สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความต้องการธาตุอาหารรองแคลเซียมและกำมะถันจากยิปซั่มของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลางระดับไร่นาของพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทค
อรรถพันธ์ ศรีศุภโอฬาร, จักรพันธ์ เภาสระคู, ชาญณรงค์ เขตแดน - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความต้องการธาตุอาหารรองแคลเซียมและกำมะถันจากยิปซั่มของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลางระดับไร่นาของพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทค
ชื่อเรื่อง (EN): Study to secondary macronutrient requirements (Calcium and Sulfur) from gypsum for Khao Dawk Mali105 in Moderately saline soil on farm of Lam Sataet watershed area
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ดินเค็มปานกลาง
บทคัดย่อ: การศึกษาความต้องการธาตุอาหารรองแคลเซียมและกำมะถันจากยิปซั่มของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ใน ดินเค็มปานกลางระดับไร่นาของพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทค ในพื้นที่เกษตรกร (นายบุญถิ่น คาโสจันทร์) ณ.บ้านงิ้ว ตำบลกุดจอก อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนคราชสีมา เพื่อศึกษาอัตราและปริมาณการใช้ยิปซั่มที่เหมาะสมในการเพิ่มธาตุแคลเซียมและกำมะถันต่อข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลาง โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 4 บลอก 6 ตำรับการทดลอง ดังนี้ ตำรับการทดลองที่ 1 ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม (control) ตำรับการทดลองที่ 2 ใส่ยิปซั่ม ในอัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 3 ใส่ยิปซั่มในอัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 4 ใส่ยิปซั่มในอัตรา 350 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 5 ใส่ยิปซั่มในอัตรา 400 กิโลกรัมต่อไร่ และ ตำรับการทดลองที่ 6 ใส่ยิปซั่มในอัตรา 450 กิโลกรัมต่อไร่ จากผลการทดลองพบว่าความสูงและจำนวนกอของข้าวในแต่ละระยะการเจริญเติบโตและแต่ละตำรับการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความสูงของข้าว ที่ระยะแตกกอ และระยะกำเนิดช่อดอก แต่ละตำรับยิปซั่ม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับอัตรายิปซั่มที่เพิ่มขึ้นในลักษณะกราฟเชิงเส้นตรง แต่มีค่าความสูงใกล้เคียงกันไม่มีความแตกต่างกัน และ มากกว่าตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่มเพียงเล็กน้อย สำหรับความสูงของข้าวที่ระยะออกดอกและระยะเก็บเกี่ยว แต่ละตำรับยิปซั่ม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับอัตรายิปซั่มที่เพิ่มขึ้นในลักษณะกราฟเชิงเส้นตรง แต่มีค่าความสูงใกล้เคียงกันไม่มีความแตกต่างกันและมากกว่าตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม โดยเฉพาะในตำรับยิปซั่มในอัตรา 400 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างกันทางสถิติอย่างชัดเจน สำหรับจำนวนกอหรือจำนวนต้นต่อต่อตารางเมตร ในระยะแตกกอ ระยะกำเนิดช่อดอก ระยะออกดอก และระยะเก็บเกี่ยว แต่ละตำรับยิปซั่ม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับอัตรายิปซั่มที่เพิ่มขึ้นในลักษณะกราฟเชิงเส้นตรง แต่มีจำนวนต้นต่อตารางเมตร ใกล้เคียงกันไม่มีความแตกต่างกัน และ ทุกตำรับยิปซั่ม มีจำนวนต้นต่อตารางเมตรมากกว่าตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่มก็ตาม โดยตำรับยิปซั่มในอัตรา 450 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้ผลผลิต (น้ำหนักเมล็ดข้าวเต็ม) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ให้น้ำหนักเมล็ดข้าวเต็มเท่ากับ 374.94 กรัมต่อตารางเมตร สำหรับตำรับยิปซั่มอื่นๆ ให้น้ำหนักเมล็ดข้าวเต็มไม่แตกต่างกันกับตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม ขณะที่ตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม ให้น้ำหนักเมล็ดข้าวเต็มเท่ากับ 256.56 กรัมต่อตารางเมตร เมื่อพิจารณาคำนวณเปอร์เซ็นต์ผลผลิตเพิ่มเมื่อเทียบกับตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม ซึ่งพบว่าตำรับยิปซั่มในอัตรา 150, 200, 350, 400 และ 450 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลผลิตเพิ่ม 14.92, 15.59, 17.78, 26.68 และ 46.14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนน้ำหนักแห้งตอซัง พบว่าตำรับยิปซั่มในอัตรา 150, 200, 350, 400 และ 450 กิโลกรัมต่อไร่ มีน้ำหนักแห้งตอซัง เท่ากับ 391.70, 403.58, 413.75, 417.77 และ 424.67 กรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ สำหรับตำรับยิปซั่มอื่นๆ ให้น้ำหนักแห้งตอซังไม่แตกต่างกันกับตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม ขณะที่ตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม จะให้น้ำหนักแห้งตอซังเท่ากับ 362.46 กรัมต่อตารางเมตร ส่วนน้ำหนักเมล็ดลีบ พบว่าตำรับยิปซั่มในอัตรา 150, 200, 350, 400 และ 450 กิโลกรัมต่อไร่ มีน้ำหนักเมล็ดลีบเท่ากับ 22.79, 20.49, 20.24, 18.21 และ 17.22 กรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ ซึ่งให้น้ำหนักเมล็ดลีบไม่แตกต่างกันกับตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม ขณะที่ตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม จะให้น้ำหนักเมล็ดลีบ 24.26 กรัมต่อตารางเมตร ส่วนจำนวนรวงข้าวตำรับยิปซั่มในอัตรา 150, 200, 350, 400 และ 450 กิโลกรัมต่อไร่ มีจำนวนรวงข้าว 108.38, 119.63, 121.88, 132.00, 132.38 และ 136.13 รวงต่อตารางเมตร ตามลำดับ ซึ่งให้จำนวนรวงข้าวไม่แตกต่างกันกับตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม ขณะที่ตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม ให้จำนวนรวงข้าว 108.38 รวงต่อตารางเมตร และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด ตำรับยิปซั่มในอัตรา 450 กิโลกรัมต่อไร่ มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด เพิ่มขึ้นแตกต่างกับตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับตำรับยิปซั่มอื่นๆ ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ไม่แตกต่างกันกับตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม ขณะที่ตำรับที่ไม่ได้ใส่ยิปซั่ม ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เท่ากับ 23.80 กรัมต่อตารางเมตร ซึ่งสอดคล้องกับผลผลิต (น้ำหนักเมล็ดข้าวเต็ม)
บทคัดย่อ (EN): A study of secondary supplement of calcium and sulfur in gypsum needs toKhaoDawk Mali 105 (KDML105) in moderately saline on farm soil of Lam Sataet watershed area of Mr. BoontinCasochan area located at Ban Nguw Sub-district, KutChok District, Bua Yai District, NakhonRatchasima Province. In order to study the appropriate gypsum utilization rate increasing calcium and sulfur amount in KDML105 in lowland saline soil, we prepared 4 blocks of RCBD with 6 treatments: Treatment 1, it is without gypsum (control). Treatment 2, it is applied gypsum at 150 kg / rai. Treatment 3, it is applied gypsum at 200 kg/rai. Treatment 4, it is applied gypsum at 350 kg / rai. Treatment 5, it is applied gypsum at 400 kg / rai, and Treatment 6, it is applied gypsum at 450kg / rai. The growth observation is divided in 2 stages: Stage1: the height and number of shoots in the Tilleringand Panicle period and Stages 2: the height and number of shoots in the Flowering and Harvesting period. In the stage1, the heightof each period and each Treatment is a statistically significant difference. The relationship between the height of each period and the gypsum usage is a linear graph. Even if the height is increased, it is not much difference among each other. But their height is much higher in the control. In the stage 2, we get the same result as the stage 1.For the yield, it is found that the gypsum rate at 400 kg/rai is a statistically significant difference in the number of shoot / m2 (both the stage 1 and 2)Each treatment shows the relationship between the number of shoot and the gypsum usage is a linear graph. Even if the number of shoots is increased, it is not much difference among each other. But theirs is much higher in the control. If compared to the control, the treatment 6 using gypsum at 450 kg/rai is a statistically significant difference in gaining the full grain weight. The treatment 6 gives the full grain weight at 374.94 g/m2 while other treatments are not much difference. For the control gives the full grain weight at 256.56 g/m2. When we compare the yield by the percentage between control group and other Treatments, it is indicated the yields from using the gypsums as 150, 200, 350, 400 and 450 kg/rai have increased by 14.92%, 15.59%, 17.78%, 26.68% and 46.14% respectively. The dry weight of stubble of each Treatment is 391.70, 403.58, 413.75, 417.77 and 424.67 g/m2 while the dry weight of stubble of the control is 362.46 g/ m2. For treatments 2-6, the dry weights of stubble do not differ from the control. For the weight of grain blighted of the gypsum usage at 150, 200, 350, 400 and 450 kg/rai are 22.79, 20.49, 20.24, 18.21 and 17.22 g/m2 respectively. There is no significant difference in untreated gypsum given the dry weight of stubble as 24.26 g/m2. The ears of rice in gypsum usage at 150, 200, 350, 400, and 450 kg/rai are 108.38, 119.63, 132.00, 132.38 and 136.13 ear/m2 respectively, but not different in the control given the ears of rice as 108.38 ear/ m2. By counting weight of 1,000 seeds of gypsum usage 450 kg / rai give 26.13 g/m2. There is a statistically significant different in the control given at 23.80 g/m2 which corresponds to the yield. (Full grain weight)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/292845
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความต้องการธาตุอาหารรองแคลเซียมและกำมะถันจากยิปซั่มของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลางระดับไร่นาของพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทค
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
เอกสารแนบ 1
การจัดการดินด้วยแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลาง การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การจัดการดินเค็มในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาอิทธิพลของดินเค็มต่อการผลิตสารสร้างความหอมในข้าวหอมมะลิ และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 การตอบสนองของความหอมและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในชุดดินบางชุดดินในทุ่งกุลาร้องไห้ เทคโนโลยีการใช้ถ่านเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเพิ่มผลผลิตข้าวขาวมะลิ 105 ภายใต้สภาพดินเค็ม ผลของปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม ผลของการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แกลบ และพืชปุ๋ยสดบางชนิดร่วมกับยิปซั่มต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็ม สภาพการผลิตและการตลาดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดพิจิตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก