สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ของประเทศไทย
ฉัตรชัย ธนาสูรย์ - มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉัตรชัย ธนาสูรย์
คำสำคัญ: การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ของประเทศไทย
บทคัดย่อ: ในอดีตการบริโภคอาหารทะเลกระป๋องภายในประเทศยังคงไม่เป็นที่นิยมบริโภค แต่ เป็นการบริโภคสดเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการบริโภคนั้นจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ความพยายาม ของรัฐในการดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมได้นำไปสู่แนวนโยบายช่องการส่งเสริมการผลิตสินค้า อุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า ดังนั้นอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องจึงเริ่มต้นในช่วงแผน พัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่สาม (2514-2518)ทั้งนั้นในปี 2513 ได้มีการผลิตปลาทูน่ากระป๋องส่งออก อยู่บ้างแล้ว และได้มีการพัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเล กระป๋องได้พัฒนาอย่างรวดเร็วคือวัตถุดิบที่มากมายและมีราคาต่ำ ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ส่งออกของไทยได้กระจายตลาดส่งออกมากขึ้น โครงสร้างสิน ค้าส่งออกก็เริ่มเปลี่ยนจากสินค้าส่งออกที่ใช้แรงงานมาก มาเป็นสินค้าที่ใช้ทักษะและเทคโนโลยี ช่วงปี 2537-2542 ภาวะการแข่งขันในตลาดรุนแรงขึ้น ขณะที่ประเทศไทยเริ่มสูญเสียความได้ เปรียบในการผลิตสินค้าส่งออกที่ใช้แรงงานหนาแน่น (Labour Intensive) เพราะค่าจ้างแรงงานที่ สูงขึ้นและปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ประเทศคู่แข่งขันรายใหม่ เช่นประเทศ จีน เวียดนาม เป็นตัน ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย แต่โครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ต้นทุนใหญ่ร้อยละ 90 เป็นต้นทุนทางด้านวัตถุดิบ องค์ประกอบทางด้านแรง ร้อยละ 10 แนวโน้มของวัตถุดิบและราคา ในกรณีของปลาทูน่ากระป๋อง ปริมาณการจับสัตว์น้ำมี ปริมาณสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันปริมาณปลาในน่านน้ำของประเทศมีปริมาณลดลง สะท้อนให้ เห็นถึงความขาดแคลนของทรัพยากรปลา ทำให้ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศ ญี่ปุ่น สหรัฐ ไต้หวัน ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มัลดีฟ เป็นต้น แต่การขาดแคลนวัตถุดิบนั้นไม่เป็นอุปสรรค แต่อย่างใดสำหรับอุตสาหกรรมปลาทูน่า เพราะผู้ผลิตสามารถนำเข้าปัจจัยที่เป็นวัดุดิบ มาใช้ทด แทนในการผลิตได้ นอกจากนี้วัตถุดิบที่ได้จากการนำเข้ายังมีมูลค่าต่อหน่วยลดต่ำลง กรณีของกุ้งข้อมูลการจับกุ้งทะเลไม่สามารถแสดงถึงอุปทานวัตถุดิบที่ใช้ใน กระป๋องได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามถ้าใช้ปริมาณและมูลค่ากุ้งจากทะเลที่มีข้อมูลปรากฏมาเป็น ตัวเปรียบเทียบจะเห็นว่าปริมาณผลผลิตกุ้งจากทะเลได้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของผลผลิต และจากการที่อัตราการเพิ่มของมูลคำมีมากกว่าอัตราการ ผลิตของปริมาณผลผลิต ทำให้มูลค่าต่อหน่วยซึ่งใช้เป็นค่าทดแทนราคาที่มีแนวโน้มเพิ่ม ปลาหมึก ปู และหอยลาย มีแนวโน้มปริมาณการจับเพิ่มมากขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า การ เพิ่มขึ้นของราคาที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบอย่างรวดเร็ว นอกจากจะแสดงถึงความหายากแล้ว ยัง แสดงถึงความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคา ไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเกิดจากปัจจัยอะไรมากน้อยแค่ไหน ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้วภายในประเทศและภายนอกประ กล่าวได้ว่าปัจจัยฉันเกี่ยวข้องคือ ต้นทุนการผลิต นำจะเป็นส่วนสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มขึ้นของ ราคาส่งออกดังกล่าว นอกจากปัจจัยด้านราคาและต้นทุนแล้ว ยังคงมีปัจจัยภายนอกเช่น ทางด้าน ภาษี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกอย่างมาก ซึ่งประเทศต่าง ๆ ต่างใช้มาตรการแตกต่างกันไป ในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษา 4 ตลาดมีประเทศสหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตเรีย และสิงคโปร์ ซึ่ง ตลาดหลักของไทยก็คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกทั้ง 4 ประเทศคือ ปัจจัยทางด้านราคา ค่าความยืดหยุ่นต่อราคา แสดงค่าเป็นลบแสดงว่าสินค้านั้นเป็น สินค้าทดแทน โดยที่ตลาดสหรัฐ ญี่ปุ๋น ออสเตเรีย สิงคโปร์ 5 เท่ากับ -1.0722. -0.9608, -0.8835. -0.9655 ตามลำดับ ฉะนั้น การขึ้นราคาของอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องของไทยจะส่งผลต่อ การส่งออกในทิศทางผันผวนกันปัจจัยทางด้าน GDP ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีเครื่องหมายเป็นบวก อธิบายได้ว่าเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1% การนำเข้าอาหาร ทะเลกระป๋องจากไทยก็จะเพิ่มชื้น 1.5967 สำหรับค่าอัตราแลกเปลี่ยนมีเพียงประเทศเดียวที่ไม่ มีนัยสำคัญคือ ประเทศญี่ปุ่น สาเหตุมาจากความผันผวนของค่เงินเยนที่มีแนวโน้มแข็งขึ้น และ ปัจจัยทางด้านราคาโดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศคู่แข่ง ซึ่งก็มีนัยสำคัญกับทุกประเทศ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตเรีย และสิงคโปร์ อธิบาย ได้ว่าถ้าราคาอาหารทะเลกระป๋องของไทยมีมูลค่าคลาดลงโดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง 1 % จะ ทำให้การส่งออกของอาหารทะเลของไทยเพิ่มขึ้น 1.7 181. 1.9775. 2.1268. 0.3108 ตามลำดับ สำหรับอนาคตของความสามารถในการแข่งขันในเรื่องราคาของอุตสาหกรรมอาหารทะเล กระป๋องของประเทศไทย สามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่งขันได้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ประเทศคู่แข่งขันและแรงงานไทยก็มีประสิทธิภาพสูงกว่า ดังนั้นรัฐควรส่งเสริมในเชิงนโยบางที่เป็น ประโยชน์เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด นอกจากนั้นรัฐจะต้องมีนโยบายและการวางแผนเพื่อส่ง เสริมการส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง ให้สอดคล้องกับความต้องการนำเข้าของประเทศต่าง ๆ ที่ สำคัญโดยเฉพาะ สหรัฐ และญี่ปุ่น ซึ่งการวางมาตรฐานการผลิตที่สูง การให้ความใจใสต่อสิ่งแวด ล้อม และสิทธิมนุษยชน และสุดท้ายการขยายตลาด ควรมองหาตลาดใหม่ๆ เพื่อเป็นการกระจาย และขยายส่วนแบ่งตลาดออกไป ลดความเสี่ยงลง ส่งผลให้ทิศทางการส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง ของประเทศไทยสดใสเพิ่มมากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
เอกสารแนบ: https://searchlib.utcc.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=158606&query_desc=%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ของประเทศไทย
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
2544
เอกสารแนบ 1
อุตสาหกรรมอาหารไทย ปลอดภัยเชื่อถือได้ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์เพื่อการส่งออกไม้ยางพาราของประเทศไทย การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการประหยัดพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรม โครงการศึกษาสถานภาพการใช้เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชันสำหรับ ผลิตความร้อนและไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรม ชุมชน หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็กของประเทศไทย การศึกษาผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าเสรีและอุตสาหกรรมมะพร้าวของไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งโรงงานและการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมในส่วนกลางของประเทศไทย การประยุกต์ใช้แนวคิดอุตสาหกรรมขั้นที่ 6 สำหรับการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมด้านอาหารในประเทศญี่ปุ่น การศึกษาศักยภาพการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย รายงานการศึกษาเรื่องผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าเสรีและอุตสาหกรรมมะพร้าวของไทย รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาตลาดอาหารวีแกน (Vegan) เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารไทย ภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะสารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมอาหาร ปี2562

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก