สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระบาดวิทยา กลไกการก่อโรค และการเรียงตัวของจีโนมของไวรัสชนิดใหม่ที่แยกได้จากกุ้งกุลาดำที่โตช้า
กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ - มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระบาดวิทยา กลไกการก่อโรค และการเรียงตัวของจีโนมของไวรัสชนิดใหม่ที่แยกได้จากกุ้งกุลาดำที่โตช้า
ชื่อเรื่อง (EN): Study of epidemiology, pathogenicity and genomic organization of a new , apparently innocuous virus found while investigating the cause of monodon slow growth syndrome
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โรคกุ้งที่เกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio เรียกว่า Vibriosis ซึ่งบางครั้งก่อความเสียหายอย่างมากกับฟาร์มและโรงเพาะฟัก โดยเฉพาะโรงเพาะฟักที่เลี้ยงลูกกุ้งกุลาดำ หรือเลี้ยงกุ้งวัยอ่อนที่ความเค็มสูง แต่มักไม่ค่อยมีปัญหากับโรงเพาะฟักที่เลี้ยงกุ้งด้วยน้ำความเค็มต่ำ แบคทีเรียสายพันธุ์ Vibrio harveyi ทำให้กุ้งมีอาการ Luminous vibriosisโดยกุ้งที่ติดเชื้อจะเรืองแสงได้เมื่อจำนวนของแบคทีเรียเพิ่มถึงระดับที่เรียกว่า Quarum ทำให้แบคทีเรียสามารถชักนำการแสดงออกของยีนต่างๆของตัวมันได้ เช่นยีน Luciferase ที่เกี่ยวกับการเรืองแสงดังกล่าว ในอดีตมักทำการควบคุมและป้องกันโรคนี้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการตลาดเพราะปัญหายาปฏิชีวนะตกค้างในกุ้ง ทำให้มีการคำนึงถึงทางเลือกที่จะใช้สารธรรมชาติที่ไม่ได้มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียแต่ช่วยควบคุมไม่ให้แบคทีเรียเติบโตถึงระดับ Quarum ซึ่งเป็นระยะที่แบคทีเรียสามารถผลิตสารเรืองแสง หรือสารพิษต่างๆได้หลายชนิด มีรายงานพบว่าสารพิษที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังขึ้นกับไวรัสที่อยู่ในแบคทีเรียอีกด้วย (Bacteriophage) การศึกษานี้พบว่า V. harveyi 1114GL สามารถผลิตสารพิษได้เมื่อมีไวรัสที่ชื่อว่า Vibrio harveyi Siphoviridae-like phage 1 (VHS1) จึงต้องการใช้ความสัมพันธ์ของแบคทีเรียและไวรัสสองชนิดนี้ (VH/VHS1) เพื่อตรวจหาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ควบคุมการเกิดโรค Luminous vibriosis ความรู้เหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการควบคุมโรคกุ้งที่เกิดจากแบคทีเรียกลุ่มนี้ งานวิจัยนี้เราได้ทำการหาลำดับเบสในจีโนมของไวรัส VHS1 แล้วอย่างครบถ้วน ซึ่งพบว่าจีโนมของไวรัสนี้เป็นดีเอ็นเอสายคู่ ขนาดใหญ่กว่า 84,000 คู่เบส และยังพบด้วยว่า V. harveyi ที่มีไวรัสชนิดนี้อยู่แม้เพียงปริมาณน้อยก็ทำให้กุ้งกุลาดำตายได้ แต่ไม่ทำให้กุ้งขาวตาย นอกจากนี้ยังพบว่าความเป็นพิษของ VH/VHS1 เกี่ยวข้องกับการทำให้เม็ดเลือดของกุ้งเกาะตัวเป็นก้อน ขณะนี้กำลังทำการศึกษายีนของไวรัสที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพิษ และยีนของ V. harveyi 1114GL ที่เกี่ยวข้องกับการเกิด Quarum นอกจากนี้ยังได้มีการเตรียม Library ของ V. harveyi 1114GL ไว้สามแบบคือ แบบที่มีไวรัส VHS1, แบบที่ไม่มีไวรัส VHS1 และแบบที่เคยมีไวรัส VHS1ซึ่งจะได้นำไปศึกษาผลของไวรัส VHS1 ต่อการแสดงออกของยีนของแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารพิษต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Shrimp diseases caused by bacteria in the genus Vibrio are called vibriosis. Farm and hatchery losses to vibriosis can sometimes be very high, especially in shrimp hatcheries where the black tiger shrimp Penaeus monodon is reared or where juvenile shrimpare reared at high salinity. Problems with vibriosis are generally less with juvenile shrimp reared a low salinity. Vibriosis caused by Vibrio harveyi is called luminous vibriosis because infected shrimp are luminescent when the population of infective bacteria reaches a quorum population that results in autoinduction of genes such as luciferase, responsible for light production. In the early days of the shrimp industry, antibiotics were widely used to prevent and control vibriosis. However, problems with marketability of shrimp containing antibiotic residues has led to the search for alternative methods control. One alternative method proposed involves use of natural compounds that do not kill Vibrio species but prevent luminescence and production of virulence factors by autoinduction via bacterial population or quorum sensing. Several virulence factors of V. harveyi have been shown to be under quorum sensing control. These factors vary from isolate to isolate and some are known to be carried by mobile genetic elements, including bacteriophages. When unable to produce virulence factors, V. harveyi isolates are not virulent. In this study, a V. harveyi isolate 1114GL was found to produce a virulence factor(s) when infected with a bacteriophage called Vibrio harveyi Siphoviridae-like phage 1 (VHS1). The overall aim of the work was to develop this VH/VHS1 model for high throuput screening of natural compounds that may be used for environmentally friendly control of luminous vibriosis. Knowledge of these compounds and their use with V. harveyi should also be useful in devising strategies to control other Vibrio pathogens of shrimp. In this work, we have succeeded in sequencing and annotating the complete VHS1 genome of more than 84 kilobases of double stranded DNA and we have shown that V. harveyi infected with VHS1 is lethal at low concentration to the black tiger shrimp but not to the whiteleg shrimp Penaeus vannamei. Further, we have shown that toxicity is related to aggregation of blood cells (hemocytes) of P. monodon but not P. vannamei. These candidate toxin genes of VHS1 have been identified and are being studied in ongoing work. We have also identified, amplified and sequenced quorum sensing control genes of the host V. harveyi isolate 1114GL. Thus, the model system of VH/VHS1 for screening natural quorum sensing control compounds is nearly complete. We have also prepared a suppressive subtractive hybridization library and proteomic library of V. harveyi 1114GL clones uninfected with VHS1, infected with VHS1 and cured of VHS1. These provide a basline of information to study the effect of VHS1 on the expression of host genes that may also be involved in its virulence.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระบาดวิทยา กลไกการก่อโรค และการเรียงตัวของจีโนมของไวรัสชนิดใหม่ที่แยกได้จากกุ้งกุลาดำที่โตช้า
มหาวิทยาลัยมหิดล
30 กันยายน 2554
การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ การศึกษาด้านระบาดวิทยาระดับโมเลกุลของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยที่ระบาดในประเทศไทยและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างปี พ.ศ.2553-2555 การศึกษาด้านระบาดวิทยาระดับโมเลกุลของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยที่ระบาดในประเทศไทยและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2555 การศึกษาลักษณะสมบัติและการแสดงออกของยีน asialoglycoprotein receptor จากกุ้งกุลาดำPenaeus monodon การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1978) ตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์ ประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกมังคุด (Gracinia mangostana, Linn) ในการกำจัดจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคในกุ้งทะเล ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำ การแทนที่ปลาป่นด้วยวัตถุดิบโปรตีนจากพืชที่มีศักยภาพในอาหารสำหรับกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon (Fabricius, 1798)

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก