สืบค้นงานวิจัย
การประมงกุ้งทะเลจากเครื่องมืออวนลากคานถ่างและอวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนในและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วีระพล ฐิติพงศ์ตระกูล - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
ชื่อเรื่อง: การประมงกุ้งทะเลจากเครื่องมืออวนลากคานถ่างและอวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนในและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่อง (EN): Shrimp Fishery from Beam Trawl and Otter Board Trawl in the Inner Gulf of Thailand and the Adjacent Area of Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีระพล ฐิติพงศ์ตระกูล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Weerapol Thitipongtrakul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: ศึกษาแหล่งทำการประมง วิธีทำการประมง อัตราการจับ องค์ประกอบชนิด และความยาวของกุ้งทะเลที่สำคัญทางเศรษฐกิจจากอวนลากบริเวณอ่าวไทยตอนในและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเรืออวนลากคานถ่างและอวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็กที่ท่าเทียบเรือประมง ในเขตจังหวัดชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงกันยายน พ.ศ. 2562 พบว่ามีเรืออวนลากที่ทำการประมงกุ้งทะเล 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) เรืออวนลากคานถ่างมีแหล่งทำการประมงอยู่ทั่วไปในเขตอ่าวไทยตอนในและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ไม่พบการทำการประมงภายในเขตจังหวัดชลบุรี เรือที่ใช้มีความยาว 12.20-21.35 เมตร ส่วนใหญ่ออกทำการประมงเที่ยวละ 12-14 วัน ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน มีอัตราการจับสัตว์น้ำ 19.717 กิโลกรัมต่อชั่วโมง องค์ประกอบสัตว์น้ำหลักเป็น กลุ่มปลาหน้าดิน กุ้งและกั้ง และปู ตามลำดับ ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้มากที่สุด คือ ปลาลิ้นหมา รองลงมาคือ ปูม้า และกั้งตั๊กแตน คิดเป็นร้อยละ 15.52 11.13 และ 10.33 ของปริมาณสัตว์น้ำ ที่จับได้ทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีกุ้งเป็นองค์ประกอบร้อยละ 9.83 2) เรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็กในเขตอ่าวไทยตอนใน มีแหล่งทำการประมงส่วนใหญ่อยู่ใกล้เกาะต่าง ๆ ในจังหวัดชลบุรี เรือที่ใช้มีความยาว 9.90-14.17 เมตร ออกทำการประมงเที่ยวละ 1-2 วัน ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน มีอัตราการจับ 13.052 กิโลกรัมต่อชั่วโมง องค์ประกอบสัตว์น้ำหลักเป็นกลุ่มปลาหน้าดิน กุ้งและกั้ง และปลาหมึก ตามลำดับ ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้มากที่สุด คือ ปลาแพะ รองลงมา คือ กุ้งตกกระสกุล Metapenaeopsis และหมึกกล้วย คิดเป็นร้อยละ 14.61 7.22 และ 5.40 ของปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมด ตามลำดับ และ 3) อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็กที่ทำการประมงบริเวณอำเภอปราณบุรีและใกล้เคียง มีแหล่งทำการประมงบริเวณหน้าอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เรื่อยลงไปทางใต้จนถึงอำเภอ สามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบทำการประมงหนาแน่นบริเวณปากแม่น้ำปราณบุรี เรือที่ใช้มีความยาว 11.95-16.00 เมตร ออกทำการประมงเที่ยวละ 6-7 วัน ทำการประมงเฉพาะเวลากลางคืน มีอัตราการจับ 27.863 กิโลกรัมต่อชั่วโมง องค์ประกอบสัตว์น้ำหลักเป็นกลุ่มกุ้งและกั้ง ปลาหน้าดิน และปลาเป็ด ตามลำดับ ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้มากที่สุด คือ กุ้งตกกระ รองลงมา คือ กุ้งทราย และปลาปากคม คิดเป็นร้อยละ 39.73 24.18 และ 5.27 ของปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมด ตามลำดับ ขนาดความยาวเฉลี่ยของกุ้งทะเลเศรษฐกิจ 6 ชนิด พบว่าความยาวเฉลี่ยของกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) และกุ้งกุลาดำ (P. monodon) เท่ากับ 15.68±0.41 และ 20.24±1.04 เซนติเมตร ตามลำดับ กุ้งทั้งสองชนิดมีความยาวเฉลี่ยมากกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ ขณะที่กุ้งตะกาดชนิด Metapenaeus affinis และ M. ensis มีความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 10.66±0.16 และ 9.99±0.37 เซนติเมตร ตามลำดับ กุ้งตะกาด ทั้งสองชนิดมีความยาวเฉลี่ยน้อยกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ ส่วนกุ้งตกกระ (Metepenaeopsis spp.) และกุ้งทราย (Trachypenaeus spp.) มีความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 6.07±0.25 และ 6.04±0.20 เซนติเมตร ตามลำดับ กุ้งทั้งสองชนิดนี้ยังไม่มีการศึกษาขนาดแรกสืบพันธุ์ในน่านน้ำไทย
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 63-3-0202-63031
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 0
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงกันยายน พ.ศ. 2562
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): -
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมงกุ้งทะเลจากเครื่องมืออวนลากคานถ่างและอวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนในและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล
2563
เอกสารแนบ 1
ทรัพยากรประมงจากเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่บริเวณอ่าวไทยตอนใน โครงสร้างทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินบริเวณอ่าวไทยตอนในถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การประมงอวนลากคานถ่างที่แจ้งเข้าเพื่อขึ้นสัตว์น้ำในจังหวัดสมุทรสาคร ปี 2560 การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย การประมงอวนลากคานถ่างที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการประมง 2561 ความสูญเสียทางการเงินและผลกระทบต่อการค้าในการทำการประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน การประมงอวนลากแผ่นตะเฆ่ของเรือไทย บริเวณซายา เดอ มาฮา แบงก์ มหาสมุทรอินเดีย ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทำประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากเรืออวนดำบริเวณอ่าวไทยตอนใน ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก