สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์
นายสกล เหมราช - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายสกล เหมราช
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม และศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร ประชากรที่ทำการศึกษา คือเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และมีการดำเนินงานของกลุ่มในปีงบประมาณ2548 ในระดับดี ระดับปานกลาง และระดับปรับปรุง จำนวน 10 อำเภอ มีจำนวน 54 กลุ่ม สมาชิก 9,627 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 99 คน โดยใช้ตาราง Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้คือสถิติพรรณา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้ค่าไคสแคว์ วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For Window ผลการวิจัยสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.8 เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 40 - 60 ปี ร้อยละ 68.7 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 62.6 มีสมาชิกในครัวเรือน 4 - 6 คน ร้อยละ 69.7 มีพื้นที่ถือครอง 20 - 50 ไร่ ร้อยละ 52.5 มีรายได้จากการเกษตร 200,000 บาทขึ้นไป/ปี ร้อยละ 30.3 รายได้นอกภาคการเกษตรน้อยกว่า 50,000 บาท ร้อยละ 79.8 เกษตรกรมีภาระหนี้สินร้อยละ 52.5 เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร 15 ปีขึ้นไป และร้อยละ 51.5 สมาชิกกลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตร ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร พบว่า ปัจจัยทางด้านเพศและปัจจัยทางด้านการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมฯ มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร ส่วนระดับการศึกษา รายได้ และการได้รับการฝึกอบรมด้านการเกษตรไม่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร ปัญหาของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่มีต่อสมาชิก ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันที่ต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาต่อสมาชิก ในเรื่องสมาชิกไม่เข้าใจในบทบาทและวัตถุประสงค์ของกลุ่มเกษตรกร และการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มมากที่สุด รองลงมา สมาชิกขาดความรับผิดชอบที่มีต่อกลุ่มเกษตรกร และขาดจิตสำนึกของการเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรตามลำดับ ส่วนปัญหาของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรที่มีต่อกลุ่ม ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันที่ต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม ในเรื่อง รัฐมีนโยบายไม่แน่นอนขาดความชัดเจนในการสนับสนุนส่งเสริมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง รองลงมา ขาดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความสามารถและการจัดการที่ดี และคณะกรรมการขาดความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม และขาดความร่วมมือและความเข้าใจของสมาชิกที่มีต่อกลุ่ม ตามลำดับ
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548-08-02
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2 สิงหาคม 2548
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรผสมผสาน บ้านห้วยหลาว อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดหนองบัวลำภู การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จของจังหวัดตราด ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์ รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลทำให้การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรประสบผลสำเร็จ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านธุรกิจกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดราชบุรี การดำเนินงานกลุ่มเกษตรกรในภาคกลาง ปี 2538 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ กรณีศึกษา : กลุ่มเกษตรกรทำนาเป๊าะ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอุตสาหกรรม ในเขตภาคเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก