สืบค้นงานวิจัย
พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของเพลี้ยจักจั่นพาหะนำโรคใบขาวอ้อย
ยุพา หาญบุญทรง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของเพลี้ยจักจั่นพาหะนำโรคใบขาวอ้อย
ชื่อเรื่อง (EN): Movement activity of leafhopper vector of sugarcane white leaf disease
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุพา หาญบุญทรง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Yupa Hanboonsong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทนุธรรม บุญฉิม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Thanutham Boonchim
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เพลี้ยจักจั่นปีกลายจุดสีน้ำตาล (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็ม วัยเป็นพาหะที่สำคัญนำเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวอ้อยซึ่งการเคลื่อนที่และการดูดกินอาหารของแมลงพาหะ มีผลต่อการแพร่กระจายของโรค วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของแมลงพาหะระยะตัว เต็วัยและตัวอ่อนโดยปล่อยตัวเต็มวัยบนต้นอ้อยที่ครอบด้วยหลอดพลาสติก แล้วนับจำนวนครั้งของการเคลื่อนที่ และ ตำแหน่งที่แมลงเกาะเพื่อดูดกินอาหารบนต้นอ้อย สังเกตพฤติกรรมแมลงตัวเต็มวัยทุกๆชั่วโมงเป็นเวลา 24 ชม. พบว่า ตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่นปีกลายจุดสีน้ำตาลมีพฤติกรรมคล่องแคล่ว และมีจำนวนครั้งเคลื่อนที่สูงที่สุดสองช่วงได้แก่ช่วงแรก ในเวลา 18:00-19:00 น.และช่วงที่สองเวลา 23:00-1:00 น. ตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่นปีกลายจุดสีน้ำตาลเกาะอยู่ส่วน บริเวณยอดของต้นอ้อยมากที่สุดจำนวน 70.59% ส่วนการศึกษาในตัวอ่อนทั้งที่มีติ่งปีกและไม่มีติ่งปีก จำลองในสภาพแปลง เทียมในมุ้งตาข่าย โดยปลูกต้นอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 อายุ 4 เดือน วางเรียงเป็นแถวตรงจำนวน 12 ต้น ระยะห่างระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ปล่อยตัวอ่อนบนต้นอ้อยต้นแรก จำนวน 30 ตัว และตรวจวัดระยะทางการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนไปยังต้นอ้อย ทุกๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลาทั้งหมด 3 วันติดต่อกันพบว่า ตัวอ่อนที่ไม่มีติ่งปีกและที่มีติ่งปีกเคลื่อนที่ได้ในระยะทางสั้น 1.2 และ 1.5 เมตร ตามลำดับ เพื่อหาพืชอาหาร หลังจากนั้นแมลงจะหลบซ่อนและดูดกินที่ต้นอ้อยนั้นโดยส่วนใหญ่เคลื่อนที่ย้ายต้น น้อย ข้อมูลจากการศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของแมลงพาหะนี้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการจัดการแปลงปลูก อ้อยและป้องกันกำจัดแมลงพาหะเพื่อลดการเกิดโรคใบขาวอ้อย
บทคัดย่อ (EN): The leafhopper Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) both at nymph and adult stages is vector of phytoplasma associated with sugarcane white disease. The feeding and movement behaviors of vector has influence on disease epidemics. The purpose of the experiment was to study the movement activity of nymph and adult of this insect vector. Adult male and female leafhoppers were caged with sugarcane plant and their movement activity was observed every hour during one day period. The results showed two high peaks of movement activity between 6pm-7pm and 11pm-1am. During the peak time of movement activity, 70.59 percent of insects were found at the upper part of sugarcane plants. The study of the nymphs ‘s movement activity was conducted as semi field experiment inside the net house, twelve plants 4 months old were planted as one row 30 centimeters apart. Thirty nymphs were released on the first sugarcane plant and the number of nymph and the distance from the release point were observed every twelve hours for 3 consecutive days. Two sets of experiment were conducted by using nymph with and without wing-pad. The results found that both types of nymph had moved a short distance, about 1.2-1.5 meters from the released point for feeding on the sugarcane plants. In addition insects prefer to hide and not much move after locating on the host plant. Thus, the results from this study provide useful information for vector management in sugarcane fields to decrease white leaf disease distribution.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O013 Ent05.pdf&id=2227&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของเพลี้ยจักจั่นพาหะนำโรคใบขาวอ้อย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของอุณหภูมิต่อแมลงพาหะ Matsumuratettix hiroglyphicus นำโรคใบขาวอ้อย ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว ระยะเวลาการบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อที่เหมาะสมต่อการถ่ายทอด เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุของโรคใบขาวอ้อยของเพลี้ยจักจั่นพาหะ ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) โรคใบขาวอ้อย สมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจังหวัดขอนแก่น ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว การศึกษาชีวชนิดและการนำโรคเส้นใบเหลืองของแมลงหวี่ขาวในกระเจี๊ยบเขียว ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติเคมีบางประการของดิน กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร องค์ประกอบและการออกฤทธิ์ของสารสกัดชีวภาพจากพืชป่าชายเลน และแนวทางการใช้ประโยชน์จากสารสกัดในการป้องกัน และควบคุม การระบาดของโรคและปรสิตในระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โรคขอบใบแห้งและเทคนิคการคัดพันธุ์ต้านทานข้าวต่อโรคขอบใบแห้ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก