สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากระบวนการผลิตสับปะรดกึ่งแห้งและการสร้างตัวแบบเพื่อการพยากรณ์การถ่ายเทมวลสารระหว่างกระบวนการออสโมซิส
กฤษณะ ชินสาร - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการผลิตสับปะรดกึ่งแห้งและการสร้างตัวแบบเพื่อการพยากรณ์การถ่ายเทมวลสารระหว่างกระบวนการออสโมซิส
ชื่อเรื่อง (EN): Process Development of Intermediate Moisture Pineapple and Mass Transfer Prediction Models during Osmosis Process
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กฤษณะ ชินสาร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สิริมา ชินสาร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนากระบวนการผลิตสับปะรดกึ่งแห้งและการสร้างตัวแบบเพื่อการะยากรณ์การถ่ายเทมวลสารระหว่างกระบวนการออสโมซิส ขั้นตอนแรก ศึกษาชนิดของสารละลายออสโมติก ได้แก่สารละลายซูโครส และสารละลายซูโครสผสมกลีเซอรอล (1: 1) ระยะเวลาที่ใช้ในการเตรียมขั้นต้นด้วยสุญญากาศ (0 และ 15 นาที) และระยะเวลาในการแช่สารละลายออสโมติกพบว่า อิทธิพลร่วมของชนิดของสารละลายออสโมติก และระยะเวลาในการเตรียมขั้นตอนต้นด้วยสุญญากาศมีผลต่อค่าปริมาณน้ำที่สูญเสียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) ส่วนปริมาณของแข็งที่เพิ่มขึ้น พบว่า อิทธิพลร่วมระหว่างทั้งสามปัจจัย คือ ชนิดของสารละลายออสโมติก ระยะเวลาในการเตรียมขั้นต้นด้วยสุญญากาศ และระยะเวลาในการแช่ในสารละลายออสโมติกมีผลต่อค่าปริมาณของแข็งที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ 0.05) เมื่อพิจารณาจากค่าการสูญเสียน้ำที่ระยะเวลา 240 นาที จึงเลือกสับปะรดที่แช่ในสารละลายซูโครส 32.5% ร่วมกับกลีเซอรอล 32.5% ที่ไม่ผ่านการเตรียมขั้นต้นโดยใช้สุญญากาศ สารละลายซูโครส 32.5% ร่วมกับกลีเซอรอล 32.5% ที่เตรียมขั้นต้นโดยใช้สุญญากาศ 15 นาที และสารละลายซูโครส 65% ที่เตรียมขั้นต้นโดยใช้สุญญากาศ 15 นาที สำหรับใช้ในการทดลองขั้นต่อไป ขั้นที่สอง เป็นการศึกษาผลของการออสโมซิสที่สภาวะต่างๆต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์สับปะรดมีความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ พบว่า สับปะรดอบแห้งที่ผ่านการแช่ในสารละลายซูโครส 32.5% ร่วมกับกลีเซอรอล 32.5% และการเตรียมขั้นต้นโดยสุญญากาศที่ 200 mbar 15 นาที มีค่า aʷ ต่ำที่สุด เนื้อสัมผัสนุ่ม และได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงที่สุด โดยมีคะแนนอยู่ในช่วงชอบปานกลางถึงชอบมาก ขั้นสุดท้าย เป็นการาร้างตัวแบบเพื่อพยากรณ์การถ่ายเทมวลสารระหว่างกระบวนการออสโมซิส พบว่า แบบจพลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบแพร่ย้อนกลับสามารถใช้พยากรณ์การถ่ายมวลสารระหว่างกระบวนการออสโมซิสได้ดี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
เอกสารแนบ: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1466?show=full
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากระบวนการผลิตสับปะรดกึ่งแห้งและการสร้างตัวแบบเพื่อการพยากรณ์การถ่ายเทมวลสารระหว่างกระบวนการออสโมซิส
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2556
เอกสารแนบ 1
การเปรียบเทียบคุณภาพสับปะรดรับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใน 3 พื้นที่และการยอมรับของผู้บริโภค การเปรียบเทียบคุณภาพสับปะรดรับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใน 3 พื้นที่และการยอมรับของผู้บริโภค สภาพการผลิตสับปะรดจังหวัดหนองคาย การสำรวจและติดตามข้อมูลด้านการผลิตของเกษตรกรต่อการใช้ประโยชน์เพื่อการประเมินผลผลิตล่วงหน้าของสับปะรดในจังหวัดลำปาง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากสับปะรด และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ต้องการตามหลักสุขลักษณะที่ดี การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการกระจายผลผลิตสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี การผลิตและการตลาดสับปะรด จังหวัดเพชรบุรี การปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณภาพกระดาษเส้นใยกล้วยไข่ การผลิตน้ำยาขนมจีนกึ่งสำเร็จรูป

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก