สืบค้นงานวิจัย
ปริมาณธาตุอาหารและคุณภาพผลผลิตฟักทอง 13 สายพันธุ์
วิภาวรรณ ท้ายเมือง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ปริมาณธาตุอาหารและคุณภาพผลผลิตฟักทอง 13 สายพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Nutrient Content and Yield Quality of 13 Pumpkin Cultivars
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิภาวรรณ ท้ายเมือง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wipawan Thaymuang
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาปริมาณธาตุอาหารและคุณภาพผลผลิตฟักทอง 13 สายพันธุ์ ประกอบด้วยฟักทองที่ได้รับการปรับปรุง พันธุ์ (breeding line) 8 สายพันธุ์ ฟักทองพันธุ์การค้าของไทย 3 สายพันธุ์และฟักทองญี่ปุ่น 2 สายพันธุ์ พบว่า ฟักทอง ที่นำมาศึกษามีความหลากหลายด้านคุณภาพผลผลิต โดยค่าองค์ประกอบสี (L* a* และ b*) ความแน่นเนื้อ ความหนา ของเนื้อฟักทอง มีความแตกต่างกัน (P <0.01) ส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และน้ำหนักแห้งมีความแตกต่าง กัน (P <0.05) เมื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในเนื้อฟักทองแห้ง พบว่า ปริมาณไนโตรเจน (0.93-2.53%) ฟอสฟอรัส (0.11-0.15%) โพแทสเซียม (2.70-4.57%) และกำมะถัน(0.02-0.26%) แต่ปริมาณแคลเซียม (0.03-0.17%) และ แมกนีเซียม (0.03-0.06%) มีความแตกต่างกัน (P<0.05) ซึ่งปริมาณโพแทสเซียมมีการสะสมในเนื้อฟักทองมากที่สุดทั้ง 13 สายพันธุ์ พบความสัมพันธ์ของปริมาณแมกนีเซียมและโพแทสเซียมกับค่าสี b* ที่บ่งบอกความเป็นสีเหลืองของเนื้อ ฟักทอง ที่ r=0.676* และ r=-0.66* ตามลำดับ และยังพบความสัมพันธ์ของค่าสี L* ที่บ่งบอกถึงความสว่างของสีเนื้อกับ ปริมาณโพแทสเซียม ที่ค่า r=-0.68*
บทคัดย่อ (EN): The study of nutrient and flesh quality of pumpkin in 13 pumpkin varieties including eight breeding lines, three Thai commercial cultivars and two Japanese cultivars. The pumpkins in this study were various in quality characteristics that were different in flesh color (L* a* b*), flesh firmness, flesh thickness (P-valu<0.01) and total soluble solid and percentage of dry weight were p-value < 0.05. The analysis of nutrition in flesh pumpkin showed that nitrogen (0.93-2.53%), phosphorus (0.11-0.15%), potassium (2.70-4.57%), sulfur (0.02-0.26%) of fresh pumpkin were not differ between species, except calcium (0.03-0.17%) and magnesium (0.03-0.06%). Therefore, potassium content was the highest accumulated in all cultivars. There were correlation between flesh color b* and magnesium and potassium with r=0.676* and r=-0.66*, respectively and there was correlation between flesh color L* and potassium with r=-0.68*.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P151 Hor36.pdf&id=3194&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปริมาณธาตุอาหารและคุณภาพผลผลิตฟักทอง 13 สายพันธุ์
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
วิถีชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์… เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การประเมินคุณภาพผลผลิตและเบต้า-แคโรทีนของฟักทองพันธุ์ลูกผสมในชุดดินโพนพิสัย การประเมินคุณภาพผลและปริมาณสารเบต้าแคโรทีนของเชื้อพันธุกรรมฟักทอง 29 accessions การคัดเลือกฟักทองเพื่อความหลากหลายของทรงผลและคุณภาพผลที่ดี การจำแนกสายพันธุ์และความต้านทานต่อโรค Streptococcosis ของปลานิล (Oreochromis niloticus Linnaeus) อาหารบำรุงสมอง อิทธิพลของธาตุอาหารพืช ซัลเฟอร์ แคลเซียม แมงกานีส และแมกนีเซียม ต่อปริมาณสารหอม 2-Acetyl-1-Pyrroline ผลผลิตและ คุณภาพเมล็ดของข้าวขาวดอกมะลิ 105 การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา อนาคตของอาหารโลกอยู่ในมือของคุณ การผลิตฟักทองญี่ปุ่นพร้อมปรุงในภาชนะบรรจุสำหรับการจำหน่ายปลีก : คุณภาพระหว่างการเก็บรักษา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก