สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาอิทธิพลของความร้อน ต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของพืชผักไทยบางชนิด
วิวัฒน์ หวังเจริญ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอิทธิพลของความร้อน ต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของพืชผักไทยบางชนิด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิวัฒน์ หวังเจริญ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วัลยา โมราสุข
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Wanlaya Morasuk
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ความสามารถในการต้านออกซิเดชันของกระเทียม (Allium sativum Linn.) กระเพรา (Ocimum sanctum Linn.) พริกขี้หนู (Capsicum frutescens Linn.) พริกชี้ฟ้า (Capsicum annuum Linn. var. acuminatum Fingerh.) และฟักทอง (Cucurbita moschata Decne.) ถูกศึกษาด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี คือ Ferric reducing / antioxidative power (FRAP) assay, Improved ABTS radical cation decolorization assay และ DPPH free radical sacvenging activity ตามลำดับ ร่วมกับการติดตามประมาณสารประกอบฟีนอลโดยวิธี Folin-ciocalteau micro method พบว่าวิธี ABTS ให้ผลที่สอดคล้องกับปริมาณสารประกอบฟีนอลมากที่สุด และสามารถเรียงลำดับตามความสามารถในการต้านออกซิเดชันจากมากไปน้อยได้ดังนี้ คือ พริกขี้หนูแดง พริกขี้หนูเขียว และกะเพราะแดง > กะเพราขาว และพริกชี้ฟ้าแดง > พริกชี้ฟ้าเขียว > กระเทียม และเปลือกฟักทอง > เนื้อฟักทอง การศึกษาอิทธิพลของความร้อนต่อการความสามารถในการต้านออกซิเดชันพบว่า การให้ความร้อนแบบแห้งจะทำให้ค่าความสามารถในการต้านออกซิเดชันของผักลดลง แต่กการเกิดสีน้ำตาลในระหว่างการให้ความร้อนจะทำให้ค่าความสามารถในการต้านออกซิเดชันเพิ่มขึ้นได้ ในขณะที่การให้ความร้อนแบบเปียกจะมีผลทำให้ค่าความสามารถในการต้านออกซิเดชันลดลงในช่วงแรก แต่จะกลับมามีค่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปหรืออุณหภูมิถูกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความร้อนแบบเปียกมีส่วนช่วยให้องค์ประกอบต่างๆ ถูกละลายออกมาได้ง่ายขึ้นหรือการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาล ยกเว้นกะเพราซึ่งจะมีค่าสูงขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น
บทคัดย่อ (EN): Antioxidant capacity of garlic (Allium sativum Linn.) holy basil (Ocimum sanctum Linn.) bird chili (Capsicum frutescens Linn.), chili spur pepper (Capsicum annuum Linn. var. acuminatum Fingerh.), and pumpkin (Cucurbita moschata Decne.) was estimated by three different methods: Ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay, Improved ABTS radical cation decolorization assay, and DPPH free radical scavenging activity: together with their total phenolic content, Folin-ciocalteau mocro method. It was found that ABTS results were higher related to phenolic content and the order of their antioxidant capacity was: red and green bird chili, and red holy basil>white holy basil and ted chili spur pepper>green chili spur pepper>garlic and pumpkin peel>pumpkin flesh. Effect of heat treatment on their antioxidant capacity was carried out. It was sound that drying process could reduce their antioxidant capacity in the beginning stage but when the browning reaction was developed their antioxidant capacity would be increased. In the initial stage of wet heating, their antioxidant capacity was also reduced but they could be increased if the heating time was prolonged or temperature was increased because mor components could be dissolved during wet heating process or browning reaction was developed. However, the wet heating result of holy basil was different. Its antioxidant capacity was increased in the first recorded point.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-48-038
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 163,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/208975
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2548
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาอิทธิพลของความร้อน ต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของพืชผักไทยบางชนิด
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของกระบวนการสกัดและการให้ความร้อนต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในการผลิตแอนโทซัยยานินชนิดผงจากข้าวเหนียวดำ ผลของความร้อนต่อคุณภาพการสี คุณสมบัติทางเคมี กายภาพ และสารต้านอนุมูลอิสระของข้าวใหม่ที่ปลูกแบบนาขั้นบันได ในจังหวัดพิษณุโลก รูปแบบที่เหมาะสมในการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร ระยะพัฒนาการต่อปริมาณสารพฤกษเคมีและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในใบมะนาวโห่ ผลของสายพันธุ์ต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของมะเขือเทศราชินี ผลของชนิด ความเข้มข้น และขั้นตอนการใช้น้ำสมุนไพรต่อสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวกล้องงอก เมลาโทนินและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในผักจากท้องถิ่น การวิเคราะห์ประเมินค่าการต้านอนุมูลอิสระสารสกัดในใบเมี้ยง สมบัติต้านอนุมูลอิสระและองค์ประกอบทางเคมีจากน้ำสัมควันไม้ ผลของสายพันธุ์พริกและเครื่องเทศต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์พริกปรุงรสสมุนไพร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก