สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาพลวัตความเค็มของดินและน้ำกับการเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพลวัตความเค็มของดินและน้ำกับการเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Soils and water salinity dynamic and growth of rice grown in Northeast paddy field
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Duangjai Suriyaarunroj
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ดินและน้ำเค็มเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อการทำนาในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยด้านเขตกรรมเพื่อแก้ปัญหาดินและน้ำ การจัดการธาตุอาหาร และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อดินเค็ม แต่ยังคงมีปัญหาความเค็มต่อการผลผลิตข้าว ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายด้านที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสภาพของดินที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จึงต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเฉพาะตามสภาพ โครงการนี้จึงมุ่งจัดทำข้อมูลพื้นฐาน สภาพดินและน้ำเค็มที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของนาข้าว ความสัมพันธ์ของระดับน้ำ ระดับความเค็ม และความเป็นกรดเป็นด่างกับการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว รวมทั้งการจัดทำแผนที่นาข้าวดินเค็มที่มีสภาพแตกต่างกัน เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาการแก้ปัญหาดินและน้ำเค็มของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างตรงประเด็น งานวิจัยนี้ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การสำรวจพื้นที่และศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับความเค็มของดินและน้ำในนาข้าวและปริมาณฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสภาพนาน้ำฝนที่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ105 ดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา สกลนคร ขอนแก่น และอุดรธานี สำรวจพื้นที่นาข้าวดินเค็มของแต่ละจังหวัด พบว่า ความเค็มมีความแปรปรวนมากในแต่ละจุดมีระดับความเค็มระหว่าง 0.1 – 60 dS/m ความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4.3 – 9.5 และเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนิยมปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ส่วนเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างนิยมปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ภาคมีการปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพื่อการค้า 2) ศึกษาการเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่ระหว่างแปลงนาที่เป็นดินเค็มกับแปลงนาที่ไม่เค็มหรือเค็มน้อย ดำเนินการในแปลงเกษตรกรทั้ง 4 จังหวัดโดยการปลูกข้าวใน 3 เดือนได้แก่ เดือน มิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม พบว่า ข้าวเจ้าที่ปลูกทั้งสายพันธุ์ UBN02123-50R-B-3 และ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ให้ผลผลิตได้ดีที่สุดในเดือนกรกฎาคม ฤดูนาปี 2556 โดยเฉลี่ย 608 และ 558 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ที่จังหวัดนครราชสีมา จากข้อมูลปริมาณฝนจะเห็นว่าในรอบปีที่ปลูกมีปริมาณน้ำฝนสะสมมากในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม จึงเป็นช่วงที่มีน้ำเพียงพอสำหรับการเจือจางความเค็มและปรับระดับความเป็นกรดเป็นด่างให้เหมาะสมสำหรับกลไกการเจริญเติบโตของข้าว 3) จัดทำแผนที่ดินเค็มในนาข้าวจังหวัดนครราชสีมา สกลนคร และขอนแก่นจัดทำแผนที่นาข้าว แผนที่แสดงพื้นที่ดินเค็ม และแสดงตารางข้อมูลพิกัดระดับความเค็มความเป็นกรดเป็นด่างของดินในนาข้าวที่สัมพันธ์กับพื้นที่นาข้าวในแผนที่เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจปลูกข้าว หรือเพื่อการวิจัยด้านการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มต่อไป.
บทคัดย่อ (EN): Soil and water salinity are the important constraints affecting rice production in several rice growing areas in Thailand especially, in Northeastern region. There were researches attempt to solve the problem such as land preparation, water and soil management, nutrient management and breeding for salt tolerant rice. However, those research results obtained were not the final solution for getting risk of the problem in saline paddy field. This probably dues to several factors existing in different environments and soil conditions in each area, which require different managements. This research therefore aims to investigate basic information such as soil and water salinity dynamic in rice field, relationships of water regime, salinity and pH on rice growth and yield as well as to set up salinity rice field map in different conditions for preparing the information to hit the point of the salinity problem in the rice field. There were 3 activities: 1) area survey and study of soil and water salinity dynamic in rice field and rainfall distribution for KDML105 growing in rainfed lowland area of northeastern Thailand. The research was carried out in 4 provinces which were Nakhon Ratchasima, Sakon Nakhon, Khon Kaen and Udon thani. From the survey, we found that there were very high variation on soil salinity on each sampling spot ranged from 0.1-60 dS/m, pH were 6.3 – 9.5. Interview of the farmer in saline affected area showed that in upper part of northeastern prefer to grow sticky rice which the popular variety is RD6 while in the lower part, the farmer prefer to grow non-sticky rice especially, Khao Dawk Mali 105. However, in both parts they grow Khao Dawk Mali 105 for commercial. 2) study on rice growth in slightly saline and saline field. There were 3 different planting durations: in June, July and August and 3 rice varieties: KDML105, UBN02123-50R-B-3 and RD15. The results showed that non-sticky rice UBN02123-50R-B-3 and KDML105 grown in July at Nakhon Ratchasima rice field, wet season 2014 gave highest yield 608 and 558 kg/rai respectively. The rainfall pattern during June and July showed that there were large amount of rainfall accumulation lender good rice growth. 3) set up of salinity rice field map was done in 3 provinces: Nakhon Ratchasima, Sakon Nakhon and Khon Kaen which included the coordinate of specific salinized rice area for using in designing growing period and to help research on saline rice area.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328758
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาพลวัตความเค็มของดินและน้ำกับการเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมการข้าว
2557
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของ Kochia (Kochia indica) และการใช้ประโยชน์ Kochiaเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม การสำรวจและศึกษารูปแบบและพันธุ์หญ้าแฝกที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ข้อมูล RADARSAT-1 SAR (standard mode) เพื่อทำแผนที่แสดงพื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลาหมอ "ชุมพร 1"

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก