สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในการใช้ควบคุมผักตบชวาโดยชีววิธี
วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในการใช้ควบคุมผักตบชวาโดยชีววิธี
ชื่อเรื่อง (EN): Efficacy of plant pathogenic fungi as biological control agents of water hyacinth
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิพรพรรณ์ เนื่องเม็ก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wipornpan Nuangmek
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำลายผักตบชวาของเชื้อราโรคพืชในระดับห้อง ปฏิบัติการและระดับโรงเรือนทดลอง โดยสำรวจโรคผักตบชวาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา และนำตัวอย่างผักตบชวาที่ เป็นโรคไปแยกเชื้อราสาเหตุในห้องปฏิบัติการ จากนั้นทดสอบการเกิดโรคบนใบผักตบชวา พบเชื้อที่เข้าทำลายผักตบชวา จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ Alternaria sp., Curvularia sp., Fusarium sp., Unidentified 1, Unidentified2 และ Unidentified3 จากนั้นนำเชื้อราทั้ง 6 ชนิดไปฉีดพ่นบนต้นผักตบชวาที่เลี้ยงในกระถาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) แบ่งออกเป็น 23 กรรมวิธีๆ 3 ซ้ำๆ ละ 1 ต้น ตรวจสอบความเสียหายที่เกิดจากเชื้อราเข้าทำลายหลังจากปลูกเชื้อแล้ว 7 - 21 วัน พบว่ากรรมวิธีปลูกด้วยเชื้อรา Unidentified 1 มีการเข้าทำลายมากที่สุดโดยมีคะแนนความรุนแรงของโรคเฉลี่ย 3.67 โดยผักตบชวามีลักษณะแผลดำลึกคล้ายหยดน้ำส่วนใหญ่จะเกิดที่ใบอ่อน รองลงมาคือปลูกด้วยเชื้อรา Alternaria sp. ซึ่ง มีคะแนนความรุนแรงของโรคเฉลี่ย 3.00
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to studied effective of microfungi for control water hyacinth in laboratory and greenhouse. Disease of water hyacinth were collected from Kwan Phayao, Phayao province and isolated in pure culture and pathogenicity test were also tested. It was found, six pathogenic fungi, they were Alternaria sp., Curvularis sp., Fusarium sp., Unidentified1, Unidentified2 and Unidentified3. These fungi were sprayed on leaves of water hyacinth in greenhouse. Randomize complete design were used in this experiment with 23 treatments, three replicates. Disease severity was conducted after 7 – 21 days of inoculation. It was found that, treatments 5 (Unidentified1) was highest disease severity than other treatment (score = 3.67) and had dark brown spot lesion on water hyacinth leaves. Treatment 2 (Alternaria sp.) was second disease severity (score = 3.00) and cause leaves blight and die.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P091 Pat_09.pdf&id=1959&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในการใช้ควบคุมผักตบชวาโดยชีววิธี
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ประสิทธิภาพของเห็ดรังนก (Cyathus sp.) ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินโดยชีววิธี การควบคุมผักตบชวาแบบผสมผสานโดยการใช้ด้วงงวงผักตบชวา ร่วมกับเชื้อรา Alternaria sp. การใช้ผักตบชวาลดต้นทุนอาหารสุกร ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ การใช้ผักตบชวาสดเลี้ยงสุกรขุนแบบจำกัดอาหาร การใช้ใบผักตบชวาลดต้นทุนค่าอาหารสุกร การใช้ประโยชน์จากเชื้อราในการควบคุมโรคพืช การควบคุมประชากรผักตบชวาแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน การใช้ไคโตซานในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในเมล็ดพันธุ์ (ระยะที่ 1) การควบคุมประชากรผักตบชวาแบบบูรณาการ เพื่อการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน ระยะที่ 3

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก