สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาข้าวฟ่าง
ประพันธ์ ประเสริฐศักดิ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาข้าวฟ่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Sorghum
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประพันธ์ ประเสริฐศักดิ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบพันธุ์ข้าวฟ่างหวานลูกผสม จำนวน 7 คู่ผสม (UT1 x Wray) , (Wray x SP1), (Wray x UT1040B), (Wray x BJ281), (Wray x Thesis), (Cowley x BJ281), (Wray x Cowley) ในปี 2555 ทำการปลูกข้าวฟ่างหวานลูกผสมชั่วที่ 1 ในฤดูแล้ง และปลูกข้าวฟ่างหวานลูกผสมชั่วที่ 2 ในฤดูฝน และในปี 2556 ปลูกข้าวฟ่างหวานลูกผสมชั่วที่ 3 ในฤดูแล้ง ปลูกข้าวฟ่างหวานลูกผสมชั่วที่ 4 ในฤดูฝน ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี โดยสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวฟ่างหวานที่มีลักษณะที่ดี 15 สายพันธุ์ จึงนำไปทำการเปรียบเทียบเบื้องต้นในปี 2557 -2558 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ โดยเปรียบเทียบกับพันธุ์ Wray Keller และ Cowley พบความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญในด้านความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ น้ำหนักต้นสด ปริมาณน้ำคั้น และน้ำหนักเมล็ด ซึ่งพบความดีเด่นใกล้เคียงหรือสูงกว่าสายพันธุ์เปรียบเทียบ สำหรับการศึกษา การทดลองเปรียบเทียบปฏิกิริยาข้าวฟ่างหวานจำนวน 33 พันธุ์/สายพันธุ์และข้าวฟ่างไม้กวาดจำนวน 1 พันธุ์ต่อโรคลำต้นเน่าดำที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Macrophomina phaseolina ในสภาพเรือนปลูกพืชทดลอง ทำการปลูกเชื้อบริเวณโคนต้นข้าวฟ่างหวานอายุ 60 วันโดยใช้วิธี Tooth-picked method ผลการทดลองพบว่าข้าวฟ่างหวานและข้าวฟ่างไม้กวาดมีดัชนีการเกิดโรคแตกต่างกัน และไม่พบพันธุ์/สายพันธุ์ที่ต้านทานโรคลำต้นเน่าดำ สำหรับการศึกษาข้อมูลจำเพาะของข้าวฟ่างหวาน จากการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตข้าวฟ่างหวาน ในแต่ละสภาพปลูก จากการปลูกข้าวฟ่างหวาน 3 พันธุ์ (Wray Cowley Suwan และSweet Extra) ที่ระยะปลูกต่างๆ พบว่าพันธุ์และระยะปลูกไม่มีปฏิสัมพันธ์กันทางสติติ โดยให้ผลผลิตต้นสดเฉลี่ยระหว่าง 6.55-7.55 ตันต่อไร่ พันธุ์ Cowley ให้ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์ Suwan Sweet Extra และ Wray การปลูกข้าวฟ่างหวานที่ระยะ 75 x 15 ซม. ให้ขนาดลำต้นเฉลี่ยสูงกว่าการปลูกที่ระยะปลูก 60 x 10 ซม. และ 75 x 10 ซม. ในขณะที่การศึกษาการใช้ประโยชน์จากข้าวฟ่างหวานและผลพลอยได้นั้น พบว่าข้าวฟ่างหวานที่ทำการศึกษาคือ Wray Cowley Suwan และSweet Extra มีศักยภาพที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเอทานอลได้ทั้งในรูปน้ำคั้นสดและการทำน้ำเชื่อม ซึ่งในรูปน้ำเชื่อมควรเก็บเกี่ยวข้าวฟ่างหวานในระยะเมล็ดเป็นแป้งแข็งและระยะเมล็ดสุกแก่ทางสรีรวิทยาซึ่งจะให้ค่าความเข้มข้นเอทานอลสูงเมื่อนำไปเข้าสู่ขบวนการหมักเอทานอล เช่นเดียวกับการนำชานข้าวฟ่างหวานซึ่งมีปริมาณ cellulose และ hemi-cellulose ในขณะที่การนำชานข้าวฟ่างหวานเพื่อเลี้ยงสัตว์ ในช่วงเวลาอาหารสัตว์ขาดแคลนซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือจากการคั้นน้ำ สามารถใช้พันธุ์ Wray และพันธุ์ Cowley โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้ทั้งระยะเมล็ดเป็นแป้งแข็ง ระยะเมล็ดสุกแก่ทางสรีระวิทยา (pm) และระยะหลัง pm 10 วัน เนื่องจากมีผลผลิตชานแห้งและปริมาณโปรตีนสูง การทดสอบการควบคุมโรคลำต้นเน่าดำที่เกิดจากเชื้อรา Macrophomina phaseolina ในข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Wray ในสภาพโรงเรือนทดลอง พบว่าการคลุกดินก่อนปลูกด้วยเชื้อรา T. harzianum ให้ผลการควบคุมโรคลำต้นเน่าดำดีที่สุดโดยมีความยาวแผลที่ลำต้นเฉลี่ย 54.0 เซนติเมตร อีกทั้งยังให้ผลผลิต และปริมาณน้ำคั้นดีที่สุด คือ 667 กรัมต่อต้น และ 204 มิลลิลิตรต่อต้น ตามลำดับ ในขณะที่การศึกษาการใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่างในข้าวฟ่างหวานพันธุ์ way ปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรีในปี 2555-2556 พบว่าสามารถใช้สารฆ่าแมลง โพรไทโอฟอส (โตกุไธออน 50 % EC) อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร และอิมาเม็กตินเบนโซเอต (โปรเคลม 1.92% EC) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร โดยมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับสารฆ่าแมลง คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20 % EC) อัตรา 100 มล./น้ำ 20 ลิตร ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงที่แนะนำให้ใช้ในการป้องกันกำจัดหนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง และจากการทดสอบพันธุ์ข้าวฟ่างหวาน 5 พันธุ์ คือ Cowley, Keller, Wray, BJ281 และ BJ248 ในแปลงใหญ่ ดำเนินการในพื้นที่ไร่เกษตรกรจังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ในฤดูแล้งปี 2554-2555 พบว่าข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Wray เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ปลูกในพื้นที่ไร่เขตใช้น้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ข้าวฟ่างหวานพันธุ์ Cowley เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ปลูกในพื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าวเขตภาคเหนือตอนล่าง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเอทานอล ทั้งนี้เนื่องจากให้น้ำหนักต้นสด และค่าความหวานสูง ส่วนการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตข้าวฟ่างหวานที่เหมาะสม สำหรับใช้ปลูกในพื้นที่นาเขตภาคเหนือตอนล่าง พบว่า อัตราปลูก 26,666 ต้นต่อไร่ร่วมกับใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ และอัตราปลูก 26,666 ต้นต่อไร่ร่วมกับใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นวิธีการที่ให้น้ำหนักต้นสดสูงสุด เมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ ผลปรากฏว่า อัตราปลูก 26,666 ต้นต่อไร่ร่วมกับใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับใช้ปลูกในพื้นที่นาเขตภาคเหนือตอนล่าง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเอทานอล ทั้งนี้เนื่องจากให้น้ำหนักต้นสดและค่าความหวานสูง
บทคัดย่อ (EN): Seven F1 hybrids sweet sorghum (UT1 x Wray) , (Wray x SP1), (Wray x UT1040B), (Wray x BJ281), (Wray x Thesis), (Cowley x BJ281), (Wray x Cowley) were tested in dry season F2 hybrids were tested in rain season 2012 and F3 were tested in dry season F4 hybrids were tested in rain season at Suphanburi Research and Development center as compared to 3 testers Cowley Keller and Wray. The results 15 hybrids showed percentage of heterosis over better/same as testers for plant height, stem diameter, stalk yield cane, juice extracted and grain yield. Under greenhouse condition, lines comparison experimental was done. This experiment study on the reaction of 33 sweet sorghum breeding lines and one line of sorghum to charcoal rot disease causing by fungus Macrophomina phaseolina. Plants were inoculated by tooth-picked method at 60 days of growth. The result showed that no lines resistance to this disease. Studies sweet sorghum production technology each planting conditions 3 varieties of sweet sorghum (Wray Cowley Suwan and Sweet Extra) at different spacings found that not interaction. The average yield fresh start between 6.55 to 7.55 tons/rai. Cowley breeding high-yielding varieties and Wray Suwan Sweet Extra planting sweet sorghum spacings at 75 x 15 cm to grow at above average spacing of 60 x 10. cm and 75 x 10 cm, while the utilization of sweet sorghum and the by products. The study found that sweet sorghum is Wray Cowley Suwan Sweet Extra and has the potential to be utilized in the production of ethanol in the form of fresh juice and syrup. The harvest of sweet sorghum syrup should form hard dough and physiological maturity, which will provide the high concentration of ethanol to enter the fermentation of ethanol. As well as bringing the bagasse of sweet sorghum which contains cellulose and hemi-cellulose. While introducing the bagasse of sweet sorghum to feed animals. the use wray and cowley can be harvested by the hard dough physiological maturity and late physiological maturity 10 days due to the production of dry bagasse and high protein content. Control of Charcoal Rot Caused by Macrophomina phaseolina in Sweet Sorghum (Wray) in greenhouse. Found that the soil mixed with the effect of T. harzianum to control charcoal rot disease best, with have hight average 54.0 cm. as well as yield and the amount of juice is best to 667 g./plant and 204 ml. respectively for the study control of sorghum shootfly (Atherigona soccata Rondani) in Sweet Sorghum varieties way to grow the Suphan Buri research and development center, And Lop Buri Research and Development Center in 2012-2013 found that the use of insecticides Prometheus Tai O Foster (Toronto, Ontario simulated ? 50% EC) rate of 50 ml / 20 liters of water and benzoate (pro Clemson 1.92% EC) rate of 10 ml / 20 liters of water with an efficiency similar to insecticide carbosalfans (Pos 20% EC) rate of 100 ml / 20 liter. an insecticide recommended to control sorghum shootfly The Varietal Testing 5 varieties of sweet sorghum varieties (Cowley, Keller, Wray, BJ281 and BJ248) the conversion is done in the farmers field in Kamphaeng Phet, Phitsanulok and Phetchabun in the drought season of 2011 to 2012 showed that sweet sorghum varieties Wray is suitable for breeding. using locally grown farm field use rainwater lower North. While sweet sorghum varieties Cowley species suitable for planting in paddy fields after harvest Lower North. For use as a feedstock for ethanol production. Due to the weight of fresh and the high sweetness For testing technology for sweet sorghum. Paddy fields for the Northern Region, the rate per 26,666 hectares planted with nitrogen application rate of 10 kg/rai and the rate of 26,666 per rai planted with nitrogen application rate of 20 kg/rai. As a way to make the most of the fresh weight. When analyzing the economic benefit results showed that the rate of 26,666 per rai planted with nitrogen application rate of 10 kg/rai. The method is suitable for planting in paddy fields lower north. For use as a feedstock for ethanol production. Due to the weight of the fresh and the high sweetness
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292757
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาข้าวฟ่าง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
โครงการวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ดาหลา โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ทุเรียน การพัฒนาเครื่องหีบข้าวฟ่างหวานระดับชุมชน การวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการขัดสีข้าว การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี ความลึกและความหนาแน่นของรากข้าวโพดและข้าวฟ่างที่ปลูกภายใต้สภาพการใช้น้ำฝน โครงการวิจัยและพัฒนามะลิ โครงการวิจัยและพัฒนามะม่วงหิมพานต์ โครงการวิจัยและพัฒนาหน้าวัว โครงการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก