สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติเคมีบางประการของดิน กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
นิพนธ์ มาวัน - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติเคมีบางประการของดิน กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อเรื่อง (EN): The effects of conversion of paddy fields to sugarcane plantation on some soil chemical properties; A case study of Muang District, Kampaengphet Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิพนธ์ มาวัน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nipon Mawan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปัจจุบันอ้อยเป็นพืชที่รัฐบางสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวเนื่องจากนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของรัฐบาล และอ้อยเป็นพืชที่น่าสนใจสำหรับเกษตรเนื่องจากราคาผลผลิตสูงและมีความต้องการของตลาดสูง อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอาจส่งผลต่อคุณสมบัติทางเคมีบางประการของดินได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนจากพื้นที่ปลูกข้าวเป็นปลูกอ้อยต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีบางประการของดินในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ทำการศึกษาโดยเก็บตัวอย่างดิน ที่ระดับความลึก 0-20 และ 20-40 เซนติเมตร จากแปลงศึกษาทั้งหมด 4 แปลง ได้แก่ แปลงนาข้าว และพื้นที่ที่เปลี่ยนจากพื้นที่ปลูกข้าวเป็นปลูกอ้อย เป็นระยะเวลา 1, 2 และ 5 ปี ผลการศึกษาพบว่าที่ระดับความลึก 0-20 เซนติเมตร ค่าอินทรีย์คาร์บอน (0.7%) อินทรียวัตถุในดิน (1.4 %) และไนโตรเจน (0.07 %) ในพื้นที่ที่เปลี่ยนจากนาข้าวเป็นอ้อยเป็นระยะเวลา 5 ปี มีค่าต่ำกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ในขณะที่ความเป็นกรด-ด่างของดิน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P >0.05) และเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่เปลี่ยนจากนาข้าวเป็นอ้อย 1 กับ 3 ปี ที่ระดับความลึก 0-20 และ 20-40 เซนติเมตร พบว่า ปริมาณโพแทสเซียม (157 และ 136 mg/kg) ของพื้นที่เปลี่ยนจากนาข้าวเป็นอ้อย 1 ปี สูงกว่าพื้นที่เปลี่ยนจากนาข้าวเป็นอ้อย 3 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าอินทรีย์คาร์บอน อินทรียวัตถุในดิน ไนโตรเจน ปริมาณฟอสฟอรัส ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน มีแนวโน้มลดลงในพื้นที่เปลี่ยนจากนาข้าวเป็นอ้อย 3 ปี
บทคัดย่อ (EN): Recently, substitution of paddy fields by sugarcane plantation has been promoted by Thai government based on the zoning policy. In addition, sugarcane is more attractive to farmers because of a high price of sugarcane product and high market demands. However, changes in some soil chemical properties may be related to the conversion of paddy field to sugarcane cultivation. Therefore, the objective of the study was to evaluate the effects of conversion of paddy field to sugarcane plantation on some soil chemical properties in Kamphaengphet province, Northern Thailand. Soil samples were collected during 2016 from 4 plots e.g. paddy field and conversion paddy field to sugarcane cultivation for 1, 3 and 5 years at two soil depths (0-20 and 20-40 cm). The results showed that at 0-20 cm depth, soil organic carbon (0.7%), organic matter (1.4%) and nitrogen (0.07%) were significant lower (p < 0.05) as compared with those in the paddy field. Soil pH was no significant differences between both treatments (P > 0.05). Moreover, a comparison of the conversion of paddy field to sugarcane for 1 and 3 years found that the mean exchangeable potassium (157 and 136 mg/kg) at 0-20 and 20-40 cm soil depth in the conversion of paddy field to sugarcane for 1 years was significant higher than the conversion of paddy field to sugarcane for 3 years. However, soil organic carbon, organic matter, nitrogen, carbon-nitrogen ratio available phosphorus and cation exchange capacity showed decreasing trends when compared the conversion of paddy field to sugarcane for 1 to 3 years.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O067 Soi03.pdf&id=2676&keeptrack=3
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติเคมีบางประการของดิน กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
อินทรีย์คาร์บอนและสมบัติทางเคมีของดินบางประการภายหลังการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากนาข้าวมาปลูกอ้อย ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ในการปลูกอ้อยและมันสำปะหลังเพื่อการผลิตเอทานอล ในอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ผลของซิลิคอนและวัสดุปรับสภาพดินที่มีซิลิคอนสูงต่ออ้อยที่ปลูกบนชุดดินน้ำพอง ผลของการแช่เมล็ดก่อนเพาะต่อสรีรวิทยาบางประการของข้าวในสภาพเครียดเกลือ ผลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่ออ้อยปลูกในชุดดินสตึกที่ปรับปรุงด้วยขี้เถ้าแกลบ ในอัตราที่แตกต่างกัน ความรู้และการปฏิบัติในการปลูกปอเทืองเพื่อปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่นาข้าวของเกษตรกรจังหวัดหนองคาย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก