี และนาปรัง ในระยะเก็บเกี่ยว และก่อนเก็บเกี่ยว 1, 2 และ 3 สัปดาห์ ผลพบว่า ความชื้นของ เมล็ดข้าวเปลือกในฤดูนาปีจะสูงกว่าในฤดูนาปรังในทุกระยะเวลา ต้านความงอกเมล็ดข้าว จะมีค่าน้อย มากในทุกระยะการเก็บตัวอย่างทั้งข้าวนาปีและนาปรัง แต่ข้าวนาปรังจะมีความงอกสูงกว่าข้าวนาปี เล็กน้อยเนื่องจากเมล็ดข้าวมีความชื้นต่ำกว่า ส่วนคุณภาพของข้าวกล้องงอกจากเมล็ดข้าวที่เก็บเกี่ยวช่วง นาปี ที่ทำการเก็บตัวอย่างก่อนเก็บเกี่ยว 1 สับดาห์ ให้คุณภาพข้าวกล้องงอกในต้านต่างๆ ทั้งสี กลิ่น สชาติ ความนุ่ม และความขอบโตยรวม ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการเก็บเกี่ยวในระยะอื่น ๆ ส่วน ข้าวนาปรังที่เก็บเกี่ยว 2 และ 1 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว ให้คุณลักษณะต้านต่างๆ ของข้าวกล้องงอกดีกว่าใน ระยะอื่น ๆ ตังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะว่า ข้าวนาปีเกษตรกรสามารถร่งการเก็บเกี่ยวเมล็ตเพื่อทำการผลิตข้าว กล้องงอก ให้เร็วขึ้นกว่าการเก็บเกี่ยวตามระยะเวลาที่กำหนด ได้ไม่น้อยกว่า 1 สัปตาห์ ส่วนข้าวนาปรัง สามารถร่งระยะการเก็บเกี่ยวให้เร็วขึ้นได้ 2 สัปดาห์ โดยคุณภาพของข้าวกล้องงอกไม่แตกต่งจากการ เก็บเกี่ยวระยะปกติ ซึ่งเป็นทางเลือกให้เกษตรกรเมื่อจะทำการเก็บเกี่ยวในขณะที่สภาวะภูมิอากาศไม่ เหมาะสม
บทคัดย่อ (EN): This research project aimed to develop germinated brown rice products involving all stakeholders in the rice supply chain. It consisted of three sub-projects; 1) farmer cluster developrnent for the production of germinated brown rice as a community product, 2) the development of low glycaemic index (Gl) and high vitamin germinated brown rice flour as healthy food ingredient and 3) effects of seed moisture and harvesting date on germination of germinated brown rice in Phitsanulok province. The farmer cluster which consisted of farmers, SMEs, traders, retailers and related organizations in rice supply chain was established. The group called "brown/traditional de-husked rice promotion group" was initiated under Phitsanulok rice cluster. The members were mainly farmers who produced brown rice. They were linked to other members of Phitsanulok rice cluster. It was found that key successes for cluster development were continual supports from the consulting team, government agencies, effective management, suitable production technology, innovation, knowledge managernent, and shared benefits. In terms of an innovative germinated brown rice product, the process for producing low Gl and high vitamin B rice flour that can be used as a functional ingredient in healthy products, instant beverage powder as a case in this study, was studied. Phitsanulok 2 rice vaniety was used. It was found that low GI and high vitamin B germinated brown rice can be made by modifying the conventionat process. Instead of germinating brown rice, rough rice (paddy) should be germinated. After germination, rough rice was steamed and then dried before de-husking. This modified process produced germinated brown rice with lower GI and higher in vitamin B content. Though, it induced changes in physical properties as it darkened the rice color. However, the other properties were enhanced, such as cooking qualities and particular Gl values which were found to be lower as compared to those of normal brown rice. This benefits consumers with blood glucose concerns. Moreover, this research studied the methods for producing serminated brown rice flour that can be used in instant beverage powders. It was found that germinated brown rice flour with enhanced properties can be produced by both tray and drum drying processes. Though, drum drying process provided better product characteristics especially sensory properties and product solubility. For the moisture content of paddy in Phitsanulok province, rice seeds were sampled from both wet and dry seasons, 4 times per season (3, 2 and 1 weeks prior to harvesting day and exactly on harvesting day). The results showed that the seed moisture content of the wet season was higher than that of the dry season in all harvesting day. The seed germnination rate was generally low for both wet and dry seasons at all harvesting day. However, comparing amnong wet and dry seasons, the seeds obtained from the dry season contained lower moisture content and therefore giving better germination rate. For producing germinated brown rice, in wet season, the qualities of germinated brown rice obtained from the seeds harvested at 1 week and on harvesting day provided no significant difference. However, for dry season, the seeds harvested at 2 and 1 weeks prior to harvesting day showed better qualities. This information may be useful for farmers to alternatively harvest paddy in case of unsuitable weather conditions.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลกระทบของความชื้นและระยะเวลาการเก็บเกี่ยวต่อคุณภาพการงอกของข้าว สำหรับทำเป็นข้าวกล้องงอกในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
30 กันยายน 2553
อิทธิพลของความชื้นและเวลาต่อการเปลี่ยนแปลงของฟอสเฟตที่ถูกตรึงในดินชุดสันทราย ผลของปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการผิดปกติทางสรีรวิทยาและคุณภาพของผลมะม่วงน้ำดอกไม้ใน อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก โรคที่พบในช่วงเก็บรักษาผลลิ้นจี่จากผลที่เก็บเกี่ยวในระยะเวลาต่าง ๆ ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อการงอกหลังบ่มของหัวแก่นตะวัน ผลของสารสกัดหยาบจากวัชพืชต่อฤทธิ์ทางอัลลีโลพาทีต่อการงอก และการแบ่งเซลล์ของข้าว และข้าววัชพืช ศึกษาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าว และชนิดของบรรจุภัณฑ์เพื่อการเก็บรักษาของข้าวซ้อมมือในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง ผลของความร้อนต่อคุณภาพการสี คุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และสารต้านอนุมูลอิสระของข้าวใหม่ที่ปลูกแบบนาขั้นบันได ในจังหวัดพิษณุโลก พัฒนาการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในจังหวัดพิษณุโลก ความหวานของหัวแก่นตะวันหลังจากเก็บรักษาที่ระยะเวลาแตกต่างกัน ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก