สืบค้นงานวิจัย
ผลของสภาวะในการเพาะปลูกต่อคุณภาพของหัวมันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ 4
ยุรี วันดี - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: ผลของสภาวะในการเพาะปลูกต่อคุณภาพของหัวมันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ 4
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of plantation condition on quality of cassava root, Piroon4 variety
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุรี วันดี
คำสำคัญ: มันสำปะหลัง; พิรุณ 4; ฟลาวร์
บทคัดย่อ: ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2551 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลและกรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมมือกันพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังโดยการผสมพันธุ์แบบสลับ (cross-reciprocal) โดยเลือกใช้พันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งมีปริมาณแป้งในหัวสดสูง ผลผลิตสูง แต่มีปริมาณไซยาไนด์สูงและอัตราการเจริญเติบโตในช่วงแรกต่ำเป็นต้นแม่ และใช้พันธุ์ห้านาทีซึ่งมีปริมาณแป้งในหัวสดต่ำ ผลผลิตต่ำ แต่มีข้อดีคือมีปริมาณไซยาไนด์ต่ำและอัตราการเจริญเติบโตในช่วงแรกสูงเป็นต้นพ่อ ทำการคัดเลือก 2 ชั่วรุ่น ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2551 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง จากการศึกษาได้ผลผลิตลูกผสมที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการส่งเสริมการเพาะปลูกต่อไป 3 สายพันธุ์คือ พิรุณ 1 พิรุณ 2 และพิรุณ 4 ซึ่งมีลักษณะเด่นและศักยภาพในการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน</p> สืบเนื่องจากงานวิจัยนี้ ทาง สวทช. ได้ให้ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีคาร์โบไฮเดรท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อศึกษาสมบัติของสตาร์ชและฟลาวร์จากหัวมันสำปะหลังทั้งสามสายพันธุ์รวมถึงจากพันธุ์พ่อและแม่ (ระยะเวลาโครงการ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2561) ผลการศึกษาเบื้องต้นจากลักษณะของหัวต้มสุกและสมบัติของเจลที่เตรียมจากฟลาวร์ รวมถึงผลการศึกษาจากโครงการคู่ขนานที่นำหัวมันเหล่านี้ไปใช้ในการทำขนมแช่แข็ง พบว่ามันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ 4 มีลักษณะเด่น คือ เนื้อต้มสุกเหนียวหนึบ มีกลิ่นหอมที่ต่างไปจากสายพันธุ์อื่น เจลจากฟลาวร์มีความคงตัว ไม่เกาะติดกัน และผู้บริโภคมีความพึงพอใจในขนมที่เตรียมจากหัวมันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ 4 อย่างไรก็ตามพบว่า ตัวอย่างหัวมันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ 4 ที่ได้จากแหล่งปลูกต่างๆ มีลักษณะของหัวสดและหัวต้มสุกที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นผลจากคุณภาพของท่อนพันธุ์ สภาพดิน การให้น้ำ และระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่ต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลผลของปัจจัยเหล่านี้ ทางกลุ่มวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลของปัจจัยดังกล่าวต่อคุณภาพของหัวมันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ 4 โดยใช้แปลงปลูกของเกษตรกรที่อำเภอเสิงสาง จ. นครราชสีมา ซึ่งมีการติดตั้งระบบให้น้ำแบบน้ำหยด มีแปลงดินที่มีสภาพดินต่างกัน และใช้ต้นพันธุ์จากจังหวัดนครราชสีมา ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมการเพาะปลูกอย่างเหมาะสมต่อไป</p>
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2563
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของสภาวะในการเพาะปลูกต่อคุณภาพของหัวมันสำปะหลังสายพันธุ์พิรุณ 4
ยุรี วันดี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2563
มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ "ระยอง 3" อาหารจากมันสำปะหลัง สภาวะที่เหมาะสมต่อการวัดปริมาณไชยาไนด์อิสระในมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz) สถานการณ์ปัจจุบันและศักยภาพการผลิตมันสำปะหลังของไทย ผลผลิตของมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวอายุสั้นในสภาพปริมาณน้ำฝนต่างกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณผล ต่างแบบนอร์แมลไลซ์กับผลผลิตมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร การเพิ่มโปรตีนของมันสำปะหลังโดยใช้น้ำกากผงชูรสเพื่อใช้เป็นอาหารโค การออกแบบและสร้างเครื่องปลิดหัวมันสำปะหลัง สมบัติของสตาร์ชและฟลาวร์จากมันสำปะหลังสายพันธุ์ห้วยบง 60 ห้านาที พิรุณ 1 พิรุณ 2 และพิรุณ 4 ระบบจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก